logo_new.jpg
#ตรีรัตนะ_กับการกลับมาอีกครั้งที่เมืองไทย
The #ThailandTriRatanaRevival
(bunchar.com รอยลูกปัด 20230516_2)
(๑)
ในงานการศึกษาค้นหา #หลักฐานสิ่งระลึกถึงพระพุทธศาสนา
ของชาวพุทธสมัยโบราณที่อินเดียเมื่อสองพันปีของ #ท่านอาจารย์พุทธทาส
ท่านพบว่าเมื่อยังไม่มีการสร้างรูปเหมือนบุคคลโดยเฉพาะพระพุทธเจ้านั้น
มีการสร้างทำหลายรูปสัญลักษณ์
แต่ที่สำคัญมากคือรูปที่ทุกวันนี้เรียกว่า #ตรีรัตนะ นี้
เพราะพบแกะสลักหินประดับอยู่ตามโบราณสถานมหาสถูปองค์สำคัญของอินเดียโบราณ
ทั้งที่ #สาญจี #ภารหุต และ #อมราวดี #นาคารชุนโกณฑะ ฯลฯ
โดยท่านได้ทำมาเรียบเรียงเป็นหนังสือสำคัญ
ว่าด้วย #ภาพหินสลักพุทธประวัติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยให้ความสำคัญมากกับรูปตรีรัตนะนี้
พร้อมกับยังสร้างทำจำลองเพื่อประดับรอบ #โรงมหารสพทางวิญญาณ
ที่ #สวนโมกขพลาราม ไว้ด้วย
นอกจากนี้ ยังให้วาด #รูปพันธกิจของชาวพุทธและสวนโมกข์ ใส่ไว้ในโรงหนัง
มีตรีรัตนะองค์หนึ่ง วางเด่นบนแท่นวัชรอาสน์ใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์
พร้อมมี #ธรรมจักรกำลังหมุนวน เพื่อขจัดเสียซึ่งสิ่งขวางกั้นการเข้าถึงพุทธธรรมทั้งปวง
(๒)
ได้รับมอบหินสลักจำนวนหนึ่งจากโรงปั้น
ที่ วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม มาติดตั้งที่ลานหินโค้งจำลอง
พร้อมกับมีคณะศิลปินสำคัญ มาอาสาวาดภาพพันธกิจของชาวพุทธให้ไว้
(๓)
ในการศึกษาตาม #รอยลูกปัด ของผมและคณะ มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗
ถึงทุกวันนี้ก็ ๑๙ ปีแล้ว
พบ #หลายหลักฐานการมีอยู่_การเคยใช้_รวมทั้งการสร้างทำตรีรัตนะ นี้ บนแผ่นดินนี้
โดยเฉพาะที่แถว ๆ #คอคอดกระ ตั้งแต่สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ระนอง ชุมพร
ล้ำเข้าไปในเขตจังหวัดมะลิวันของพม่าที่แต่ก่อนเคยเป็นของไทยเรา
ร่วมกับหลักฐานอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ชี้ชัดว่าเมื่อกว่าสองพันปีก่อนนั้น
บริเวณนี้เป็นพื้นที่ไม่ธรรมดา และน่าจะ #มีบุคคลผู้น้อมรับไตรสรณาคมณ์ กันไม่น้อย
ถึงขนาดว่ามีนักวิชาการใหญ่ในเยอรมัน นาม #Harry_Falk
นำไปเขียนบทความ #AshesOfBuddha ตีพิมพ์ สันนิษฐานว่า
" ... มีความเป็นไปได้ว่า เครื่องห้อยแขวนรูป #ตรีรัตนะที่บรรจุอยู่ในหีบศิลา
ประดิษฐานที่ #มหาสถูปแห่งกบิลพัสด์ุ ของ #ศากยบุตร นั้น
#อาจผลิตสร้างทำส่งไปจากแถบนี้ที่คอคอดกระ ... "
(๔)
จากการศึกษาค้นคว้าของผมผ่านการเดินทางไปสืบค้น
แทบทุกดินแดนพุทธโบราณในอินเดียหรือชมพูทวีป
ที่เคยเป็นมหาชนบทในสมัยพุทธกาลถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
จนมาถึงสมัยสุงคะและอมราวดี พบว่า
#รูปสัญญลักษณ์ตรีรัตนะนี้_มีความหมายสำคัญในหลายประการ
๑ - นอกจากสร้างทำ #ขนาดใหญ่ประดับไว้เหนือซุ้มประตูทิศแห่งมหาสถูปสาญจี แล้ว
