เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 13 June 2016
- Hits: 2134
All about Art&Sciences on LopBuri, this July, 8th
สรรพศาสตร์ ศิลป์ ถิ่นลพบุรี ๘ กรกฎานี้
มีใครสนใจจะไปเรียนรู้ครั้งพิเศษด้วยกันไหมครับ ?
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด:ลพบุรี 20160613)
๘ กค.นี้ หลายฝ่ายร่วมกันจัดงานวิเศษที่เมืองลพบุรีโดยผมโดนด้วย ว่าด้วยเรื่องลูกปัดลพบุรีที่ผมเห็นว่าเป็นของวิเศษไม่น้อย มีรายละเอียดและกำหนดการตามนี้ ตอนนี้กำลังกะว่าหากมีคนสนใจมากพอ อาจจะจัดเป็นคณะไปกัน โดยอาจไปวันที่ ๗ เพื่อตามรอยนี่นั่นนู่นในลพบุรีกันล่วงหน้า ๑ วัน แล้วหาที่นอน ๑ คืน ตื่นมาอยู่ร่วมประชุมทั้งวัน มี ๕ ห้องแบบเนื้อ ๆ จนเย็น ร่วมเปิดและชมนิทรรศการพิเศษใน พช.สมเด็จพระนารายณ์ แล้วกลับ กทม. เพราะเช้าวันที่ ๙ มีตักบาตรข้าวเหนียวกันที่สวนลุมครับ
ใครสนใจจะไปเองก็ขอเชิญ มีค่าลงทะเบียนด้วยนะครับ
หากจะไปด้วยกัน ลองบอกมา เพราะว่าอาจจะจัดไป ถ้าไม่มากเรื่องและมีแรงพอ อ้อ งานนี้ สุธีรัตนามูลนิธิ บวรนคร ตัดสินใจจัดพิมพ์หนังสือว่าด้วยลูกปัดลพบุรี ๑ เล่ม พิมพ์สี่สี ขนาดเท่าอู่ทองฯ และ รอยทางฯ หนา ๑๐๐ หน้าเศษ ยังไม่รู้ราคาทุน ใครสนใจบ้างครับ จะได้พิมพ์เผื่อ / กันไว้ให้
๑๓ มิย.๕๙
ระยะเวลาดำเนินการ
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2559
สาระกิจกรรม
1. การสัมมนาวิชาการ วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08.30 น. – 12.00 น. และ เวลา 13.00 น. – 16.00 น. ณ อาคาร 90 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โดยมีวิทยากรนำเสนองานวิชาการ 29 ท่าน รวม 29 เรื่อง แยกบรรยายในแต่ละห้องรวม 5 ห้องพร้อมกัน ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถเลือกหัวข้อการเข้าฟังตามความสนใจได้ 6 เรื่อง (ขอความกรุณาเลือกหัวข้อที่จะเข้าฟังล่วงหน้า)
2. นิทรรศการพิเศษเรื่อง ผลการขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองลพบุรี โดยกรมศิลปากรในรอบทศวรรษ จัดโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ และสำนักศิลปากร 4 ลพบุรี มีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เวลา 18.00 น. ณ ห้องนิทรรศการพิเศษ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ (ชั้น1) ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ โอกาสนี้ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ฯ จะทดลองเปิดการให้บริการเข้าชมห้องนิทรรศการต่าง ๆ ในเวลากลางคืนด้วย (เป็นครั้งแรกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในส่วนภูมิภาคที่ริเริ่มจัดกิจกรรมบริการให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้ในเวลากลางคืน และจะเป็นโครงการต่อเนื่องต่อไป)
3. ชมการบรรเลงดนตรีและชมการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรีพร้อมกับการรับประทานอาหารพื้นเมืองลพบุรี วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ตั้งแต่เวลา 18.30 น. – 20.30 น. ณ บริเวณหน้าพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์
ค่าลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ จำนวน 1,000 บาท
(นักศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาโท คนละ 500 บาท)
1. ค่าเอกสารประกอบการสัมมนา (รวมเล่มบทความทางวิชาการ)
2. ค่าอาหารกลางวัน อาหารค่ำ และอาหารว่าง 1 วัน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ผู้เข้ารับการสัมมนาได้รับความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับเมืองลพบุรีในด้านต่างๆ ทั้งผลงานวิจัยและการขุดค้น
2. ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีโอกาสการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเป็นพันธมิตรทางวิชาการที่ดีต่อกัน
3. ได้ข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้สำหรับโครงการการพัฒนาจังหวัดลพบุรี
มีกำหนดการดังนี้
กำหนดการสัมมนาวิชาการและกิจกรรมประกอบเรื่อง "สรรพศาสตร์-ศิลป์ ถิ่นลพบุรี"
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2559
