เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 22 March 2017
- Hits: 2459
หากจะดูที่ลูกปัดอินโดแปซิฟิค ?
Determine by the IPB ?
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด/รอยลูกปัด 20170321_6)
ดร.อโลก กุมารที่ผมเจาะจงเชิญตรงมาจากคานธีนคร เพราะรู้อยู่ว่าเป็นศิษย์เอกของศาสตราจารย์เค
โนเยอร์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ที่ถือเป็นอีกผู้เช่ยวชาญลูกปัดระดับโลก และเคยเชิญผมไปเป็น resource person ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งคานธีนคร ที่กำลังจะพัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาเทคโนโลยีต่าง ๆ ของอินเดีย เพราะเป็นบ้านเกิดของนายกฯ อินเดียคนปัจจุบัน
การนำเสนอของ ดร.อโลกวันนั้นมันมาก เพราะรัวจนผมเองก็ฟังแทบไม่ทัน แถมทำท่าว่าจะเสนอเป็น talk show มากกว่าบรรยายด้วย
ดร.อโลก ยกเรื่องที่ตัวเองถนัดสุดเพราะเพิ่งออกหนังสือมาเล่มหนึ่งซึ่งผมก็ได้ร่วมในพิธีเปิดตัวที่อินเดียด้วย เป็นหนังสือศึกษากระบวนการผลิตลูกปัดแก้วสีเดียวขนาดเล็กที่เรียกกันว่าอินโดแปซิฟิคที่หมูบ้านปาปาไนดูเป็ทที่ทำกันมาเป็นพันปีแล้วเลิกเลยเมื่อ ๕ ปีที่แล้ว โดยเขาได้ศึกษาว่าลูกปัดนี้พบที่ไหนบ้าง และเก่าแก่ถึงไหนบ้าง ทำเป็นบัญชีรายพื้นที่และลงแผนที่เป็นช่วง ๆ ไว้ด้วย เฉพาะประเทศไทยก็ทำไว้ได้กว่าครึ่งร้อย แถมมีปัญหามากจากหลักฐานที่เขาพบในอินเดียว่าเป็นแหล่งผลิตที่เก่าที่สุดนั้น อายุเพียง ๒๕๐ ปีก่อน คศ. แต่ที่พบที่บ้านดอนตาเพชรนั้นเก่ากว่าไปตั้ง ๒ ศตวรรษ ซึ่งก็ยังไม่มีหลักฐานการพบแหล่งผลิตที่เก่ากว่าที่พบที่อินเดีย แต่จะบอกว่ามีทำที่เอเชียอาคเนย์ก่อน ก็ต้องหาหลักฐานมาสนับสนุน
เขาได้นำการศึกษาที่ปาปาไนดูเป็ทมาแสดงเป็นฉาก ๆ ว่าหากพื้นที่ไหนจะว่าเป็นแหล่งผลิตลูกปัดอินโดแปซิฟิคได้นั้น ไม่ใช่พบนี่นั่นนู่นนิด ๆ แล้วก็สรุปออกมา เพราะที่ปาปาไนดูเป็ทนั้น เป็นไปทั้งหมู่บ้านแบบว่าทุกระบบของหมู่บ้านนั้นทุ่มเทกับเรื่องนี้ ตั้งแต่คนออกไปหาฟืนจนกระทั่งในเรือนก็ต้องร้อยลูกปัดกันด้วย ในขณะที่เศษแก้วรูปทรงลักษณะต่าง ๆ ในแต่ละระยะของการผลิต รวมทั้งถ้วยโถ เตาเผา ตะกอน ก้อนแก้ว แท่งโลหะ ฯลฯ ต้องพบตกหล่นในปริมาณที่พอที่จะสรุปได้ โดยเขาสรุปไว้ถึง ๑๐ รายการที่ต้องพิจารณา
ขณะเดียวกันเขาก็บอกว่าเวลาพบลูกปัดเกาะติดกันเป็นก้อน ร้อยเรียงกันเป็นเส้นนั้น จากที่เขาตามไปศึกษาชนเผ่านากาแลนด์ที่นิยมลูกปัดกันมาแม้ทุกวันนี้นั้น แต่ละคนมีสร้อยและลูกปัดกันไม่รู้กี่ร้อยสายหลายสิบกิโล แล้วเป็บไว้เป็นกอง ๆ หากบ้านหนึ่งมีสัก ๕ - ๑๐ คน ก็ไม่เห็นจะแปลกที่เราพบลูกก้อนปัดอย่างนี้ได้ หากบ้านใดเกิดไฟไหม้แล้วลูกปัดนั้นหลอมละลายตกอยู่
สนใจรายละเอียดก็เชิญไล่ดู หรือไม่ก็สั่งซื้อหนังสือนี้ได้ครับ ของผม อ.ปีเตอร์ ซื้อจากอินเดียมาฝากเมื่อปีที่แล้วครับ.
ในวันสรุปนั้น ดร.อโลกบอกว่าได้พบเห็นมากกว่าที่คาดคิดและยังมีอะไรให้ทำกันอีกมาก เขาตั้งข้อสังเกตุว่าช่วงของทวารวดีที่เมืองไทยนั้น ทางอินเดียเริ่มแผ่วแล้ว อาจต้องดูมิติสังคม เศรษฐกิจการเมืองและเทคโนโลยีด้วย ไม่เฉพาะแต่ศาสนาและวัฒนธรรมเท่านั้น
ส่วนการจัดประชุมครั้งนี้ เขาว่าเป็น a lifetime experience ที่ได้มาพบนักวิชาการหลากหลายความเชียวชาญและชาติ และยินดีร่วมไม้ร่วมมือในการศึกษาวิจัยโดยเฉพาะเรื่องแก้วและหินต่าง ๆ อีกอย่างหนึ่งเขาชื่นชมพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ มากว่าของไทยเราจัดได้ดีอย่างเยี่ยมยิ่ง อยากให้ในอินเดียเป็นอย่างเมืองไทยเรามาก ๆ ครับ
๒๑ มีค.๖๐