logo_new.jpg

นโมตัสสะ ภควโต ฯ
หามีศาลาโกหกไม่...
Not At All the Lie Pavillion
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170601_2)

หามีศาลาโกหกไม่....
ถ้า โดหก คือ โกหก อย่างที่นึก จะจารึกไว้ทำไม
เพราะผู้ใหญ่ปกครองถิ่น ใช่ว่ากินทราย
ไม่อาจสร้างซึ่งหลักฐาน ตั้งสำนักงานที่พูดปด
ย่อมเสียยศผู้ครองถิ่น ไม่รู้สิ้นหาย
บุคคลที่ไม่รู้อะไร พูดได้พูดไปตามสบาย
เหมือนแกล้งขยายกองกิเลส ให้ต่างประเทศฟัง

ผมขอสรุปรายงานการประชุมฯ เมื่อวานนี้ 
ตามประสาผมอย่างนี้ขอรับ

๑) ขอน้อมอภิวาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ อันมีองค์พระพุทธสิหิงค์มิ่งเมืองในหอพระ ฯ เปล่งประกายความองอาจแห่ง "พุทธะ" และ "ราชสีห์" ณ หอประประจำเมือง ในจวนเก่าเจ้าเมืองนคร อันกลายเป็นศาลากลางและศาลจังหวัด ณ ปัจจุบันนี้

๒) ขอนอบน้อมวันทนา แด่เจ้าคุณม่วง องค์เอกสังฆราชาคณะแห่งเมืองนคร ผู้เปรื่องปราชญ์และงามสง่าสารพัด และรจนากลอนเพลงบอกนี้ เพื่อประกาศกล้าว่า "นครที่แท้" นั้นเป็นอย่างนี้
"...หามีศาลาโกหกไม่ เป็นคำใกล้ โด กับ โก
เมื่อใครโผล่ขึ้นสักคำ ชวนกันซ้ำใหญ่
ถ้า โดหก คือ โกหก อย่างที่นึก จะจารึกไว้ทำไม
เพราะผู้ใหญ่ปกครองถิ่น ใช่ว่ากินทราย
ไม่อาจสร้างซึ่งหลักฐาน ตั้งสำนักงานที่พูดปด
ย่อมเสียยศผู้ครองถิ่น ไม่รู้สิ้นหาย
บุคคลที่ไม่รู้อะไร พูดได้พูดไปตามสบาย
เหมือนแกล้งขยายกองกิเลส ให้ต่างประเทศฟัง..."
พี้อมทั้งเพื่อการก้าวสู่มิติใหม่ของ "นครแห่งธรรม" อันเป็น "ศรีธรรมราช" ดังที่ท่านเจ้าคุณม่วงได้ระบุไว้ด้วยว่า
"...ทำใหม่หลังคาจารึกหมาย เป็นแผ่นป้ายขึ้นมั่นคง
เพื่อดำรงอยู่ยืนนาน ด้วยกระดานแผ่น
ให้เรียกสัจจศาสา ต่างภาราไม่ดูแคลน
ตรึงป้ายแผ่นถาวรา ติดหลังคาอยู่..."

พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช สังฆนายก ตรีปิฎกคุณาลังการ ศีลสมาจารย์ วินยสุนทร ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิตย์ ณ วัดท่าโพธิ์ จังหวะดนครศรีธรรมราช ฯ

๓) ดังนี้

ก่อนเข้าประชุม จากการทบทวนสารพัดเอกสารลายลักษณ์ ผมตั้งประเด็นสู่ที่ประชุมดังนี้

หนึ่ง อะไรคือคุณและค่า ของ "ศาลา-ประดู่หก" ?
สอง แล้วเราจะบริหารจัดการกัน ประมาณไหน ?
สาม ควรจะเริ่มและดำเนินกันไปอย่างไรได้ จึงจะดี ?

