รอยลูกปัด
- Details
- Written by Super User
- Category: รอยลูกปัด
- Published: 02 November 2023
- Hits: 338
ก่อนจะเป็นศรีเทพ ผ่านรอยลูกปัด ...
BeforeSriThep BeyondBeads
(bunchar.com รอยลูกปัด 20231029_9)
ปลงใจว่าจะลองเรียบเรียงเรื่อง #ลูกปัดศรีเทพ ให้เมืองโบราณ
เนื่องในวาระที่เพิ่งได้มรดกโลก
และมีการกล่าวอ้างว่ามีความเป็นมาก่อนประวัติศาสตร์
ระบุถึงการพบลูกปัดด้วย
หลังจากทบทวนเตรียมความคิด ก็เริ่งขึ้นเรื่องตามนี้ครับ ...
ในคำอธิบายถึงคุณสมบัติของเมืองโบราณศรีเทพตามเอกสารที่องค์การยูนิเซฟเผยแพร่ตามข้อเสอนของรัฐบาลไทยถึงลักษณะสำคัญของแหล่งมรดกวัฒนธรรมเมืองโบราณศรีเทพ ในข้อ 2.a.1 ระบุว่า จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในแหล่งฝังศพที่มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่แหล่งโบราณคดีบ้านหนองแดง แหล่งโบราณคดีบ้านลำนารายณ์ และแหล่งโบราณคดีบ้านปึกหวาย (Peak Wai) แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในลุ่มน้ำป่าสักซึ่งเป็นลุ่มน้ำที่เมืองโบราณศรีเทพตั้งอยู่ โดยถิ่นฐานเหล่านี้ที่ต่อมาเกิดเป็นหมู่บ้านและชุมชนการเกษตรในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายและหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์ โดยศรีเทพค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเป็นสังคมเมืองที่มั่นคงและมีความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น ๆ ภายนอก จนประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๑๑ ที่ศาสนาและวัฒนธรรมใหม่จากอินเดียถูกนำเข้ามาและชาวศรีเทพรับและนำมาปรับให้เข้ากับความต้องการ มีการก่อสร้าง การขุดคูและสร้างคันดินเป็นผนังกำแพงเมือง กระทั่งพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ ที่พบรูปเคารพและอาคารศาสนสถาน เช่น รูปพระนารายณ์ พระพุทธรูป วัด แสดงถึงการเข้ามาของสองศาสนาคือฮินดูและพุทธ อันเป็นการเริ่มต้นของวัฒนธรรมทวารวดีที่ศรีเทพ ในขณะที่ในนิทรรศการพิเศษ เมืองโบราณศรีเทพ สู่มรดกโลก ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร มีการแสดงลำดับกาลของเมืองโบราณศรีเทพไว้ว่า “ ... สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย - สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๑) จากการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่เมืองในเมืองโบราณศรีเทพ พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยและพิธีกรรมการฝังศพในพื้นที่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ประมาณ ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญที่พบได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกสุนัขเต็มโครงฝังร่วมกับกระดูกมนุษย์ กระดูกไก่ ลูกปัดหินกึ่งมีค่าทำจากหินอะเกตและหินคาร์เนเลียน กำไลและแหวนสำริด เป็นต้น นอกจากหลักฐานโบราณวัตถุแล้ว สันนิษฐานว่าการขุดคูน้ำเป็นขอบเขตเมืองที่มีแผนผังเป็นรูปเกือบวงกลม (ปัจจุบันคือเมืองใน) น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้เช่นกัน อันแสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาในยุคสมัยนี้แล้ว ... “
ส่วนว่าจะอะไรและอย่างไรบ้าง ต้องตามอ่านในวารสารเมืองโบราณครับผม
โดยนอกจากภาพประกอบในเล่มลูกปัดลพบุรีที่ผมเคยเขียนไว้เมื่อปี ๒๕๕๙ แล้ว
ยังจะมีของคุณ Thawatchai Ramanatta ที่นำร่องลูกปัดลุ่มน้ำป่าสักมากก่อนด้วยครับผม
อดใจไว้ครับ ยังไม่เสร็จเรียบร้อยส่งต้นฉบับเลยครับผม
๒๙ ตุลา ๖๖ ๒๑๓๕ น.
บ้านบวรรัตน์ท่าวังเมืองนคร