เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 23 April 2017
- Hits: 1599
ระหัสลับแห่งพุทธมณฑลที่ถูกถอด
Solving the Secret Code of Thai BuddhaMonThon
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด/การพระพุทธศาสนา 20170420_3)
วงระดมสมองเมื่อวานนี้
เมื่อคลี่แผนผังพุทธมณฑลแห่งประเทศไทยกันออกมา ตอนแรกก็มีผู้บอกกันว่าสุดยอดของการออกแบบไว้แล้ว เราน่าจะเริ่มตรงนั้นตรงนี้ อย่างนี้อย่างนั้น
ครั้นย้อนไปถึงเมื่อแรกเริ่มสมัยพุทธชยันตี ๒๕๐๐ ปีที่ฉลองกันในนามของกึ่งพุทธกาล โดยรัฐบาลจอมพล ป. ก็มีการกล่าวถึงระหัสลับ ว่าอาจจะเป็นความพยายามเคลื่อนย้าย "พุทธจักร" เพื่อเชื่อมโยงกับ "อาณาจักร" แห่งรัฐใหม่ ละม้าย ๆ กับแม้แต่เรื่อง "หมุดฯ" ที่กำลังเป็นเรื่อง รวมทั้งเรื่อง "หลักเมืองนครฯ" ที่เคยเกิดเรื่อง
จากนั้นผมจึงลองเสนอส่งท้าย แล้ว อ.ขวัญสรวงก็มือไวมาก ๆ ด้วยการบบรรจุระหัสเสียใหม่ให้ไกลเกินกว่าคุณค่าเดิม ๆ ใด ๆ ซึ่งผ่านการค้นคว้าประมวลมาอย่างต่อเนื่องจากผลงานของหลายครูบาอาจารย์ว่า
๑) พุทธมณฑล ณ เขตจังหวัดนครปฐมนั้น ตั้งอยู่บนลุ่มน้ำท่าจีน ซึ่งถือเป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่พระพุทธศาสนามาถึงแผ่นดินไทยและสุวรรณภูมิ ก่อนที่จะค่อย ๆ บ่มเพาะและพัฒนาจนออกมาเป็น "พุทธ-ทวารวดี" ที่ตั้งมั่นในย่านนี้ ดังที่มีการสรุปว่าจากเมืองอู่ทอง แล้วคลี่ขยายไปยังคูบัว กำแพงแสน พงตึก นครชัยศรี-นครปฐม ที่ถือเป็นฐานพุทธธรรมสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของย่านนี้เมื่อสมัยนั้น
๒) แถมการสถาปนามหาสถูปในสมัยนั้น ทั้งที่เมืองโบราณนครปฐม ศรีเทพ รวมทั้งนครศรีธรรมราชโบราณนั้น ท่าน อ.ศรีศักร ระบุว่าเป็นคติสำคัญที่สถาปนาไว้นอกนคร เพื่อมหาชน มิใช่ของนครเดียว เราจึงน่าจะเติมเต็มระหัสนี้ที่พุทธมณฑลให้ไกลกว่าเพียงพระนคร ประเทศไทย พุทธทั้งหลาย จนถึงโลกและสากล
๓) ที่สำคัญกว่านั้น จากงานของนานานักวิชาการเท่าที่ผมได้ติดตาม ข้อสมมุติฐานสำคัญหนึ่งที่น่าจะนำมาเติม คือพระพุทธศาสนาจากอินเดียที่เชื่อว่าน่าจะมาถึงชายฝั่งอันดามันแถบทวายก่อนที่จะข้ามเขามาถึงลุ่มน้ำแม่กลองแล้วจึงต่อมายังท่าจีน เพื่อสู่ลุ่มเจ้าพระยา-ป่าสัก-บางปะกง ก่อนที่จะมุ่งตะวันออกและเหนือ พร้อมกับการแผ่ขยาย "พระพุทธศาสนาและทวารวดี" ก็เกิดขึ้นที่นี่เป็นสำคัญ
ขอบคุณอาจารย์ขวัยสรวง อติโพธิ์
และอาศรมศิลป์นะครับ
ผมขอนับงานนี้ที่จะค่อย ๆ คลี่ตั้งแต่วันนี้
เพื่อถวายพระพุทธองค์
เนื่องในวาระ ๑๑๑ ปีพุทธทาสด้วยนะครับ.
๒๐ เมย.๖๐
#๑๑๑ปีพุทธทาส