ผมตอบตัวเองเมื่อก่อนการประชุม อย่างนี้

หนึ่ง คุณและค่า ของ "ศาลา-ประดู่หก" ณ หน้าเมืองนครนี้อนันต์ ด้วยอยู่ ณ ชัยภูมิสถานอันทั้ง "ศักดิ์สิทธิ์" "สะท้อนวิถีมหานครแห่งธรรมบนคาบสมุทรทะเลใต้" และ "แสนสนุก" ซึ่งจะค่อยๆ
ขยายความในภายภาคหน้า

ดูเหมือนว่าที่ประชุมจะเห็นพ้องต้องกันในประเด็นนี้ จากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แทบทุกคนบอกว่า "ศักดิ์สิทธิ์" แน้แท่ และ "ไม่เคยรับรู้มาก่อน" ว่าที่นี่ คือ "ค่ายหลวง" "พลับพลาที่ประทับ" รวมทั้งเคยเป็นท้องพระโรงและอะไร ๆ อีกหลายอย่าง ของพระเจ้าอยู่หัวถึง ๓ รัชกาล (๔-๕ และ ๖) เมื่อร่วม ๑๕๐ ปีก่อนสืบมา เฉพสะรัชกาลที่ ๖ ทรงมาประทับ "ณ พลับพลาค่ายหลวง" นี้รวมกัน ๓ รอบ กว่า ๓๐ ทิวา-ราตรี ท่ามกลาง "ดงประดู่" ที่ "ประตูไชยทางทิศเหนือ" นี้ ดังที่มีการประดิษฐานแท่นและป้าย ๘๐ ชันษา ถวายพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ไว้ด้วยแล้ว

แถมยังมี "ศาลาหน้าเมือง" อัน "แสนสง่าและสุดสนุก" ของผู้คนแห่งเมืองนคร ตลอดจนผู้เดินทางผ่านมายังเมืองนคร ประหนึ่ง "สถานรับแขกแห่งเมือง" ที่เชิดหน้าและชูตาอย่างยิ่งแล้ว
..................................................

สอง อาจพิจารณาเพื่อการ "บริหารจัดการ" ได้ใน ๓ ระดับ คือ น้อย ๆ พอประมาณ และ ทั้งปริมณฑล เช่น น้อยที่สุดคือ ซ่อมบูรณะเฉพาะตัวศาลาแล้วก็พอ หรือว่าปรับปรุงพัฒนากันทั้งอาณาบริเวณ จากหอป้ายถวายพระเจ้าอยู่หัวที่ริมถนนราชดำเนินไปจนจรดถนนศรีปราชญ์ ระหว่างกำแพงจวนผู้ว่าฯ ถึงรั้วโรงเรียนกัลยาณี เสียในคราวนี้เลย เพราะบางอย่างก็ทรุดโทรมและรกมากเหลือประมาณ