ณ อาคาร 90 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
เวลา 8.00-08.30 น. ลงทะเบียน
เวลา 8.30-08.45 น. พิธีเปิดการสัมมนา
เวลา 9.00-16.00 น. นำเสนอผลงานทางวิชาการ ตามห้องประชุม ดังนี้
ห้องสัมมนาที่ 1 โบราณคดี
เวลา ชื่อ-สกุล ชื่อเรื่อง หน่วยงาน
09.00 น. - 10.00 น. รศ.สุรพล นาถะพินธุ การกระจายตัวของทองแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์
ที่ผลิตในย่านเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง
จังหวัดลพบุรี อดีตคณบดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
10.00 น. - 11.00 น. รศ.ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ วิถีชีวิตและสังคมยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย
ในภาคกลาง : ผลการวิจัย
ในพื้นที่สูงทางตะวันออกบริเวณเมืองโบราณซับจำปาและใกล้เคียง อาจารย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.00 น. - 12.00 น. นายศุภชัย นวการพิสุทธิ์ เมืองโบราณซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
จากหลักฐานโบราณคดีที่
ขุดค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2549 นักโบราณคดี
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. - 14.00 น. นพ.บัญชา พงษ์พานิช ลูกปัดลพบุรี ที่สุดพิเศษ
และรอคอยการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ สุธีรัตนามูลนิธิ นครศรีธรรมราช
14.00 น. - 15.00 น. นายเอนก สีหามาตย์ ร่องรอยเตาเผาโบราณจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีปรางค์นางผมหอม อำเภอ
ลำสนธิ จังหวัดลพบุรี นักโบราณคดี อดีตอธิบดี
กรมศิลปากร
15.00 น. - 16.00 น. ผศ.ชวลิต ขาวเขียว โบราณคดีเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ห้องสัมมนาที่ 2 ประวัติศาสตร์-ประวัติศาสตร์ศิลปะ
เวลา ชื่อ-สกุล ชื่อเรื่อง หน่วยงาน
09.00 น. - 10.00 น. รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี
เมกกะโปรเจค (Mega Projects) ของวิศวกรฝรั่งเศสที่ลพบุรี ในสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
10.00 น. - 11.00 น. อาจารย์เรียวตะ วากาโซเน นโยบายต่างประเทศสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีอิทธิพลต่อญี่ปุ่น
สมัยเอโดะ อาจารย์ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ลพบุรี
(นำเสนอเป็นภาษาไทย)
11.00 น. - 12.00 น. ผศ.ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ รมณียสถานแห่งราชันตะวันออกราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์เมืองลพบุรี
ในเอกสารอิหร่าน อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. - 14.00 น. นายธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ การคล้องช้างที่ลพบุรี
พ.ศ. 2481 นายกสมาคมจดหมายเหตุไทย, นายกสมาคมกิจวัฒนธรรม, อนุกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและเจ้าของสำนักพิมพ์ต้นฉบับ
14.00 น. - 15.00 น. ผศ.พิชญา สุ่มจินดา พระนารายณ์ทรงครุฑ
ยุดนาคที่ปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี อาจารย์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
15.00 น. - 16.00 น. ผศ.ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง ประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช
ในงานศิลปะร่วมสมัย อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ห้องสัมมนาที่ 3 ธรรมชาติวิทยาและวรรณกรรม
เวลา ชื่อ-สกุล ชื่อเรื่อง หน่วยงาน
09.00 น. - 10.00 น. อาจารย์ผ่องศรี ธาราภูมิ เกร็ดประวัติศาสตร์เรื่อง “ต้นไม้เด่นในโบราณสถานสำคัญกลางเมืองลพบุรี” อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี และเลขานุการชมรมผู้รักต้นไม้ จังหวัดลพบุรี
10.00 น. - 11.00 น. ผศ.น้อม งามนิสัย ซากชีวิตดึกดำบรรพ์ที่
สำนักสงฆ์ถ้ำเอราวัณ
ตำบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อดีตอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
