logo_new.jpg

ดูเอาเองครับว่าเขาคมแค่ไหน ?
และหากช้างเอางวงรัดรูดจะเกิดอะไรขึ้น ?
How Sharp The #ElephantCryOutPalmLeafStalk
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20200330_6)

ต้นนี้ ตอนที่ได้มาปลูกพร้อม ๆ กับปาล์มอื่น ๆ นั้น
วางให้เป็นประธานร่วมกับ #เต่าร้างยักษ์ และ #สิเหรง
นอกนั้นเป็นบริวาร
ทั้ง #หมากเหลือง #ปาล์มงาช้าง แล้วก็ #จั๋งริงโร กับ #ชิง

แซมไว้ด้วย #บังสูรย์ #เจ้าเมืองตรัง #หลังขาวเจ้าเมืองถลาง

มาถึงวันนี้ กำลังสวย เห็นเป็นชั้น ๆ
บังตะวันลงมาเป็นทอด ๆ ตามธรรมชาติของป่าปาล์ม

ต่อจากนี้ ก็ไม่รู้ว่าเขาจะโตเบียดกันประมาณไหน
อาจมีบางต้นไปต่อไม่ได้ ตามธรรมดา

ในวิกิพีเดีย ระบุบอกไว้ว่า ...
#ช้างร้องไห้ Borassodendron machadonis 1(8024075847).jpg
สถานะการอนุรักษ์ ไม่มั่นคง (IUCN 2.3)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ถูกจัดอันดับ: Angiosperms
ไม่ถูกจัดอันดับ: Monocots
ไม่ถูกจัดอันดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
สกุล: Borassodendron
สปีชีส์: B. machadonis
ชื่อทวินาม Borassodendron machadonis Becc.
ช้างร้องไห้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Borassodendron machadonis) หรือ ช้างไห้ เป็นปาล์มหนึ่งในสองชนิดที่อยู่ในสกุลช้างร้องไห้ (Borassodendron) กระจายพันธุ์ในตอนใต้ของพม่า ไทย และคาบสมุทรมลายู ปัจจุบันมีจำนวนลดลงเนื่องจากมีการรุกล้ำป่าไม้และการทำเหมืองหินปูน[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ช้างร้องไห้เป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30-40 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายตาลโตนด ใบประกอบรูปนิ้วมือแกมขนนกสั้น ๆ แผ่ออก 40-45 ทาง กว้าง 2-3 เมตร ก้านใบยาว 1.8 เมตร ช่อดอกสมบูรณ์เพศ ยาว 1.2 เมตร ออกระหว่างกาบใบ สีขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลรูปไข่กลับค่อนข้างแบน มี 3 พู ขนาด 10 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีม่วงอมน้ำตาล[2]

ประโยชน์
ช้างร้องไห้เป็นปาล์มประดับที่นิยมปลูกกลางแจ้งหรือที่ร่มรำไร นอกจากนี้ผลอ่อนยังรับประทานได้[3] และน้ำตาลจากช่อดอก (งวง) ยังใช้ทำเป็นน้ำตาลคล้ายน้ำตาลโตนดได้ แต่มักพบไม่บ่อย เพราะช้างร้องไห้จะออกดอกปีละครั้ง[4]

สำหรับท่านที่สนใจมาก ๆ
กะว่าจะรอกินลูกดู หรือว่าทำน้ำตาลเมากินกัน ?

๓๐ มีค.๖๓ ๑๑๓๐ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//