เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 31 January 2020
- Hits: 1757
คือใคร ? ขุนเศรษฐภักดี กับ น้าหง้วน เศรษฐภักดีของท่าน อพุทธทาส
Who Is KhunSretPhakdee & Buddhadasa's Uncle Nguan
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20200129_5)
นอกจากตอนบวชอยู่สวนโมกข์ แล้วพักอยู่กุฏิหง้วน เศรษฐภักดีแล้วยังจำได้ว่า น้าของท่าน อ.พุทธทาสที่ชื่อหง้วนนั้นยังเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการบวชเรียนของท่าน อ.
รวมทั้งการซื้อพิมพ์ดีดเครื่องแรกถวายและสนับสนุนการเข้าไปเรียนเปรียญในบางกอกผมเข้าใจว่าท่านน่าจะเกี่ยวกับขุนเศรษฐภักดีทายาทของพระยาปฏินันท์แห่งเมืองสุราษฎร์ธานีที่บ้านดอนผู้มีบทบาทมากทางเศรษฐกิจและสาธารณกุศลเป็นผู้ตั้งโรงเรียนหนึ่งขณะที่คุณเจนกิจ ปัจจักขภัติ ทายาทของพระประจักษ์สร้าอีกโรงเรียนหนึ่งนอกจากนั้น ยังเป็นคนซื้อที่ประเดิมสร้างโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีด้วยแต่ก็ไม่ทราบอะไรแน่ชัดรู้อีกว่า นายวรรณ ชันซืนั้น ก็เป็นเขยของขุนเศรษฐภักดีด้วยแถมโรงไฟฟ้าแรกแห่งเมืองนครที่หลังตึกยาวเมืองนครนั้นก็เป็นของขุนเศรษฐภักดีนี้โดยเมื่อเช้านี้ รถผ่านอาคารมีสะพานข้ามกลางบ้านดอนที่เพิ่งบูรณะแถมด้านหลังมีตลาดคนเดินด้วย ... ก็เลยขอลงไปดู อ้าว นี้ก็อาคารขุนเศรษฐภักดีถามไถ่ได้ความว่าเจ้าของทุกวันนี้เป็นคนอื่น ๆ กันแล้วตะกี้ลองค้นดู เจอนี้ที่มีคนถามไวแล้วมีคุณ Han Bing ช่วยแปลเป็นภาษาไทยไว้ตามนี้ ไม่ทราบว่าคนเดียวกันไหม ? แต่ก็มีความเป็นไปได้สูง ด้วยเป็นจีนแต้จิ๋วทำธุรกิจโรงสี โรงไฟฟ้า ธนาคาร ฯลฯ ซึ่งเกี่ยวกับกับที่บ้าน ขุนบวร ฯ และพระประจักษ์ฝากทางสุราษฎร์ ทั้ง น้า โกวิท เหมะกุล และ จิตรหรรษ์ โล เหมะกุล กับ ผศ.ดร.โพธิพันธ์ พานิช (นายโพธิพันธ์ พานิช) กับโต กรุณพล พานิช (Karunphol Panich) แล้วก็เพื่อนผี Polrak Patchakapat ด้วยครับผม
ส่วนร้านพงษ์วานิตที่บ้านดอนนั้นไม่เกี่ยวอะไรกับทั้งพงษ์พานิช และ พานิช ครับผม
" ... ขออภัยที่เข้ามาช้าไปหน่อย ข้าพเจ้าได้เข้าไปอ่านข้อมูลจากเว็ปไซด์ข้างต้น และแปลได้ดังนี้
廖公圃(Liao Kong Po,1892—1980) 泰国华人企业家、社团领导人。泰名Khun Saethapakdi。祖籍广东澄海,生于泰国。年幼时曾回家乡读书,后返回泰国继承父业,经营碾米厂、锯木厂、人造冰及燕窝开采。后又创办发电厂、银 行、保险公司、船务公司等企业。1936年与*蚁光炎、*赖渠岱等发起组织泰国潮州会馆,任副主席。
เหลียว กง โพ เป็นชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย ทำอาชีพเป็นนักธุรกิจ และเป็นหัวหน้าสมาคมต่างๆมากมาย ชื่อในภาษาไทยคือ “ขุนเศรษฐ์ภักดี” ต้นตระกูลเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง (广东:guang dong) เมืองเฉิงไห่ (澄海:cheng hai) เกิดในประเทศไทย
