เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 29 October 2024
- Hits: 79
จริง ๆ ตั้งใจไปตามนี้ครับ ... พระวิษณุวัดพระพราง
ReallyThisToFindOut ... WatPhrangVishnu
(20241027_9 เพื่อแผ่นดินเกิด)
ในหนังสือ #ตามพรลิงค์ ของ อ. Saam-Lee Noonsuk
ที่กล่าวถึง #พระวิษณุองค์ที่วัดพระเพรง ไว้อย่างพิสดารจนผมตามไปวันนี้นั้น
นอกจากบอกว่าทุกวันนี้จัดแสดงอยู่ในศรีธรรมราชพิพิธภัณฑ์แห่งวัดพระธาตุ
อ.สาม ระบุว่าจริง ๆ แล้วพบที่วัดพราง
ซึ่งท่านครูเหม โสพิทร์ แซ่ภู่ บอกว่ามี ๓ วัด พระเพรง พระพรหม และ พระพราง
ท่านว่าอยู่ไม่ไกลจากวัดพระเพรง
ถามหลายคนได้ความว่า วัดพระพรางนั้น
อยู่ที่แถว ๆ สะพานวังวัวเยื้อง ๆ กับวัดหนองแตนทุกวันนี้
โดยทุกวันนี้ร้างมานานแล้ว และเหมือนว่าจะสิ้นสภาพหาดูอะไรไม่เจอแล้ว
โดยวันนี้นอกจากไม่เจอวัดพระพรางที่ว่า แต่ไปเจอเทวสถานแห่งใหม่แทน
ที่ก็เกี่ยวกับพระวิษณุอีกจนได้
กลับมาอ่านงานของ อ.สามอีกครั้ง มีหลายเอะใจตามนี้ครับ ...
อ.สามระบุว่า ที่ระบุว่าพบที่วัดพระเพรงนั้น มาจากความสับสนเมื่อแรกพบ
เมื่อผู้พบขณะออกหาปลาด้วยการก่อแนวทรายกันน้ำแล้วขุดพบในพื้นทรายที่วัดพระพราง
แล้วนำกลับไปที่บ้าน จนเกิดเหตุในกลางคืน ต้องมาขอสมภารวัดพระเพรงช่วยอัญเชิญไปวัดพระเพรง
จนจดจำกันสืบมาว่าพบที่วัดพระเพรงแทนวัดพระพราง
แต่ที่สำคัญกว่านั้น อ.สาม ยังให้รายละเอียดที่สำคัญมากกว่าด้วยว่า
... เมื่อเห็นองค์พระวิษณุ ศาสตราจารย์โอคอนเน่อร์ ได้ตามศึกษาค้นคว้าไปยังต้นทางที่พบในตำบลนาสาร ระบุนอกจากรูปพระวิษณุแล้ว ยังพบฐานพระวิษณุ (พศต.ที่ ๑๓ - ๑๔) พระเศณศวร์ (พศต.ที่ ๑๕ - ๑๖) เศียรพระพุทธรูป (พศต.ที่ ๑๕ - ๑๖) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด ๔ กร (พศต.ที่ ๑๔) และ รูปสำริดสี่กร อาจเป็นพระหริหระ (พศต.ที่ ๑๕) ซึ่งแสดงว่าที่พื้นที่นาสารนี้มีทั้งฮินดูและพุทธศาสนา ขณะที่รูปพระวิษณุนั้นมีบางข้อสันนิษฐานว่าอาจเก่าถึง พศต.ที่ ๑๒ ...
... ศ.โอคอนเน่อร์ เชื่อว่าพื้นที่นาสารมีความสำคัญทางวัฒนธรรมในช่วงก่อน พศต.ที่ ๑๖ โดย อ.วัณณสาส์น นุ่นสุข กล่าวว่าจากงานทางโบราณคดีของอาจารย์เองพบว่าพบแนวโครงสร้างอิฐจนเป็นไปได้ที่จะเป็นหนึ่งในชุมชนที่นับถือไวศนพนิกายที่สำคัญที่สุดที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่ พศต.ที่ ๑๑ ก่อนไศวนิกายและพุทธศาสนาใน พศต.ที่ ๑๔ ...
เอาเป็นว่า แม้หาไม่พบวัดพรางหรือวัดพระพราง
แล้วไปพบอีกโบราณสถานสมัย พศต.ที่ ๑๓ มีพระวิษณุด้วย !!!
ขากลับจึงชวนกันจะเข้าไปชื่นชมรูปพระวิษรุในวิหารโพธิ์ลังกา
กับจะดูศิลาจารึกหลักที่ ๒๙ ที่ส่วนใหญ่บอกว่ายังไม่ได้อ่าน
แต่ในงานของ อ.สามเล่มนี้ ระบุไว้ว่า
... แม้ส่วนที่จารึกอักษรเขมรโบราณ-ภาษาสันสกฤต
จะ very fragmentary แต่ก็มีนามตามพรลิงค์ปรากฏอยู่ ...
ทว่าท่านปิด เนื่องจากผู้ดูแลติดกิจไปหาหมอ
เอาเป็นว่า ยังมีอะไรที่ไม่รู้อีกมาก
แม้เหมือนว่าบางอย่างจะค่อย ๆ ปรากฏก็ตาม
๒๗ ตุลา ๖๗ ๒๐๓๐ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1658368705058245&set=pcb.1658400895055026