logo_new.jpg

กับนี้ #พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น ... มันเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งอะไรกันแน่ แฮ่ ๆ

With Museum of Other People ...

(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20240423_1)

เพิ่งได้จังหวะเลาะเลียดเล่มนี้ 

ต่อจากลอกคราบพุทธแท้ที่ผมว่าเต็มไปด้วยคติที่ตั้งไว้เฉพาะ ...

พอดีก็กำลังขบมาเรื่องการจัดทำพิพิธภัณฑ์อะไรก็ยังไม่รู้ชัด

เข้าข่ายของผู้เป็นอื่นไหม ?

เพราะตัวเองนี้ก็รู้ตัวดีอยู่ว่า ก็เป็นอื่น ... คือไม่คิดและทำอะไรเหมือนใครเขา

ไม่ว่าชีวิต ... เช่นเป็นหมอก็ดันเป็น #หมอจรจัด

ครั้งขับเคลื่อนงานธรรม ที่ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ - สวนโมกข์กรุงเทพ

ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสทำนั้นก็เป็นอื่นไม่น้อยแล้ว

พอมาทำเป็นหอจดหมายเหตุ ฯ ก็อื่น ๆ เข้าไปอีก

ส่วนที่ บวรนคร และ #ตึกยาวบวรนคร ที่กำลังทำอยู่นี้

มีคนถามมากว่าจะทำเป็นอะไรแน่ ... ก็น่าจะอื่น ๆ อีกครับ

อาทิ บอกว่าเป็น #แหล่งมั่วสุมสร้างสรรค์เชิงปัญญากลางเมืองนคร 

หรือ CCLS : #CommunityCreativeLearningSpace ก็อื่น ๆ อย่างชัด ๆ

ที่ยิ่งกว่านั้นคือ นานา วัตถุวัฒนธรรมชิ้นน้อย ที่พลัดหลงไปตามรอย

จนออกมาเป็น #สุวรรณภูมิศึกษา วันนี้ ที่อีกไม่กี่วันจะมีอีกงานไม่ธรรมดา

โดยท่าน อ. Pipad Krajaejun กับคณะนั้น จะอย่างไรต่อ ???

เข้าพวกพิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น ในนี้ไหม ?

อ่านเฉพาะบทแรกเริ่มสองรอบ จับเนื้อหาแบ่งออกมา ๘ ช่วงตอนตามนี้ ...

๑) การถือกำเนิดของพิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่นในช่วงทศวรรษ ๑๘๓๐ - ๑๘๔๐

๒) ว่าด้วยมานุษยวิทยากับชาติพันธุ์วิทยา

๓) พิพิธภัณฑ์อารยธรรม กระทั่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

๔) แนวคิดเรื่องวัฒนธรรม กับ "คนกลุ่มหนึ่ง"

๕) เมื่อเริ่มสูญเสียเสถียรภาพทีละเล็กทีละน้อย

๖) เรื่องหลังยุคอาณานิคม

๗) วิกฤตของพิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่นกับวิกฤตทางปัญญา ฯลฯ

๘) มันเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งอะไรกันแน่

ไว้ดูกันครับ อีก ๑๔ บทน่าจะยาวเลย

๒๓ เมษา ๖๗ ๑๑๑๑ น.

บ้านท่าวังสะพานควายกทม.

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//