เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 16 March 2020
- Hits: 944
แหวนเพชรสองพันปีจากอันดามันนี้ บอกอะไรเราไหม ?
Do These 2 Andaman Diamond Rings Tell Us Anything ?
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20200314_2)
สำหรับท่านที่สนใจจริง และตามอ่านที่ผมเล่ามาเรื่อย ๆ
น่าจะจับความได้ว่า ขณะนี้ เป็นที่สรุปชัดเจนแล้วว่า
บน #คาบสมุทรไทย แถบ #คอคอดกระ
ทั้งที่ชุมพร สุราษฎร์ ระนอง พังงา กระบี่ รวมทั้งมะลิวันในพม่า
เป็น #แหล่งประดิษฐ์ลูกปัดและเครื่องประดับชั้นเยี่ยม
ทั้งหินสีมีค่า ทั้งแก้วนานา และ โลหะสารพัด โดยเฉพาะทอง
ถามว่าเริ่มแต่สมัยไหน ?
น่าจะต่อเนื่องมาจาก #ยุคหินใหม่ จนเข้า #โลหะสำริด แล้วก็ #เหล็ก
เมื่อประมาณ ๓ - ๒๕๐๐ ปีที่แล้ว
เกี่ยวกับทั้งจีน อินเดีย ไปจนถึงอาระเบียและกรีก-โรมัน
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของวงการ #อัญมณีโลก นี้ เกิดขึ้นที่อินเดีย
ที่มีวัตถุดิบมาก
แต่ที่สำคัญกว่าคือการพบ "#เพชร" ที่แข็งสุดที่ ระดับ ๑๐
และสามารถเอามาทำ "หัวตัด-เจาะ" ที่ทรงประสิทธิภาพ
สามารถตัดเจาะ #หินสีมีค่ากึ่งอัญมณี ต่าง ๆ ที่แข็งระดับ ๗ - ๘
แล้วพัฒนา #หัวเจาะเพชร ใช้ทำลูกปัด พร้อมกับแพร่มาทำที่คอคอดกระบ้านเรา
ในวงการการศึกษาเรื่องเพชร เขาสรุปว่า อินเดีย คือเจ้าแรกรู้จักเพชร
และในหลายรายงาน ระบุว่า #สมัยโรมัน ก็มีการใช้แหวนเพชรกันแล้ว
แต่เป็นเพชรลูก แบบเอาไปใส่เรือนทองทั้งเม็ด ที่เป็นทรงปิรามิดคู่
เนื่องจากยังไม่มีการเจียรนัย และไม่มีเครื่องมือทำได้
นอกจากเครื่องบี้บดเพชรเป็นเศษผง เอามาตัดเจาะ ฯลฯ
ซึ่งเท่าที่ท่องไปทั่ว ก็ได้เห็น #แหวนเพชรลูกอย่างโรมัน มาไม่น้อย
จนกระทั่งเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๖๑
เห็นคนที่ #คลองท่อม แพร่ภาพแหวนทองวงหนึ่งที่มีหัวอย่างเพชรโรมัน
จึงตามเอามารักษาไว้ได้ ตามที่จดบันทึกเอาไว้ว่า ...
" ...คือ ๑ ในแหวนเพชร ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ?
ข้องใจเรื่อง #เพชรอันดามัน ที่ปนมาในดีบุก
เคยตามหาได้มาเม็ดหนึ่ง จากในตลาดที่ภูเก็ต
แล้วหล่นหายริมถนที่ร้านข้ามันไก่โกแก้ว
ต่อมาเจอเม็ดหนึ่งปนมาในซองเศษลูกปัด
จากไหน จำไม่ได้ ยังไม่ได้หา
ดร.บริิต เอาหนังสือ Gemstones มาฝาก
มีแหวนทองหัวเพชรเช่นนี้ ๕ วง
ที่จีน ออกแก้ว โรมัน ประมาณ พศต.๙, ๑๖๐๐ ปีแล้ว
เขาเพิ่งเจอและบอกมาจึงต้องเอาไว้ ... ๒๙ กย.๖๑"
ต่อมา เมื่อวันที่ ๓ ตค.๖๒
ขณะพาท่าน อ. #ศรีศักร และคณะ มอ.
