logo_new.jpg
ทัดดินต่างปิ่นเกล้า ... กูข้าขอพรรณราย
May I Praised The Great ...
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20200712_5)
นโม พุทฺธาย...ทศนัขคุณเทศ
ผกาแก้วเกด สพมารกษัตริย์
ทัดดินต่างปิ่นเกล้า เป็นทองมกุฎ
สุดใจดินใจฟ้า กูข้าขอพรรณราย
พระยศ พระเกียรติ พระคุณ ตราไว้ .......
(จารึกลานทองวัดส่องคบ)
การนอนริม #เจ้าพระยา ที่ #ชัยนาท วานนี้นั้น
สองวัดที่อยู่คนละฟากบริเวณ #ปากแม่น้ำน้อย ตอนไหลลงเจ้าพระยา
โดยวัดส่องคบนั้นสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นสถานพบ #จารึกลานทอง นี้
ที่ระบุหลายเรื่องราวสำคัญไว้
ทั้งเรื่องการทำบุญในยุคสมัยสำคัญของ ๒ นครรัฐ
และความไพเราะที่กล่าวถึงกษัตริย์ผู้ #ทัดดินต่างปิ่นเกล้าเป็นทองมกุฎ
ทางไทยพีบีเอส เมื่อเสด็จสวรรคต
การแวะไปเช้านี้ แม้แทบไม่เหลือรอยอะไร
นอกจากที่ท่านเจ้าอาวาสชี้บอกจุดขุดเจอตรงหลังโบสถ์
พร้อมกับบอกว่า นักขุดก็มาหาพระกัน ตอนนั้น ๒๔๗๐ (ต่างจากข้อมูลที่ได้มา)
ท่านเองตามหาได้มาไว้องค์หนึ่ง จึงได้เห็น
ท่านอาจารย์ศรีศักรบอกว่า ช่วงนั้นมีการขุดกรุกันยกใหญ่ทั้งประเทศ
โดยเฉพะแถบภาคกลางนี้ รับมือกันไม่ทันครับ
ท่านที่สนใจ อ่านที่
มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
รายงานนี้ไว้นะครับ
ส่วนสายคลองน้อยและอื่น ๆ ละแวกนั้นวันนี้ที่มีระบบชลประทานพร้อมนั้น
แล้งมากแทบทั้งนั้นครับ
๑๒ กค.๖๓ ๒๑๐๔ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม
จารึกที่ ๔๘ หรือจารึกลานทองวัดส่องคบ
จารึกภาษาไทย อักษรขอมอยุธยา
พบเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๔
ในพระเจดีย์วัดส่องคบ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
ซึ่งตั้งอยู่ปากน้ำบริเวณสบกันของแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา
จารึกลงเวลาไว้คือ พ.ศ. ๑๙๕๑ หรือสมัยอยุธยาตอนต้น
สมัยสมเด็จเจ้าพระยาราม
กล่าวถึงเจ้าเมืองนามว่า ขุนเพชญสาร
ได้ทำบุญด้วยการบริจาคข้าวของเงินทองและข้าทาสจำนวนมากแก่วัด
จารึกลานทองชิ้นนี้มีความสำคัญมาก
เพราะกล่าวถึงนครรัฐสองแห่งคู่กัน
คือ “ศรีอยุธยา” และ “ศรีสุพรรณภูมิ”
อันหมายถึงการเกิดบ้านเมืองเป็นรัฐเมืองคู่ในช่วงนั้น
และบ้านเมืองกำลังพัฒนาการเข้าสู่การรวมศูนย์
เป็นราชอาณาจักรในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ในเวลาอีก ๔๐ ปีต่อมา
เมืองคู่ในช่วงนั้น “รัฐสุพรรณภูมิ” หรือ “สุพรรณบุรี”
มีกษัตริย์ปกครองในพระนามว่า “บรมราชา”
และเมืองลูกหลวงคือ “แพรกศรีราชา”
มีเจ้านายปกครองในพระนครว่า “อินทราชา" หรือ “นครอินทร์”
ส่วนอยุธยามี “พระรามาธิบดี” ครองเมืองหลวง
และมี “พระราเมศวร” ครอง “เมืองละโว้” เป็นเมืองลูกหลวง
จารึกขึ้นต้นด้วยถ้อยคำที่ถูกนำมาพิจารณา
ในเรื่องทศพิธราชธรรมบางประการของพระมหากษัตริย์ที่ไพเราะมากคือ ...
นโม พุทฺธาย...ทศนัขคุณเทศ
ผกาแก้วเกด สพมารกษัตริย์
ทัดดินต่างปิ่นเกล้า เป็นทองมกุฎ
สุดใจดินใจฟ้า กูข้าขอพรรณราย
พระยศ พระเกียรติ พระคุณ ตราไว้ .......
ขอบคุณภาพจาก
Nitaya Kanokmongkol
และสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
 
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//