ในวัยเยาว์เคยกลับไปยังเมืองเฉิงไห่เพื่อเรียนหนังสือ ภายหลังจึงกลับมายังประเทศไทยเพื่อสืบทอดกิจการของบิดา อันได้แก่ธุรกิจโรงสีข้าว โรงเลื่อย และการเก็บรังนกนางแอ่น ภายหลังยังได้ขายกิจการออกไปอีกมากมาย ดังโรงผลิตไฟฟ้า ธนาคาร บริษัทประกันภัย และบริษัทการเดินเรือ เป็นต้น
ในปีค.ศ. ๑๙๓๖ ได้รวมกับอี้กวงหยาน (蚁光炎: yi guang yan) และ หลายชูไต้ (赖渠岱: lai qu dai) และบุคคลอื่นๆร่วมตั้งสมาคมแต้จิ๋วขึ้น โดยตนเองได้รับตำแหน่งรองประธานสมาคม
七七事变后,潮汕地区粮荒,发起组织潮州米业平粜公 司,购运米粮至潮汕平卖以抑粮价。担任劝募公债暹罗公会副会长,募款支援抗日战争。日军侵占泰国后,以“抗日罪”被捕入狱近四年。战后作为暹罗区代表,赴 中国出席国民大会。
ภายหลังเกิดเหตุการณ์ญี่ปุ่นบุกเข้ารุกรานจีนอย่างเต็มรูปแบบในปีค.ศ. ๑๙๓๗ วันที่ ๗ เดือน ๗ (七七事件)บริเวณแต้จิ๋วเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ได้เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งบริษัทค้าข้าวการกุศลขึ้น โดยรับซื้อข้าวจากไทยแล้วนำไปขายยังแต้จิ๋วในราคาถูกเพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่งรองประธานสมาคมการขายพันธบัตรแห่งสยาม โดยพันธบัตรดังกล่าวขายเพื่อช่ายรัฐบาลจีนต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อกองกำลังญี่ปุ่นบุกประเทศไทยถูกจับในข้อหาต่อต้านญี่ปุ่นและถูกจำคุกเกือบ ๔ ปี หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เป็นตัวแทนจากประเทศไทยเข้าร่วมงานประชุมสภาประชาชนของจีน
热心社会公益,捐助曼谷新民学校、万仑陶英学校、里叻医院、万仑府立医院、坤洛府医院、曼谷华侨医院等。泰国拉玛六世国王封予坤氏博里 男爵衔。中国国家领导人邓小平、邓颖超访泰时,曾会见他。
ท่านเป็นคนชอบทำการกุศลแก่สังคม บริจาคเงินเพื่อการกุศลหลายครั้ง อาทิ ตั้งโรงเรียนซินหมินแห่งกรุงเทพ (曼谷新民学校:man gu xin min xue xiao) โรงเรียนว่านหลุนเทาอิง (万仑陶英学校:wan lun tao ying xue xiao) โรงพยาบาลลี่เจีย (里加医院:li jia yi yuan) โรงพยาบาลว่านหลุนฟู้ลี่ (万仑府立医院:wan lun fu li yi yuan) โรงพยาบาลคุนหลัวฟู (坤洛府医院:kun luo fu yi yuan) และโรงพยาบาลหัวเฉียวแห่งกรุงเทพฯ (曼谷华侨医院:man gu hua qiao yi yuan)เป็นต้น
ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนเศรษฐ์ภักดี ครั้งผู้นำจีนดังท่านเติ้งเสี่ยวผิง(邓小平:deng xiao ping) และท่าน เติ้งอิงเฉ่า (邓颖超:deng ying chao)ได้มาเยือนประเทศไทยล้วนได้เข้ามาเยี่ยมเยือนท่าน
主要参考资料
华侨华人百科全书——人物卷/-北京:华侨出版社 2000
แหล่งที่มาข้อมูล
เรื่องราวชาวจีนโพ้นทะเลหลากเรื่อง – ว่าด้วยบุคคล สำนักพิมพ์จีนโพ้นทะเล พิมพ์เมื่อปี ๒๐๐๐
๒๙ มค.๖๓ ๑๘๒๓ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร