logo_new.jpg

นี้ตรีรัตนะที่มอบไว้กับ พช.เมืองนคร

TheTriratanaAtTheMuseum

(bunchar.com รอยลูกปัด 20240429_1)

เมื่อกว่า ๑๐ ปีก่อน ตอนที่ท่าน อ ฉัตรชัย

ขอให้จัดประชุม #สัมมนาประวัติศาสตร์

เรื่อง #ปฐมบทพระพุทธศาสนาในคาบสมุทรไทย

แล้วท่าน อ ภูธร เสนอให้จัดนิทรรศการพิเศษ

ที่ พช.นคร โดยมี ผอ Anong Noopan เป็นหลัก

ในการนี้ท่าน ผอ อนงค์ แจ้งกับผมว่า

" ... ถ้าจะมอบอะไรไว้กับ พช.นครบ้าง ก็จะขอบคุณยิ่ง

โดยหากมอบไว้ก็จะจัดแสดงอย่างถาวร ... "

หารือกันแล้ว แม้ขณะนั้นการศึกษาค้นคว้ายังไม่ได้ทำมาก

และที่รวบรวมไว้ก็เพื่อการศึกษาเป็นหลัก

ได้พิจารณาเห็นว่า #ตรีรัตนะ สององค์นี้คู่ควร

หนึ่งเป็นทองคำ อีกหนึ่งเป็นคาร์นีเลียนสวย

จึงได้ส่งมอบในนาม #สุธีรัตนามูลนิธิ

ที่น้าพา ยุพา บวรรัตนารักษ์ เป็นประธาน

โดยมีท่าน อ ฉัตรชัย กับท่านผู้ว่า วิชม ไปร่วมกันมอบ

แล้วทาง พช.นคร ก็ใส่ตู้จัดแสดงไว้

จน ผอ อนงค์ เกษียณ ก็เลิกจัดแสดง

ได้ความว่าท่านเห็นว่าควรเอาไปเก็บไว้ในคลังแต่นั้นมา

เพิ่งเห็นนี้ที่ท่านนำออกมาเผยแพร่เร็ว ๆ นี้ครับ ...

อันที่จริงแล้วที่เก็บรวบรวมไว้ทั้งหมดนี้

ก็เพื่อเป็นหลักฐานของแผ่นดินทั้งนั้น

เคยคิดตลอดมาว่าจะส่งมอบให้หน่วยไหนจึงจะดี

แต่เท่าที่เรียนรู้และหารือตลอดมา ๒๐ ปี

ส่วนมากท่าน ๆ เสนอว่าให้เก็บไว้เองอย่างนี้ก่อน

เพื่อเอื้อต่อการศึกษาค้นคว้าของผู้คน

และท่านว่าผมกับคณะก็ทำกันเองได้ไม่น้อย

หรือไม่ก็ทำเป็นพิพิธภัณฑ์เสียเองเลยหากทำได้

โดยตอนนี้ก็กำลังเตรียมอยู่ครับ

ส่วนอนาคตนั้นไม่ใช่หน้าที่ผมแล้วมังครับ ...

อ้ออีกอย่าง ในคราวจัดนิทรรศการครั้งนั้น

มีคนมาแจ้งผมเรื่องการพบ #ศิวลึงค์ทองที่สิชล

จึงได้แจ้งต่อวงเตรียมการที่นั่น

แต่ได้รับการท้วงทักว่าไม่น่าเชื่อ

แต่ผมก็ฝากให้ลองติดตามกันดู ...

