เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 12 January 2017
- Hits: 1301
นี้...ที่สวนโมกข์กรุงเทพจะขอมีส่วนร่วม
This, Our Participation on Flood
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170111_5)
บ่ายนี้ น้อง ๆ ที่สวนโมกข์กรุงเทพนัดหารือกันว่าเราจะพอร่วมด้วยช่วยกันเรื่องน้ำท่วมรอบนี้ได้อย่างไรบ้าง ?
ผมจึงขอโอกาสถ่ายทอดบทเรียนรู้เป็นภาพรวมเพื่อประกอบการพิจารณาหารือกัน ประมาณนี้
๑) การจัดการเรื่องภัยพิบัตินั้นมี ๓ จังหวะ คือ ก่อนเกิด ระหว่างเกิด และหลังจากเกิดจนกว่าจะเกิดใหม่ ตัวชี้ขาดสำคัญอยู่ที่ก่อนเกิดว่ามีความระลึกรู้ ลดทอนปัญหาและเผชิญกันอย่างไร ที่ตอนนี้กำลังทำกันอยู่นั้น หลังเผชิญและช่วยบรรเทาทุกข์ ซึ่งสังคมไทยเราถนัดนัก ประเดี๋ยวก็ซบเซาแล้วค่อยทำกันใหม่เมื่อมีภัยมาถึงอีก
๒) โดยทั่วไปเขาจัดภัยเป็น ๒ ระดับ เล็ก กลาง ใหญ่ รอบนี้นับว่าใหญ่มาก ควรที่เราจะคิดอ่านช่วยกันทำอะไร โดยในการจัดการภัยนั้น กลไกชี้ขาดสำคัญอยู่ที่เจ้าตัวในพื้นที่ กับกลไกรัฐที่ศูนย์กลางแล้วก็ส่วนภูมิภาคกับท้องถิ่น ซึ่งมักจะบอกไม่ถูก ด้วยทุกคราวคนที่ลุกขึ้นมาทำมาก ๆ มักจะเป็นคนอาสา ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน สื่อสารมวลชน จนสงสัยอยู่เหมือนกันว่าแล้วรัฐทั้งหลายหายกันไปไหน ทำอะไรกันอยู่ ที่ระบบศูนย์กลางซึ่งควรมี Incidennt Command System-ICS ที่ดี ในขณะที่ระดับชุมชนถ้าดีก็ควรมีระบบที่เรียกว่า CBDRM-Community Based Disaster Risk Management ที่พวกเราจะพอทำได้ก็อยู่ตรงกลาง ๆ เท่าที่จะพอทำกันได้ ในฐานะคนอาสา องค์กรเอกชนน้อย ๆ หนึ่งเท่านั้น
๓) สำหรับคนอาสานั้นก็มีหลายลักษณะ ทุกคนล้วนมีภาระหน้าที่การงานประจำอยู่ จึงทำกันเท่าที่จะทำได้ มีทั้งที่มากันเป็นคน ๆ เป็นกลุ่มก้อน เป็นองค์กร ฯลฯ การมาอาสาก็มีทั้งแบบไม่มีเงือนไขอะไรก็ทำได้หมด กับมีเงื่อนไขมากมายว่าต้องนั่นนี่เท่านี่ที่นี้เท่านั้น
๔) จากประสบการณ์ที่เคยทำมา น่าจะต้อง Focus ว่าเราถนัดและพอทำอะไรได้ มีเครือข่ายใครบ้าง แล้วทำให้ดี บนหลัก ๓ ดี มี Good Self Organising Good Management & Good Collaboration
๕) ปีนี้ที่เมืองนครมีพระออกมาสร้างมิติดีให้แล้ว น่าจะคิดทำอะไรให้สมกับที่เราเป็นองค์กรทางพระพุทธศาสนา
ข้อสรุปเบื้องต้นวันนี้ จะมีน้อง ๆ คณะหนึ่งไปลองขยับ ขบคิดและเคลื่อนต่อ อาจจะเริ่มที่พระกับวัดในเครือข่ายที่เมืองนคร ซึ่งมีทั้งวัดศรีทวี วัดพระธาตุ วัดบ่อล้อ วัดสระเรียง ฯ ในนามวัดบันดาลใจ ในการค่อย ๆ ยกระดับเป็นหน่วยร่วมจัดการภัยพิบัติในท้องถิ่น ทั้ง ๓ จังหวะ ๗ ประเด็น ซึ่งในอนาคตหากมีพื้นที่ภาคไหนมีภัย ก็สามารถนำไปปฏิบัติการในพื้นที่นั้น ๆ กับวัดในเครือข่ายวัดบันดาลใจ หรือวัดไหน ๆ ก็ย่อมได้
ผมขอบันทึกเล่ามาประมาณนี้นะครับ ในรายละเอียด น้อง ๆ คงจะทยอยดำเนินการกันครับ.
๑๑ มค.๖๐