เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 24 January 2020
- Hits: 913
ที่ไปนำเสนอ พุทธศาสนา ... สุวรรณภูมิ
On Buddhism & Suvarnabhumi Presentation
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20200124_1)
การนำเสนอเรื่องนี้ เมื่อวานนี้นั้น นับเป็นครั้งที่ ๘ แล้วหลังการศึกษามา ตั้งแต่เดือน พค.ปีที่แล้วที่ไปนำเสนอที่งานสัมมนาการวิจัยพระพุทธศาสนา ของ มจร.ที่น่าน
โดยได้ปรับปรุงตามลำดับมา พร้อมกับปรับให้ตรงกับประเด็นที่ผู้จัดกำหนดทั้งที่สยามสมาคม / วัดไร่ขิง นครปฐม / มอ.หาดใหญ่ / C ASEAN Gistda / Alliance Franciase เชียงใหม่ / วัดญาณฯ พุทธมณฑล โดยเมื่อวานนี้ มีคณะจากศูนย์สุวรรณภูมิศึกษา ม.รังสิตขอให้ไปที่นั่นอีกสักครั้ง เฉพาะที่ขอสรุปส่งไว้ ณ ที่นี้ เพื่อประกอบการดูที่นำเสนอย้อนหลัง ใน Matichon Online - มติชนออนไลน์ หลังท่าน อ.ศรีศักรเกริ่นนำ แล้วส่งต่อให้ผมนั้น ผมตั้งไตรสรณาคมน์เป็นปฐม แล้วก็ไหว้เจ้าที่มติชนตามธรรมนิยม จากนั้นก็ยกเหตุว่าทำไมถึงทำ ที่สำคัญงานนี้ตังใจทำถวายในหลวง ร.๙ ที่ทรงพระราชนิพนธ์มหาชนกนำร่อง พร้อมกับพระราชทานชื่อสนามบินสุวรรณภูมิไว้แล้วเริ่มทบทวนงานทั้งไทยและเทศ ในรอบ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่บอกว่า สุวรรณภูมิมี ... น่าจะมี แต่ต้องรอการค้นคว้าและหลักฐานสนับสนุนเพิ่มโดยเฉพาะที่เก่าถึง เกี่ยวกับอินเดียและถ้าสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา ก็หนักแน่นยิ่งขึ้น
โดยการศึกษาครั้งนี้ ได้ขอเชิญนักวิชาการชั้นนำของไทยและนานาชาติทำการศึกษาข้อมูลความรู้ใหม่ล่าสุดสรุปว่าพบความมีจริงมากขึ้นอย่างมากแบ่งเป็น ๒ เขต คือภาคพื้นแผ่นดิน และ คาบสมุทรกับหมู่เกาะครอบคลุมอาเซียน - เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบทั้งหมดซึ่งล้วนทรงคุณค่าแห่งสุวรรณภูมิทั้ง ๕ มิติและเท่าที่พบหลักฐานมากแล้วสามารถระบุจุดเข้า-ออก และเส้นทางข้ามผ่าน ได้ ๔ แนว คือ
(๑) ที่คอคอดกระ พม่าตอนใต้กับกลางคาบสมุทรไทย
(๒) ที่เคดะห์ - ไทรบุรี ข้ามมาที่แถบยะลา ยะรัง ปัตตานี
(๓) จากแถวทวายข้ามมาลุ่มแม่กลอง-ท่าจีน ผ่านลพบุรี-ป่าสัก-บางปะกง ไปออกปากน้ำโขงที่กัมูชและเวียนามใต้
(๔) ที่ก้นเมาะตะมะแถวสะเทิม ข้ามมาไทย ผ่านที่ราบสูงอีสาน ลาว ไปออกี่เียดนามตอนกลาง ที่เป็นดงซาหวิ่น ตามด้วยจามปา
ซึ่งล้วนอยู่ในแดนอาเซียนด้วยกันครบแทบทุกชาติอย่าได้หลงกับดักอัตวานุปาทานชาตินิยมแล้วทะเลาะกันอยู่เลยครับ จากนั้นจึงไล่ให้ได้เหนเป็นประจักษ์ถึงบางสิ่งอย่างสำคัญ ที่พบแถบคอคอดกระ ทั้งจังหวัดมะลิวัน ตอนใต้ของพม่าและระนอง พังงา กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภาคใต้ตอนบนของไทยเราไม่ว่าจะเป็นขันสำริดสุงคะ วงแหวนและแป้นศิลาเมารยะ ป้ายมหานาวิกะพราหมี ต่างหูจักรวาทินทองคำสุงคะ ผอบพระธาตุ ที่ถือว่าโชคดีที่เก็บรวบรมเอาไว้ได้แม้ไม่ทั้งหมด แต่ก็มากพอที่จะตอบคำถามเหล่านี้ที่นานานักวิชาการได้ช่วยกันค้นคว้าและรายงานมาประมวลไว้ได้เฉพาะผอบหินที่น้อง ๆ Pairot Singbun กับ Pramot Kateboonleang เพิ่งประมวลออกมาว่า รวบรวมไว้ได้ถึง ๒๖๑ ชิ้น เป็นขอจาก มะลิวัน ท่าชนะ บางกล้วย-ภูเขาทอง และ คลองท่อม ตามลำดับ
แล้วจะค่อย ๆ ย่อยกันต่อไปครับผม
ขอขอบพระคุณทุกท่านทุกฝ่าย ที่มีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน
จนเกิดชุดความรู้เหล่านี้ และช่วยกันขยายให้ค้นคว้ากันต่อครับผม
๒๔ มค.๖๓ ๐๙๑๙ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.