บางหัวเสา และตามบริเวณต่าง ๆ ก็มีรูปตรีรัตนะลักษณะต่าง ๆ ประดับไว้มากมายไปหมด
๒ - มี #เสาหนึ่งที่สาญจี แกะสลักเป็นสายสร้อยประดับด้วยรูปสัญญลักษณ์แห่งมงคลทั้งหลาย
ร้อยวางให้ตรีรัตนะอยู่ ณ ตำแหน่งหัวสุด เสมือนเครื่องบูชาสักการะ
ตาม #รั้วกำแพงมหาสถูปแห่งภารหุต มีแกะสลักรูปช้างชูช่อมาลัยสายสร้อย
ที่ร้อยรูปตรีรัตนะกำลังน้อมถวายสักการะอยู่
๓ - ที่ #พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย ณ กรุงนิวเดลี
มีรูป #นางยักษีตนหนึ่ง สรวมสร้อยสายคอมีตรีรัตนะที่มีรูปหน้าคนบนหัวอยู่
ขณะที่ #บนยอดเสาหนึ่งของมหาสถูปแห่งสาญจี ก็เห็นมีอยู่เช่นกัน
ท่านว่ากันว่า นี้คือสัญญลักษณ์แสดงว่า
" ... #ข้านี้น้อมรับไตรสรณาคมณ์ ... "
หมายถึงคือสัญญลักษณ์การเป็นพุทธศาสนิกชนของผู้คนในสมัยนั้น
๔ - ที่ #รั้วมหาสถูปแห่งภารหุต ปรากฏรูปชนชั้นสูงมีอำนาจแกะสลักศิลายืนอยู่
ที่ฝักดาบใหญ่ของท่านผู้นั้น แกะสลักรูปตรีรัตนะขนาดใหญ่ประดับไว้
ผมตีความเอาเองว่านี้ น่าจะหมายถึงบุคคลผู้มีธรรมเพื่อพิทักษ์พระพุทธศาสนา ไหม ?
๕ - ตามภาพสลักพุทธประวัติประกอบแต่ละมหาสถูปทั้งหลาย
มีการแกะสลักเป็นรูปตรีรัตนะจัดวางไว้ ณ ตำแหน่งต่าง ๆ มากมาย
โดยเฉพาะ #บนแท่นวัชรอาสน์ใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์แห่งพุทธคยา
เสมือนแทนองค์พระพุทธเจ้าตลอดถึงอีก ๒ รัตนะอย่างชัดเจน
เช่นเดียวกันกับ #บนปลายเสา ในคราวพระพุทธองค์แสดงธรรมอันเป็นมหาปาฏิหาริย์ต่าง ๆ รวมทั้งต่อองคุลีมาลย์ ก็ด้วย
๖ - ที่น่าสนใจไม่น้อยคือพบว่ามีการ #แกะสลักสร้างทำไว้ตามปลายเสาธงธวัช
อาทิ ใน #ขบวนแห่ของพระนางสิริมหามายาครั้งไปมีประสูติกาล_ณ_ลุมพินีวัน
รวมทั้งใน #ขบวนแห่ของนานากษัตริย์เมื่อครั้งไปขอแบ่งปันพระบรมสารีริกธาตุ_ณ_กุสินารา
ลองส่องดูกันดี ๆ ครับ นี้คล้ายที่ทุกวันนี้ที่กษัตริย์ไทยใช่เป็นยอดครุฑ
แต่สมัยโน้น ท่านใช้ตรีรัตนะเป็นหัวเสา
ซึ่งควรจะหมายถึงการประกาศว่า #คณะนี้มีไตรสรณาคมณ์ ใช่ไหมครับ ?
(๕)
ท่าน #อาจารย์ศรีศักร_วัลลิโภดม
ครูใหญ่ทางมนุษยศาสตร์และโบราณคดีประวัติศาสตร์ของพวกเรา
ย้ำกับผมและพวกเราตลอดมาว่าควรที่จะสร้างทำให้กลับคืนมา
สู่สังคมไทยและแวดวงพระพุทธศาสนา
เนื่องด้วย #เป็นสิ่งสูงค่าและสำคัญยิ่งมาแต่สมัยโน้น
และ #พบหลักฐานสำคัญมากมายบนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยในทุกวันนี้
ด้วยเหตุนี้ ในวาระ ๑๒ ปีสวนโมกข์กรุงเทพ
พวกเราที่เมืองนคร จึงขอทำรูปตรีรัตนะนี้เพื่อมอบแก่ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ - สวนโมกข์กรุงเทพ
สำหรับมอบต่อแด่ท่านที่มีอุปการะคุณสนับสนุนส่งเสริมกิจการงานธรรมของสวนโมกข์เสมอมาและเสมอไปครับ
๑๖ พฤษภา ๖๖ ๐๗๔๐ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
 
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//