เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 14 September 2017
- Hits: 1543
นิยามแห่งทวารวดี...ที่ชาวไทยยังไม่รู้พอ...และห้ามพลาด
Must Not Miss the Un-welknown Difining Dvaravati
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170817_1)
http://www.definingdvaravati.com/
ขอบอกกล่าวกันอีกสักครั้งนะครับว่า
โอกาสนี้ไม่ธรรมาที่สุด เพราะ
ว่าด้วยเรื่องต้นเค้าแห่งความเป็นไทยของพวกเรา
มีนักวิชาการชั้นนำของโลกมาหลายท่าน
มีการจัดแสดงสิ่งค้นพบใหม่ที่อาจเกี่ยวเนื่องจำนวนหนึ่ง
แถมมีหนังสือแจกสำหรับท่านที่เข้าร่วม
ส่วนผู้ที่สนใจจะร่วมทางไปอู่ทอง
อาจยังมีเหลือที่ มีผู้สมัครจากเซี่ยงไฮ้ด้วยแล้วครับ
๓๐ สค. – ๓ กย.นี้ อพท.จับมือสยามสมาคม มูลนิธิพิริยะไกรฤกษ์ และ หอจดหมายเหตุพุทธทาสจัดประชุมปฏิบัติการนานาชาติ
ว่าด้วย นิยามแห่งทวารวดี-Defining Dvaravati: ต้นทางสำคัญของอารยวัฒนธรรมไทย
......................................................................
พันเอก ดร.นาฬิกอติกภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน – อพท. (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่าตามที่ อพท.ได้ประกาศพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๕ และได้ทำการศึกษาและพัฒนาตามลำดับมาโดยมีภาคีความร่วมมือหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ วิชาการ เอกชนและชุมชนท้องถิ่นภายใต้เป้าหมายและทิศทางที่จะทำให้เมืองโบราณอู่ทองเป็นเมืองสร้างสรรค์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิม
สืบเนื่องที่เมืองโบราณอู่ทองได้รับการเสนอจากนักวิชาการชั้นนำของไทย อาทิ ศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ และ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดมว่าเป็นศูนย์กลางสำคัญของรัฐทวารวดี เสมือนต้นทางสำคัญของอารยวัฒนธรรมไทย กล่าวคือเป็นทั้งเมืองท่าและศูนย์กลางการค้าสำคัญของรัฐทวารวดี เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนารุ่นแรกของรัฐทวารวดี และมีบทบาทเป็นเมืองหลวงรุ่นแรกของรัฐทวารวดี เป็นดินแดนแห่งความมั่งคั่ง มีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิดขึ้นของเส้นทางสายไหมทางทะเล และมีการศึกษาค้นคว้ามาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดทั้งคำถาม พบคำตอบ ตลอดจนข้อค้นพบใหม่ ๆ ตลอดมา อพท.โดยความร่วมมือกับ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์ และ สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมป์ จึงได้ร่วมกันจัดประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติว่าด้วยอู่ทอง ในหัวข้อ “นิยามแห่งทวารวดี” เพื่อทบทวนและแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ว่าด้วยทวารวดีตลอดจนช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยขึ้นในระหว่างวันที่ ๓๐ สิงหาคม – ๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ และเมืองโบราณอู่ทอง โดยมีการลงพื้นที่ศึกษา ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในกรุงเทพมหานคร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทองและเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, พิพิธภัณฑ์บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และ แหล่งพบเรือเดินทะเลโบราณในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีนักวิชาการโบราณคดีชั้นนำเดินทางมานำเสนอข้อค้นพบตลอดจนข้อคิดเห็น ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย การเริ่มต้นและโรยราแห่งทวารวดี Beginning & Decline of Dvāravatī โดย ดร.