๒๙ เมษา ๖๗ ๐๕๒๘ น

ดอนเมือง

นี้ที่ พช.นคร แสดงครับผม

http://www.bunchar.com/a1fb85ab-d90e-4633-ae78-d44121349cc2" alt="1f4ff.png">

ตรีรัตนะ

ตรีรัตนะ หรือ ไตรรัตนะ คือ สัญลักษณ์มงคลของชาวอินเดียโบราณ ลักษณะเป็นวงกลมด้านล่าง ด้านบนเป็นสามแฉก ตามคติทางศาสนาพุทธ หมายถึง แก้ว ๓ ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตามคติทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หมายถึง รอยเท้าของโคนนทิซึ่งเป็นพาหนะของพระศิวะ สันนิษฐานว่าเป็นสัญลักษณ์มงคลที่ทำขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนคติความเชื่อของชาวอินเดียโบราณ มีขนาดเล็ก สามารถนำติดตัวไปในการเดินทางได้

สัญลักษณ์มงคลเป็นสิ่งแทนคติความเชื่อของคนในชุมชน โดยใช้รูปลักษณ์เพื่อสื่อความหมาย มักแสดงออกในรูปแบบของงานศิลปกรรม  สำหรับสัญลักษณ์มงคลรูปตรีรัตนะนี้ ปรากฏในงานประติมากรรม เช่น เสาโทรณะที่สถูปสาญจี ประเทศอินเดีย จี้และเหรียญขนาดเล็กพบที่เมืองโภการ์ดาน นาคารชุนโกณฑะ และตักษิลา ประเทศอินเดีย รวมถึงแหล่งโบราณคดีในยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จ.ชุมพร แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จ.ระนอง

แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อ.เมือง จ.ชุมพร เป็นชุมชนเมืองท่าโบราณในภาคใต้ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕-๑๐ เป็นแหล่งที่พบร่องรอยการอยู่อาศัยและการรับอิทธิพลอารยธรรมของมนุษย์จากชุมชนภายนอก เนื่องจากพบโบราณวัตถุจากต่างถิ่นจำนวนมาก เช่น ตราประทับและจี้ลูกปัด อักขระอักษรพรามี ภาษาสันสฤต กลองมโหระทึก หุ่นจำลองรูปสัตว์ทำด้วยสำริด ฯลฯ  จี้กลุ่มที่พบจากแหล่งโบราณคดีนี้ ถูกพบร่วมกับลูกปัดมงคล อักขระ และตราประทับต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ทำจากหิน บางส่วนทำจากแก้ว และ ทองคำ มีทั้งรูปสัตว์ เช่น สิงโต นก กบ เต่า รูปบุคคล รวมถึงรูปทรงแปลกใหม่มากมาย การพบหลักฐานเหล่านี้อาจเนื่องมาจากทำเลที่ตั้งของชุมชนโบราณเขาสามแก้วนั้นมีเส้นทางสัญจรทางน้ำ ผ่านชุมชนไปออกสู่ทะเลอ่าวไทย จึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมที่สามารถเดินทางติดต่อกับดินแดนอื่นได้ 

อ้างอิง

http://www.bunchar.com/0f4560fe-711d-44cf-87f0-823e0108a447" alt="1f4d6.png">

ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “เขาสามแก้ว : ชุมชนโบราณ,” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม๑. กรุงเทพ: สถาบันทักษิณคดีศึกษา, ๒๕๒๙. 

ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “ลูกปัดต่างชาติในแหล่งโบราณคดีประเทศไทย,” ศิลปากร, ปีที่ ๓๓, ฉบับที่ ๑.

(มีนาคม-เมษายน ๒๕๓๓) ๕-๑๙.

บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ และเรไร นัยวัฒน์. ทุ่งตึกเมืองท่าการค้าโบราณ. สงขลา : จังหวัดพังงาและกรมศิลปากร, ๒๕๕๐.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร (เพิ่มเติมข้อมูลโดยณัฐกานต์พิภูษณกาญจน์). จี้ตรีรัตนะเครื่องประดับสัญลักษณ์มงคลของชาวอินเดีย. สืบค้นเมื่อวันที่๒๘มีนาคม๒๕๖๗ผ่าน https://www.gotoknow.org/posts/553571.

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//