ที่ท่านอธิการฯ มอบให้ อ.Pongthep Sutheravut มาสั่งเราทำ
#ตามรอยสุวรรณภูมิบนคาบสมุทรไทย ฯลฯ
ตอนขึ้นดูเขากล้วยที่ #บางกล้วยนอก ก็เจออีกวงหนึ่ง
นายต้น Tony Kaewjampa รักษาไว้
หากเทียบกับบทความใน #academia ที่ #BrigitteBorrel เขียนไว้
เธอเริ่มด้วยการพบแหวนเพชรเรือนทองอย่างนี้วงหนึ่ง ตามภาพ
วางอยู่บนอกของ #WangYi ที่ #XiangShan ใน #Nanjing
ซึ่งเป็นนครหลวงสมัย #ราชวงศ์จิ้้นตะวันออก
เป็นสุสานสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก คศ.317-420
ที่ต่อเนื่องจาก #ราชวงศ์ฮั่นและสุย ก่อนที่ถังจะกลับมารุ่ง
และ #สกุลหวัง นี้นับเป็นพวกชัันสูง
ขนาดที่ #ShimaShao ที่ต่อมาคือฮ่องเต้หมิง คศ.323-325
ยังยกให้ Wang Yi ผู้นี้ที่เป็นอาจารย์ เป็นราชนิกูล
โดยสันนิษฐานกันว่า นี้น่าจะเป็นของ #บรรณาการจากแดนไกล
จากนั้น ได้ตัดภาพไปที่ #ออกแอว
ซึ่ง #มาลาเรต์ ขุดค้นและรายงานการพบอีก ๒ วง ลักษณะเดียวกัน
ประกอบกับอีกหลายอย่าง รวมทั้งบันทึกของ #ทูตจากฟูนัน
และ #คังไถ่ ที่ไป #ฟูนัน ในสมัยหลัง
ระบุว่าคนที่ฟูนันนั้นผลิตเครื่องประดับกันมาก
จนสรุปเอาว่า แหวนวงนั้นที่นานจิง น่าจะผลิตไปจากออกแอว
แต่ได้ขยักไว้ว่า แม้จะมีรายงานการมีแหล่งเพชรที่ #บอร์เนียว
แต่ก็ยังไม่เคยมีรายงานการพบเพชรที่นั่นในสมัยโน้น
แล้วสรุปว่า ในเมื่อแรกรู้เพชรคืออินเดีย
เพชรลูกบนเรือนแหวนทั้งที่นานจิงและออกแอวนี้ น่ามาจากอินเดีย
ส่วนผมนั้น เท่าที่ตามรอยมา ๑๕ ปี
ชัดเจนว่า #ตลอดชายฝั่งอันดามัน ที่เป็น #แหล่งดีบุก
พบ "เพชร" ปนมากับแร่มากมาย ขายกันเป็นเรื่องเป็นราว
ให้ไปถามร้านทองทั้งที่ภูเก็ตและพังงา ตะกั่วป่าได้ (หากเขาไม่ปกปิด)
ส่วนเหมืองแร่นั้น ไม่แน่ เพราะเฒ่าแก่อาจจะไม่รู้ อยู่ที่คนคุมรางแร่
อีกประการ การทำเครื่องประดับอย่างที่คังไถ่ระบุว่าฟูนันทำกันมากนั้น
ก็สมัยราชวงศ์ฉี คศ.479-501 ที่ล่ามาอีก
หากยังจำที่ทางไทย เชิญ #บ๊วซเซลิเย่ร์
มาศึกษาเรื่อง #จินหลิน และ #อู่ทอง
แกยังเสนอเลยว่า อาจต้องพิจารณาเรื่องฟูนันกันใหม่
เพราะเป็นไปได้ว่า #ออกแอว #อู่ทอง และ #คลองท่อม
อาจคือฟูนันด้วยกัน
แถมที่ว่า #ฟันซีมัน จากฟูนันมาตีจินหลินนั้น
บอกเลยว่า ย่านนี้ น่ามีอะไรมากก่อน และอาจจะมากกว่า
การเจอ ๒ แหวนทองหัวเพชร ที่ทั้งคลองท่อมและบางกล้วยนอก
พร้อมกับอีกสารพัดเบาะแสเหล่านี้
ที่ผมแจ้ง ดร.บริจิตต์ และ ดร.แอนนา แล้ว
ทราบว่า ดร.แอนนา กำลังสนใจรายงานไปยัง #สมาคมอัญมณีโลก
และขอภาพกับเรื่องเบื้องต้นนี้พอดี
จึงเอาไปเล่าเสีย ประกอบความ #ไม่เลื่อนลอยของสุวรรณภูมิ
ที่ #ศูนย์สุวรรณภูมิศึกษา #มหาวิทยาลัยรังสิต
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับผม
ผมก็พอทำได้เพียงเท่านี้
นอกนั้น ขอเชิญขาใหญ่หาความสำราญกันต่อครับผม
โดยขอเสนอข้อสันนิษฐานเล่น ๆ
ตามประสาหมอวัดตกหลุมลูกปัดว่า
๑) #เพชรนี้อาจเป็นเพชรอันดามัน ก็เป็นได้ ?
๒) แหวนเพชรเหล่านี้ #อาจผลิตไปจากคาบสมุทรนี้ ที่แถว ๆ คอคอดกระก็ได้ ?
๓) #นี้คือจินหลินที่แปลว่าแดนทอง ก็สุวรรณภูมินั่นไง !!!
๔) #ที่ฟันซีมันกรีฑาทัพฟูนันที่ออกแก้ว มาตีจินหลิน แล้วรุ่งเรืองเฟื่องมากในระยะต่อมา ก็เพราะมาโยกไปจากย่านนี้ไหม ?
เท่านี้ก็สนุกตายแล้วเลยครับ
ประมาณนี้ พอลง #มรดกสุวรรณภูมิ ไหมครับพี่ Sudara Suchaxaya
๑๔ มีค.๖๓ ๐๙๐๐ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.