เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 21 March 2017
- Hits: 1424
มีอะไรอีกมากที่เรายังไม่รู้...แม้มัลดิฟส์
Many More to be Work Out...On Maldives
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170319_4)
แรกเลือกเชิญแขก มีคนแนะนำอดีตรัฐมนตรีโยธาธิการแห่งสาธารณรัฐมัลดิฟส์ Mohamed Mauroof Jameel ผู้นี้ แต่พวกเราคิดว่าไม่น่าจะใช่ เพราะเป็นทั้งนักการเมืองและสถาปนิก แต่ในเมื่อเป็นโอกาสก็เลยเชิญไป แล้วเขาก็เกิดมา ทั้ง ๆที่บอกว่าตอนแรกก็คิดว่าตัวเองไม่น่าจะเกี่ยวอะไรด้วย แถมหัวข้อก็เกินไป มัลดิปส์ต่างหากที่คือเมืองท่าสถานีค้าขายข้ามทวีปมาแต่โบราณ อู่ทองอยู่ลึกเข้าไปจากทะเลปานนั้น แถมอยู่ไกลถึงก้นอ่าวไทยทางฝั่งนั้นด้วย จะเป็นไปได้อย่างไรกัน ?
คุณมารู๊ฟ นำเสนอว่ามัลดิฟส์ก็เป็นอีกหนึ่งขั้วของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมขอผู้คนในมหาสมุทรอินเดีย จากทำเลที่ตั้งและหลักฐานหอยเบี้ยจั่นที่ถูกเอาไปใช้มาแต่โบราณแทบทั่วทั้งโลก แถมก่อนอิสลามมาถึงเมื่อ พ.ศ.๑๗๐๐ นั้น เต็มไปด้วยร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรม ตลอดจนผอบพระธาตุนพระพุทธศาสนา ที่ย้อนไปได้ถึง ๒๐๐๐ ปีก่อน อาจร่วมสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชด้วยซ้ำ แถมมีพบเหรียญโรมันด้วย
เขาเอาหนังสือมาฝาก ๒ เล่ม เล่นหนึ่วว่าด้วยการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์โบราณคดีก่อนอิสลาม ที่เพิ่งจะเริ่มมาไม่ถึง ๑๐ ปี กับอีกเล่ม ที่เขากำลังขับเคลื่อนสู่การเป็นมรดกโลกของมัสยิดบนนานาเกาะ ที่สร้างด้วยปะการังซึ่งไม่มีที่ไหน ผมจึงบอกว่าที่เมืองนครก็มีเจดีย์ปะการังที่ขนอมและสิชล แถมโรงเรียนวัดโพธารามที่ท่านอาจารย์พุทธทาสเรียน ก็มีฐานเสาที่ทำจากปะการังเหมือนกัน
แต่ที่สำคัญสุด คุณมารูฟสรุปอย่างนี้ "ผมเชื่อแน่ว่าอู่ทองอยู่ ณ ทำเลยุทธศาสตร์ที่เชื่อมต่อชมพูทวีปสู่อ่าวไทย ด้วยหลักฐานโบราณคดีที่พบมากมาย และยังเป็นพื้นที่ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนา โดยมีพระพุทธศาสนาเป็นหลักใหญ่และน่าจะเก่าแก่ที่สุด รวมทั้งเรืออาหรับที่อัปปางนั้นก็ยิ่งยืนยันถึงเส้นทางการค้าทางทะเลด้วย"
อยากได้รายละเอียดอื่น อ่านเอาเองนะครับ ทั้งของเขา ของผม และ ฯลฯ
ที่สนุกมากคือการบอกว่าทุกวันนี้การ Harvest หอยเบี้ยแบบธรรมชาติของคนมัลดิฟส์ ลดน้อยลงมาก ๆ หลังจากทั้งโลกเลิกใช้หอยนี้ไปเป็นเบี้ย ผมจึงฝากให้ช่วยค้นคว้าแล้วจะตามไปดูให้ถึงที่ ในไม่นานนี้แน่นอน.
ที่สำคัญ คุณมารู๊ฟ ประทับใจพวกเรา เมืองไทย อู่ทอง และหอจดหมายเหตุฯ มาก ๆ ถึงกับขอชื่อสถาปนิกที่ออกแบให้พวกเราด้วย.
๑๙ มีค.๖๐