logo_new.jpg

#ผ้าขาวม้า ที่ติดพันมาแต่ #กุหลาบเปอร์เซีย เมื่อคืน

On #PakaomaThai and NewThaiGovernment

(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20230911_1)

อ่าน #กุหลาบเปอร์เซียในแดนสยาม ที่คุณ Parnbua Boonparn ส่งมาให้

เป็นหนังสือรางวัลที่มูลนิธิสมเด็จพระเทพฯ จัดพิมพ์เผยแพร่

ท่าน อ.กุสุมา สรุปเสนอว่า #ผ้าขาวม้า บ้านเรานั้น 

เป็นหนึ่งในกุหลาบเปอร์เซียที่เบ่งบานงดงามในสยาม

มาจาก #ผ้าเคียนเอวของชาวเปอร์เซีย สมัยราชวงศ์ศะฟะวีย์ (ศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘) และราชวงศ์กาญาร (ศตวรรษที่ ๑๘ - ๒๐)

เขาเรียกว่า #ผ้ากะมัรบันด์ - #kamarband  หรือว่า #ผ้ากะมัรสำหรับพัน (band - พัน)

เป็นเครื่องแสดงสถานะ ขุนนาจอาจใช้ผ้าทอควบแล่งทอง เศรษฐีควบแล่งเงิน

ลดหลั่นลงมาใช้ผ้าส่าน ผ้ามัสลิน ผ้าฝ้าย

โดยพันทบให้เป็นที่เก็บเอกสาร ปากกา เงิน (คล้าย ๆ ชายพกไหม ?)

หากชาวบ้านทั่วไป ตลอดจนคนเฝ้าประตู มักเหน็บมีดสั้น

กับใช้ประโยชน์สารพัดประจำวันได้ด้วย

หากอย่างวิจิตร จะใช้ผ้าสองผืน ชั้นในกว้างยาวกว่า วิจิตรกว่า

ชั้นนอกแคบและสั้นกว่า พันรอบเอวให้เหลื่อมกันเพื่อเห็นได้ทั้งสองผืน

โดยลงท้ายว่า 

" ... คำว่า #ขาวม้า ในภาษาไทย คงรับมาจากคำ #kamar ในภาษาเปอร์เซีย

  อาจรับมาโดยตรงหรือผ่านทางอินเดียหรือชวามลายูก็ได้ ... "

พอดีเพิ่งซื้อหนังสือชุด #ผ้าขาวม้าไทย 

ที่ทางการเพิ่งขายให้ หลังจากถามหามาหลายปี

รัฐบาลนี้ทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ กับ #ประชารัฐสามัคคี ที่ติดตามตลอดมา

ก็เลยเอามาพลิกอ่านซะทั้ง ๔ เล่ม มีข้อสังเกตุตามทำหมายเหตุไว้แล้ว

แต่ที่น่าคิดต่อก็ประมาณนี้ ...

๑) เรื่องที่มา ในนี้สรุปว่าน่าจะมาจากอิหร่านเช่นกัน แต่ขยายแปลก ๆ 

     ว่า " ... เป็นคำที่ #เพี้ยนมาจากภาษาอิหร่านที่ใช้ในสเปน 

     เนื่องจากในอดีตอิหร่านและสเปนมีการติดต่อกัน 

     ทำให้เกิดการถ่ายเททางวัฒนธรรมและภาษาซึ่งกันและกัน

     โดยในสเปนใช้ผ้าคามาร์ที่ว่านี้ในการคลุมบ่าหรือคาดเอว ... " 

     ซึ่งแตกต่างมากจากงานของท่าน อ.กุสุมา 

     ที่ว่ามีเปอร์เซีย-อิหร่านมาถึงไทยมากมายในสมัยอยุธยา

     และว่าเพียงอาจรับผ่านทางอินเดียหรือชวามลายู ไม่มีสเปนเลย

๒) แต่ที่น่าสนใจไม่น้อย คือในนี้ ระบุถึงอีก ๓ ที่มา ว่าอาจจะมาจาก #ญี่ปุ่น

     ที่เรียกว่า #หักขะม้า - #ผ้าก่าม่า หรือ #กัมพูชา เรียก #ผ้ากรรมา

     รวมทั้งไทยเราเอง ที่ว่าว่าคือ #ผ้าขอขมา !!!

     ทั้งนั้นนี้อันที่จริงอาจเป็นที่มาร่วมหรือไม่ก็แลกเปลี่ยนไปมา

     อย่างเช่นที่จีนแต้จิ๋ว ก็นิยมใช้ บอกว่าจีนแต้จิ๋วที่มาสยามเอากลับไปใช้

     เช่นกันกับที่ญี่ปุ่นก็เอาไปจากไทยเราด้วย

     ผมว่างานนี้ หากจะเอากันจริง ควรต้องวิจัยกันใหม่ไหม ให้ได้เรื่องกว่านี้ 

๓) สำหรับ #งานผ้าขาวม้า ที่ท่านทำกันมา ๗ ปีจนหมดรัฐบาลนี้แล้ว

     และเข้าใจว่า #ประชารัฐสามัคคีก็น่าจะจบด้วยไหม ?

     โดยเหมือนมีอะไรใหม่ ๆ กำลังมาแรง 

     เช่น หนึ่งครอบครัว หนึ่ง soft power 

     ผมมีบางข้อสังเกตว่า เหมือนงานไปทุ่มเทกับการประกวดออกแบบต่าง ๆ

     ซึ่งก็มีความหมายไม่น้อย

     แต่ #งานความรู้พื้นฐานเรื่องผ้าขาวม้าอาจจะน้อยไปหน่อยไหม ?

     แถม #ที่สำรวจผ้าขาวม้าไทยก็ยังไม่ลึกและกว้างเท่าไหร่ไหม ?

     อ่านบทที่ว่าด้วย #ผ้าขาวม้าอาเซียน ... #เลยเกินไปไหม ?

     ท้ายสุด ในฐานะคนนคร #ในนครไม่มีคนขับเรื่องผ้าขาวม้าเลยไหม ?

ท่านที่สนใจจริง ลองอ่านบทสรุการดำเนินการที่เขาพิมพ์ไว้ดูได้ครับผม

หรือไม่ก็ตามไปขออ่านได้ที่ The Library At Nakorn ครับ

หยุดอ่านหนังสือสักพักใหญ่ได้เลยแล้วครับ 

สองสามวันมานี้ซัดไปหลายเล่มเลย

๑๑ กันยา ๖๖ ๑๐๒๐ น.

บ้านบวรรัตน์ท่าวังเมืองนคร

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//