11.00 น. - 12.00 น. ศาสตรเมธี ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น อนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ของจังหวัดลพบุรี ข้าราชการบำนาญ (ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. - 14.00 น. นายสมศักดิ์ ดวงรัศมี เรื่องน่ารู้ในเขตห้ามล่า
สัตว์ป่าเขาเอราวัณ
ตำบลช่องสาลิกา
อำเภอพัฒนานิคม
จังหวัดลพบุรี หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
เขาเอราวัณ
อำเภอพัฒนานิคม
จังหวัดลพบุรี
14.00 น. - 15.00 น. นายสมบัติ ทารัก กลวิธีสื่อธรรมโดยใช้กวีนิพนธ์ของพุทธทาสภิกขุ : กรณีศึกษา นิราศลพบุรี กลุ่มงานจดหมายเหตุ
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
15.00 น. - 16.00 น. รศ.ดร.เสาวณิต วิงวอน ลิลิตจันทกินนร : วรรณกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่พบใหม่ อดีตอาจารย์
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ห้องสัมมนาที่ 4 จารึกโบราณและเอกสารโบราณ
เวลา ชื่อ-สกุล ชื่อเรื่อง หน่วยงาน
09.00 น. - 10.00 น. นายฮันเตอร์ วัตสัน (Hunter I. Watson) ลพบุรีและจารึกภาษามอญโบราณ มหาบัณฑิตจากสาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (นำเสนอเป็นภาษาไทย)
10.00 น. - 11.00 น. นายมิกกี้ ฮาร์ท
(Mickey Heart) ขอมคือเขมรหรือ ?
นักวิชาการอิสระชาวพม่า (นำเสนอเป็นภาษาไทย)
11.00 น. - 12.00 น. รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ จากอักษรเขมรโบราณสู่
อักษรลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ที่ส่งอิทธิพลให้กัมพูชา ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาภาษา
และวรรณคดีต่างประเทศตะวันออก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา และอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. - 14.00 น. อาจารย์ ดร.อุเทน วงศ์สถิตย์ "ส สองห้อง” : อักขรวิธีพิเศษ จากลพบุรี สู่มอญ พม่า ล้านนา ล้านช้าง ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
14.00 น. - 15.00 น. นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ อักษรเลข-เลขอักษร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
อักษรศาสตร์ (นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ) กรมศิลปากร
ห้องสัมมนาที่ 5 พิพิธภัณฑ์และปกิณกะ
เวลา ชื่อ-สกุล ชื่อเรื่อง หน่วยงาน
09.00 น. - 10.00 น. นายเมืองไทย ภัทรถาวงศ์ มองจังหวัดลพบุรีผ่านเพลงและภาพยนตร์ นักวิชาการอิสระ
10.00 น. - 11.00 น. นางสาวนันทกา พลชัย เมืองลพบุรีจากภาพประวัติศาสตร์ฟิล์มกระจก ในสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ นักจดหมายเหตุ
ชำนาญการพิเศษ
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
11.00 น. - 12.00 น. นายประทีป อ่อนสลุง พิพิธภัณฑ์มีชีวิตไทยเบิ้ง
โคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี นักวิชาการอิสระและนักกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น
จังหวัดลพบุรี
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. - 14.00 น. นายเอนก นาวิกมูล จิตรกรรมลพบุรี นักวิชาการอิสระ และ
ผู้ก่อตั้งบ้านพิพิธภัณฑ์ กรุงเทพมหานคร
14.00 น. - 15.00 น. อาจารย์ปริญญา สัญญะเดช อยุธยาอาวุธในพุทธศตวรรษ
ที่ 23 อาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
15.00 น. - 16.00 น. นายณทัต ภู่แดง สงฆ์ดีเมืองลพบุรี กรรมการชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี
เวลา 18.00-18.30 น. พิธีเปิดนิทรรศการพิเศษเรื่องผลการขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองลพบุรีโดยกรมศิลปากรในรอบทศวรรษจัดโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์และสำนักศิลปากร 4 ลพบุรี
ณ ห้องนิทรรศการพิเศษ (ชั้นล่างพระที่นั่งพิมานมงกุฎ) ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์
เวลา 18.30-20.30 น. การบรรเลงดนตรีและชมการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรีพร้อมกับการรับประทานอาหารพื้นเมืองลพบุรี ณ บริเวณหน้าพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์
หมายเหตุ กำหนดการของแต่ละห้องบรรยายอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม