เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 19 May 2016
- Hits: 1543
Why Named This @ Muang NaKorn (3)
โร่ม่าย ไซ๋ชื่อนี้ ครั้งที่ ๓ (๐๑๘ - ๐๒๒)
วัดสระเรียง นบพิตำ ปากพนัง วังวัว ไสเจริญ
(bunchar.com 20160516 เพื่อแผ่นดินเกิด)
เมื่อวานนี้ที่ลานวัดพระธาตุ
นอกจากพี่เหลิมกับพ่อเอกแล้ว
ท่านพระครูพรหมคณานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดสระเรียง
ได้นำน้องเณรบวชใหม่มาร่วมด้วยหลายสิบรูป
ผ่านการคุยกับถึง ๑๘๐๐ น.
นอกจากที่ผมเตรียมเรื่องท่าทั้ง ๖ มานำเสนอ
ยังได้ไล่อีก ๓ ชื่อของพระและเณร
ส่วนชื่ออื่น ๆ อีกหลายสิบของแต่ละรูป
ท่านพระครูบอกว่า นัดหน้าจะนำคณะมาอีก
พร้อมการส่งการบ้านของน้องเณรเหล่านั้น
๐๑๘ วัดสระเรียง
ที่ตั้ง ตรงข้ามวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารบนถนนราชดำเนิน บริเวณมุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ความหมายและความเป็นมา
ท่านพระครูฯ เจ้าอาวาสบอกว่า ท่านอาจารย์อดีตมหาสังคมฯ เคยเล่าเมื่อยังเป็นเณรว่าบริเวณที่เป็นวัดสระเรียงทุกวันนี้นั้น คือพื้นที่ขุดเอาดินไปสร้างพระธาตุ เหลือพื้นดินเป็นสระเรียงรายอยู่ จึงได้ชื่อว่าสระเรียง ต่อมาเมื่อถูกถมจนตื้นเขินหมด ยังมีการทำภาพที่หน้าบันให้เห็นเป็นสระเรียงรายอยู่ ขณะนี้ไม่มีร่องรอยของสระเหลืออยู่ และไม่มีการขุดค้นศึกษาใด ๆ
ที่มา พระครูฯ เจ้าอาวาส เล่าที่วัดพระธาตุ
ผู้รายงาน บัญชา พงษ์พานิช
๐๑๙ นบพิตำ (ตามบ้านเกิดของน้องเณรงคนหนึ่งที่เข้าร่วม)
ที่ตั้ง ชื่อของหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ บนเทือกเขาหลวงตอนเหนือสุด ต่อเนื่องกับเขานัน ซึ่งเป็นพื้นที่หุบเขาใหญ่ครอบคลุมป่ากรุงชิงไว้ด้วย เพิ่งแยกออกมาจากอำเภอท่าศาลา
ความหมายและความเป็นมา
เป็นการนำชื่อของ ๒ บ้านในเขตป่าเขานั้นมาต่อเข้าด้วยกัน คือ บ้านนบ และ บ้านพิตำ บ้านนบ ได้ชื่อเช่นนี้เพราะมี "นบ" หรือ "ทำนบ" กั้นน้ำ ส่วน "พิตำ" เท่าที่พอจำได้คร่าว ๆ ว่าเกี่ยวกับการหาแร่ เนื่องจากบริเวณนี้มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์มาก โดยเมื่อช่วง ปี พศ. ๒๕๐๐ มีการทำแร่เหล็ก ดีบุก และ วุลแฟรม กันมากแล้ว จึงนิยมเรียกเขตนั้นว่า "นบพิตำ" ก่อนที่จะขยายกลายเป็นชื่อต่าง ๆ จนถึงชื่ออำเภอในที่สุด
ที่มา จากการเคยสำรวจศึกษามาก่อนและพอจดจำได้
ผู้รายงาน บัญชา พงษ์พานิช
๐๒๐ ปากพนัง (ตามบ้านเกิดของน้องเณรคนหนึ่งที่เข้าร่วม)
ที่ตั้ง ชื่อของบริเวณปากแม่น้ำสายหลักของเมืองนครแล้วต่อมากลายเป็นทั้งชื่ออำเภอและแม่น้ำ
ความหมายและความเป็นมา
"นัง" หมายถึงสิ่งสร้างเป็นแนวเพื่อดักและกันสัตว์ให้เดินไปตามแนวไปสู่กับดักที่สร้างวางไว้ โดยบริเวณปากแม่น้ำหลักของเมืองนครที่มีสภาพตื้น เป็นที่นิยมสร้างทำ "นัง" ดักปลาเป็นจำนวนมาก จึงถูกเรียกว่า "ปากนัง" หมายถึงปากน้ำที่มี "นัง" มาก ในขณะที่อีกกระแสหนึ่ง บอกว่าเนื่องจากกระแสน้ำที่ไหลแรงจนตลิ่งพัง ผู้คนจึงนิยมสร้างทำ "พนัง-ผนัง" กันตลิ่งบริเวณปากน้ำมิให้พังทลาย จึงได้ชื่อว่า "ปากพนัง" แล้วกร่อนลงเป็น "ปากนัง"
ทั้งนี้ท้องที่ที่เป็นอำเภอปากพนังนั้นในอดีตชื่อว่า "เบี้ยซัด" กล่าวกันว่ามีเบี้ยหอยถูกวัดขึ้นฝั่งบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก
ที่มา จากวงสนทนาหน้าพระธาตุเมื่อวันที่ ๑๕ พค.๕๙ นำเสนอโดยเฉลิม จิตรามาศ เอก ลิกอร์ และ บัญชา พงษ์พานิช
ผู้รายงาน บัญชา พงษ์พานิช
นอกจากนั้นยังมีอีกหลายเกล็ดน่าสนใจ อาทิ
น้องเณรคนที่มาจากปากพนัง บอกว่าบ้านอยู่ปากยา ไม่รู้อะไร
จึงตกลงว่าต้องทำเรื่อง "ปาก" ในเมืองนครกันสักคราว
นอกจากนี้ พี่เหลิม ยังรวนหลายอย่าง ดังเช่น
ท่าวัง กับ ท่ามอน ของพี่เหลิมนั้น
ท่านว่า เพราะที่ "ท่ามอน" มีคนขี้ "มอน" มากนัก
คนล่างน้ำลงไปที่ "ท่าวัง" จึงต้อง "วัง" กันมาก
๐๒๑ - ๐๒๒ วังวัว ไสเจริญ
เช่นเดียวกับที่ "วังวัว" เพราะอยู่ไม่ไกลจาก "ไสเจริญ"
เนื่องจากแต่ก่อนนั้น "ไสเจริญ" คือ "ไสโจร"
หมายถึงป่าไสที่ถูกแผ้วถางและกลายเป็นที่ชุมโจร
คนที่โน่น จึงต้อง "วังวัว" มิให้โจรมาลักไปซ่อนในไส
ทุกวันนี้ "ไสโจร" ถูกเปลี่ยนชืื่อใหม่โดยใครก็ไม่รู้
น่าจะเป็นพวกครูเบญจม ที่มาตั้งโรงเรียนตรงนั้น
เรียกชื่อใหม่แบบแก้นามจนเสียศูนย์ ว่า "ไสเจริญ"
อนึ่งน้องเณรคนหนึ่ง บ้านมาจากวังวัว บอกว่า
"พ่อผมไม่ได้บอกอย่างนั้น
พ่อว่า มีพญาวัวสองตัวกระโจนลงไปในวัง
แต่ยังไม่เคยมีใครพบเห็น"
อีกสิ่งที่พี่เหลิมรวนผมคือ
อันที่จริงที่ท่ามอนนั้น อาจมีที่มาอีกอย่าง
เนื่องจากบริเวณคุ้งน้ำนั้น เป็นที่บรรจบพบกันของสองสายน้ำ
ทำให้เกิดเป็น "มอน" อยู่ใต้วัง
เนื่องจากท่าบริเวณนั้นมี "มอน" อยู่ใต้น้ำ จึงถูกเรียกว่าท่ามอน
ก็ประมวลกันไว้ไม่เสียหายอะไรครับ
๑๖ พค.๕๙