หลังหารือกันอย่างยาวนานในประเด็นนี้ ที่ประชุมมีข้อสรุปดังนี้
๒.๑ ให้กันพื้นที่ "สุดศักดิ์สิทธิ์" และ "แสนสง่าและสุดสนุก" (-นี้สำนวนผมนะครับ) ไว้ทั้งผืนที่มีถนนรอบ เพื่อปรับปรุงพัฒนาดูแลและบริหารจัดการให้เหมาะสมต่อไป
๒.๒ โดยยังให้เป็นพื้นที่ในการดูแลของที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้การบริหารจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยตลอดจนสิ่งอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ทั้งผืน
๒.๓ เพื่อบรรเทาปัญหาเรื่องสถานที่จอดรถตลอดจนร้านค้าต่าง ๆ ที่ปล่อยปละละเลยจนเป็นอย่างที่เป็นอยู่นี้ ให้ขยับขยายย้ายไปอยู่ที่บริเวณฝั่งตะวันออกถนนศรีปราชญ์ด้านตรงข้ามหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่ง อบจ.ได้ขอใช้ไว่ก่อนแล้ว และกำลังจะพัฒนาปรับปรุงอยู่ในลักษณะปอดของเมือง ไม่ให้มีการก่อสร้างอาคารใด ๆ ขึ้นอีก
๒.๔ ให้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เร่งปรับปรุงแบบในการปรับปรุงพัฒนาทั้ง "ศาลาหน้าเมือง" ตลอดจนอาณาบริเวณให้เหมาะสม "สุดศักดิ์สิทธิ์" และ "แสนสง่าสุดสนุก" นี้ ต่อไปจากแบบที่ทำไว้แล้ว โดยขอให้คำนึงถึงการดูแล บำรุงรักษา และ ใช้ประโยชน์สาธารณะ" ทั้งนี้ ให้พิจารณาการปรับปรุง "แท่นตราพระนามาภิไธย รัชกาลที่ ๙" ให้สมแก่พระเกียรติแห่งสถานที่ รวมทั้งควรรื้อ "ศาลาประดู่หก" หลังเดิมที่ อบจ.สร้างไว้ โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกระบวนวิธีแห่งระเบียบปฏิบัติ รวมทั้งอาจพิจารณาสร้างจำลองเป็น "พลับพลาค่ายหลวง" ควบคู่กับ "ศาลาหน้าเมืองของประชาชนพลเมือง" ไปด้วยกัน
..........................................................

สาม ยังไม่ขอคิด เพราะต้องประเมินก่อนว่า คณะทำงาน จังหวัด เทศบาล อบจ.ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง และคนนครทั้งหลาย จะเห็นและให้ "คุณ" กับ "ค่า" ตลอดจนคิดอ่านว่าน่าจะบริหารจัดการกันประมาณไหน

ข้อนี้ เท่าที่ประเมินจากที่ประชุม และมติในข้อที่ ๒ ผมเห็นว่ามอบที่ทำการปกครองจังหวัด กับ เทศบาลนครฯ เป็นผู้ทำหน้าที่ดูและพัฒนาบริหารจัดการกันต่อไปน่าจะเหมาะสมแล้ว เพราะท่านทั้งหลาย เป็น "ข้า-ราชการ" กินเงินเดือนที่เก็บไปจากภาษีของพวกเราอยู่แล้ว เงินที่จะเอามาทำทั้งหลาย ท่านก็ไม่ได้ควักเงินเอง ขอเอามาจากงบประมาณแผ่นดินทั้งนั้น

เท่านี้ก่อนนะครับ
ขอปรมมือแก่องค์คณะของการประชุมนี้
โดยเฉพาะท่านปลัดจังหวัดกับจ่าจังหวัด
ประธานและเลขาในที่ประชุม ฯ
รวมทั้งขอบพระคุณท่านธนารักษ์พื้นที่ จ.นศ.
ที่กรุณาให้ได้เห็นแผนที่ที่ดินผืนสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งที่หน้าเมืองนครแห่งนี้.

...ถ้า โดหก คือ โกหก อย่างที่นึก จะจารึกไว้ทำไม
เพราะผู้ใหญ่ปกครองถิ่น ใช่ว่ากินทราย
ไม่อาจสร้างซึ่งหลักฐาน ตั้งสำนักงานที่พูดปด
ย่อมเสียยศผู้ครองถิ่น ไม่รู้สิ้นหาย
บุคคลที่ไม่รู้อะไร พูดได้พูดไปตามสบาย
เหมือนแกล้งขยายกองกิเลส ให้ต่างประเทศฟัง...

พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช สังฆนายก ตรีปิฎกคุณาลังการ ศีลสมาจารย์ วินยสุนทร ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิตย์ ณ วัดท่าโพธิ์ จังหวะดนครศรีธรรมราช ฯ

๑ มิย.๖๐
ขอบคุณภาพจาก สนง.ปชส.จ.นศ.ครับผม

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//