logo_new.jpg

แค่ ๓ เรื่องเล่าเสริมเติมกันวันนี้

Just3TalesToday

(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20240605_8)

การเข้าเรียนเพื่อรู้เพิ่มที่วลัยลักษณ์วันนี้นั้น

นอกจากได้รับรู้หลากหลายเรื่องนับไม่ได้ และได้แลกเปลี่ยนไปก็ไม่น้อย

มี ๓ เรื่องนี้ ที่ขอเอามาเล่าในที่นี้

๑) การเกิดขึ้นของอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติแห่งวัลยลักษณ์เมื่อคราวโน้นนั้น

มาจากการที่ตอนนั้น มทส.มีเทคโนธานี และ ฯลฯ

ผมก็เรียนท่าน อ.วิจิตรว่า วลัยลักษณ์เราควรจะมีอะไรบ้างด้วยไหม

หารือกันจนลงตัวว่า น่าจะเป็นอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ

ซึ่งขยายออกมาเป็นหลายอุทยานย่อย โดยมีอุทยานพฤกษศาสตร์เป็นหนึ่งในนั้น

การพัฒนามาตามลำดับจนเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยานี้

จึงนับเป็นพัฒนาการที่เกินคาด เพราะคราวนั้นรัฐบาลเพียงรับทราบ

แล้วให้ค่อย ๆ เสนอแผนและงบประมาณทีหลัง ฯลฯ

๒) ตรงใจกลางของอาคารที่จะสร้างจำลองน้ำตกฝนแสนห่าแห่งป่ากรุงชิงนั้น

โดยในการนำเสนอ ที่นำธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ บาทรุ่นที่มีรูปน้ำตกกรุงชิงด้านหลังนั้น

ขอแจ้งเพื่อทราบว่า มีรายละเอียดการเกิดขึ้นบางประการที่ควรบันทึกไว้

กล่าวคือนั้นคือธนบัตร ๑,๐๐๐ บาทรุ่นแรกในรัชกาลที่ ๙

ออกในสมัยนายกำจร สถิรกุล เป็นผู้ว่าฯ

ผมจำได้ว่าตอนที่ออกมานั้น พวกเราที่นคร ตื่นเต้นดีใจกันมาก

เมื่อผมพบเฮียตุ๊ - พี่กำจร ที่เป็นหลานของขุนบวรรัตนารักษ์และนางช้อย

" ... เต้ย ๆ เฮียเอาน้ำตกแค่กรุงชิงขึ้นหลังแบงค์พันให้แล้วนะ ... "

๓) ตรงสระทะเลสาปใหญ่ข้าง ๆ นั้น มีโบราณสถานโคกอิฐแห่งหนึ่ง

โปรดทราบด้วยว่า เดิมนั้นทะเลสาปที่ออกแบบไม่ได้เป็นอย่างนี้

เป้าหมายคือเป็นแหล่งน้ำให้มหาวิทยาลัย และเอาดินไปใช้ถมพื้นที่และคันดิน

โดยผมนี้ได้สั่งกำชับทุกฝ่ายว่า หากขุดพบโบราณสถานหรือทรากอะไร

ให้หยุดทำการ แล้วรายงานทันที

กรณีนี้ เมื่อขุดเจอแนวอิฐ แล้วผมเชิญทีมศิลปากรมาสำรวจ

นำโดยคุณนงคราญ Jeng Suksom

พบว่าเป็นโบราณสถานที่ควรรักษาไว้ จึงได้สั่งการให้เก็บรักษาและปรับรูปสระทะเลสาปนี้ใหม่

เท่านี้พอนะครับ หลับนอนกันดีกว่า

ส่วนตลอดอาคารนี้ ยอมครับ ใหญ่โตโอ่โถงอย่างนี้มีแต่ต้องขอพลอยห้อยติด

๕ มิถุนา ๖๗ ๒๓๑๙ น.

บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1558521525042964&set=pcb.1558532401708543

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//