เอียน โกลฟเวอร์ นักโบราณคดีอาวุโสแห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับก่อนประวัติศาสตร์แห่งเอเชียอาคเนย์ ผู้ขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านดอนตาเพชรเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อนและเกาะติดประเด็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงนี้ตลอดมา และ อ.ดร.อุเทน วงศ์สาธิต แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ศึกษาค้นคว้าและอ่านจารึกเขมรโบราณแล้วพบหลักฐานสำคัญ ขอบเขตและศาสนาในทวารวดี Extent and Religion of Dvāravatī โดย ดร.สตีเฟน เมอร์ฟี่ แห่งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมอาเซียนที่สิงคโปร์ ผู้ศึกษาว่าด้วยเสมาที่พบทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคซึ่งบอกอะไรในเรื่องนี้บ้าง คุณเบญจวรรณ ผลประเสริฐ แห่งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญชัย จังหวัดลำพูน จะเสนอถึงร่องรอยหลักฐานทวารวดีที่ขึ้นไปถึงเขตล้านนาโบราณ อาจารย์ฮันเตอร์ วัตสัน แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ศึกษาเรื่องจารึกมอญโบราณซึ่งอาจจะบ่งบอกขอบเขตของทวารวดีได้บ้าง โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ แห่งมูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์ ผู้ศึกษาค้นคว้าและมีผลงานหนังสือมากมายว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทย เสนอแง่มุมจากด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ กับยังได้รับเกียรติจากคุณเวสเลย์ คลาร์ค ผู้ขุดค้นทางโบราณคดีที่พงตึกเมื่อ ร่วม ๔๐ ปีก่อน จนพบหลายหลักฐานสำคัญจะมานำเสนอร่วมด้วย
สำหรับในประเด็นว่าด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ เศรษฐกิจแห่งทวารวดี Science, Technology & Economy of Dvāravatī นั้น ดร.แอนนา เบนเน็ต แห่งนครบรัสเซลล์ จะเสนอผลการศึกษาล่าสุดว่าด้วย บทบาทการค้าโลหะเลอค่า โดยมีศาสตราจารย์หลิน หยิง และ หวง เจียซิม นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น นครกว่างโจว มาร่วมเสนอในประเด็นว่าด้วยทวารวดีที่รับรู้ในสมัยราชวงศ์ถัง ว่าด้วยอินเดียและทะเลใต้(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
ที่สำคัญที่สุดคือนอกจากจะมี อาจารย์ภูธร ภูมะธน แห่งชมรมอนุรักษ์เมืองลพบุรี เป็นผู้ปาฐกถานำถึงการทบทวนองค์ความรู้เหล่านี้แล้ว ยังได้รับเกียรติจาก ดร.จอห์น กาย แห่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งมหานครนิวยอร์ค ผู้มีบทบาทผลงานอย่างกว้างขวาง ล่าสุดเพิ่งจัดนิทรรศการพิเศษพร้อมจัดพิมพ์หนังสือเล่มสำคัญ ว่าด้วย อาณาจักรที่สาบสูญ (The Lost Kingdom) แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาปาฐกถานำเรื่อง “นิยามแห่งทวารวดี” ในครั้งนี้ โดยมี ดร.ธีรวัต ณ ป้อมเพชร และ อาจารย์สาวิตรี สุวรรณสถิต สองผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาเป็นประธานผู้ดำเนินการตลอดรายการ
อนึ่ง ในการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและโบราณสถาน ยังได้รับเกียรติจาก ดร.เอียน โกลฟเว่อร์ และ อ.ภูธร ภูมะธน เป็นวิทยากรนำชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และจากคุณสุภมาศ ด้วงสกุล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง นำชมในเมืองโบราณอู่ทองอีกด้วย
ผู้สนใจสามารถประสานติดต่อขอรายละเอียดและลงทะเบียนการเข้าร่วมได้ที่ http://www.definingDvāravatī.com ไม่มีค่าลงทะเบียนแต่อย่างใด (ใช้ภาษาอังกฤษตลอดรายการ)
๑๐ สค.๖๐