เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 18 November 2024
- Hits: 3
เมืองนครบ้านผม มีตั้ง ๕๗ #กงสีที่ผลิตอีแปะ ออกมาใช้ !!!
57 CoinageMintsInNakorn !!!
(20241116_4 เพื่อแผ่นดินเกิด)
อันที่จริงหนังสือนี้ของท่าน อ. ชัยวุฒิ พิยะกูล Pang Piyakul
ซื้อมาอ่านแล้วรอบหรือสองรอบ
แต่ตอนนี้ไม่รู้อยู่ไหน วันก่อนก็เลยซื้อมาอ่านอีกเมื่อคืนวันลอยกระทง
เช้านี้มาทบทวนทำไว้ ๖ หมายเหตุ
๑ - ในงานนี้ท่านทบทวนเรื่อง #สุวรรณภูมิ ไว้ไม่น้อย
มีอ้างถึง ๒ เหรียญในรอยลูกปัด จากบางกล้วย - #กุษาณะ
กับคลองท่อม - ที่ผมรายงานไว้ว่าคล้ายโรมันนั้น
ตอนนี้ ดร.บริจิตต์ จากไฮเดลบวร์ก มาศึกษารายงานแล้วครับ
ว่าเป็นเหรียญทองของ #พระเจ้าวิษณุวรมัน ตามอักษรพราหมีที่ปรากฏ !!!
ดูเหมือนว่าน่าจะราว ๆ พศต.ที่ ๖ หรือ ๗ !!!
มีการเสนอว่านี้น่าจะคือ #เหรียญทองคำเก่าแก่ที่สุดที่พบแล้วบนคาบสมุทร !!!
และสันนิษฐานกันว่า #อาจจะเป็นกษัตริย์แห่งคาบสมุทรพระองค์แรกที่ปรากฏพระนาม ด้วย !!!
๒ - ในงานนี้ มีกล่าวถึงหลาย #เงินตราโบราณที่พบในนคร
ตั้งแต่ #สมัยพระเจ้าทรงธรรม !!! พบแต่ที่นคร !!!
กับการพบ #อีแปะจีน จำนวนมาก และบอกว่าที่ #เก่าที่สุดก็พบที่นคร !!!
มิหนำซ้ำ ยังมีระบุอีกว่า แม้ #พดด้วงก็มีมาตีตราทำที่เมืองนคร !!!
๓ - เฉพาะ #อีแปะ อ่านแล้วตกใจใหญ่ เพราะรายงานว่า
เมืองนครนี้มีตั้ง #๕๗_กงสีเมืองนคร ที่สร้างทำอีแปะใช้ !!!
แจงนับแล้วยิ่งตกใจใหญ่ ในเมืองนคร - ๑๘ / ปากพนัง - ๑๖ /
ร่อนพิบูลย์ - ๗ / ท่าศาลา-สิชล - ๖ / ฉวาง - ๑ / ไม่แน่ชัด - ๙
โดยส่วนใหญ่ล้วนเป็นแหล่งทำแร่ดีบุก ยกเว้นปากพนังที่ค้าข้าว
กับในเมืองนครที่เป็นฐานการค้า, หรือว่าปากพนังนั้นก็เป็นฐานการค้าด้วย ???
ที่สำคัญคือที่ปากพนัง พบเบ้าหลอมอันหนึ่งด้วย ของ #กงสีซุ่นเส็ง
ของใครครับพี่ On Suchato May Laksna ด้วยครับ
๔ - แต่ที่น่าหาคำตอบต่อ ว่าทำไมอีกแปะนคร กับ กาญจนดิษฐ์และพังงา
รูปแบบแนวเดียวกัน ต่างจากสงขลาและพัทลุง
ทั้งรูปแบบและมีชื่อเมืองภาษาไทยกำกับ
หรือเพราะว่าทางสงขลาและพัทลุงนั้นรัฐทำ
แต่ทางนคร ท่าทอง ตะกั่วป่า กงสีทำ ???
ยิ่งพบว่าอีแปะพัทลุง มีคำว่า #น่ำปัง - #น่ำปังทงป้อ แปลว่า #เงินตราของรัฐใต้
ไม่รู้ว่าพี่น้องทางพัทลุง สมคิด ทองสง เสณี จ่าวิสูตร
รวมทั้งท่านอธิการบดี Nathapong Chitniratna จะรู้แล้วไหมหนอ ?
ส่วนของ #กาญจนดิษฐ์ นั้น ฝากพี่ ทวีศักดิ์ สุขรัตน์ ค้นหาครับ มี ๓ กงสี
สำหรับทางภูเก็ต ซึ่งคุณ ชาญ วงศ์สัตยนนท์ ค้นคว้าว่า
ค้าดีบุกมาแต่อยุธยา ทำไมไม่พบเจออีแปะกงสีเลยครับ ?
หรือว่าทั้งนั้นนี้ มาจากงานการศึกษาและรายงาน
ของคุณชวลิต อิงวัทยาธร ซึ่งเป็นคนนคร และน่าจะทำที่นครเป็นด้านหลัก ???
๕ - ส่วนที่เป็นโจทย์หลักของการศึกษาที่พวกเราตั้งกันคราวนี้คือว่า
เงินตราเหล่านี้ ใช้ดีบุกไหม ? อย่างไร ? และ เท่าไหร่ ?
เชื่อว่ายังไม่เคยมีการศึกษาอย่างจริงจัง
ด้วยระบุแต่ว่าเป็นโลหะผสม ตะกั่วบ้าง ดีบุกบ้าง ดีบุกผสมตะกั่วบ้าง
ตะกั่วผสมดีบุกบ้าง
งานนี้จึกปรึกษากับท่าน อ.ชัยวุฒิ คุณ Som Potter และคุณเบ็ญว่า
นอกจากจำแนกแยกแยะแล้ว จะทำการวิเคราะห์โลหะกันให้รู้ชัดครับ
ว่าแต่ละกงสี จังหวัด รุ่นแบบ มีอะไรตรงหรือต่างกันไหม
และบอกอะไรเราได้บ้าง
๖ - ส่วนที่สร้างทำและพบในโลกมลายู สุมาตรา ชวา อินโด
ค่อยว่ากันโอกาสหน้าครับผม
สำหรับท่านที่สนใจหนังสือเล่มนี้ ขอแนะนำครับ
ติดต่อซื้อตรงได้ที่ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
เล่มละร้อยกว่าบาทเองครับผม หรือจะเหมาเอาทั้งชุด มี ๖
หรือกี่เล่มผมจำไม่ได้ ก็ราว ๆ พันเดียวเองครับผม
๑๖ พฤศจิกา ๖๗ ๑๔๐๔ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1672162513678864&set=pcb.1672176000344182