รอยลูกปัด
- Details
- Written by Super User
- Category: รอยลูกปัด
- Published: 16 June 2020
- Hits: 2468
#ลูกปัดกับผู้คนย่านนี้ ที่ไม่ไกลเกินไปนัก
SEAPeopleAndBeads, NotTooLongAgo
(bunchar.com รอยลูกปัด 20200611_1)
จาก ๕ ประเด็นสนทนา ว่าด้วย #ลูกปัดโนรา
ที่กำลังจะเป็นอีก #มรดกทางวัฒนธรรมที่โลกรับรอง ในฐานะ #ICH นั้น
หลัก ๆ ที่ผมสนใจจะลองขยายความ ๕ ประเด็น นั้น
๒) #โนรากับลูกปัด : ความเป็นมา ความหมาย ความคลี่คลาย
๓) #รอยลูกปัดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับ วิถีชีวิตผู้คน
๔) #ลูกปัดกับผู้คนย่านนี้ ที่ไม่ไกลเกินไปนัก
๕) อะไรอีกที่เราไม่รู้ เรื่องลูกปัด และ โนรา
ถึงขั้นนี้ น่าจะไขข้อ ๑ และ ๒ ตามสมควร
โดยเมื่อวานนี้ ต่อประเด็น #โนราปักษ์ใต้กับการกลับมาของลูกปัด
มี ๓ ทัศนะที่กรุณาแลกเปลี่ยนมา ...
Walailak Songsiri
เราว่าเครื่องประดับพอพ้นสมัยหรือต่างวัฒนธรรมก็กลายเป็นของอุทิศให้กับผู้วายชนม์และเคลื่อนออกไปสู่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์แบบชนเผ่าใช้ประดับร่างกายสืบมา
ส่วนที่ติดอยู่ก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เป็นแฟชั่นคือมาแล้วไปตามค่านิยม เป็นผู้ผลิตก็อาจไม่ใช่ผู้ใช้แต่อาจไปนิยมวัตถุอื่น เช่น เงิน ทอง นากฯลฯ
แต่ที่จะติดอยู่นานคือในพิธีกรรมที่แทบจะไม่เปลี่ยนมากนัก นอกจากใช้ร่วมกับการเป็นมหรสพ
ส่วนลูกปัดโนราถ้าเทียบการแพร่กระจายการเอาโนราไปทำเป็นละครชาตรีและละครนอกแล้วกระจายไปตามเมืองเพชร เมืองจันทน์ฯลฯ หรือแต่ที่สนามควาย ดูจะไม่มีอะไรที่เป็นลูกปัดประดับ ในครั้งแต่ ร.3 อาจจะเพราะทางนี้นิยมปักดิ้นแบบเทียบกับละครหลวง
ข้อสังเกต... โนราที่ใช้ลูกปัดเป็นแบบลูกปัดแก้วมีสีสันขนาดเล็กๆร้อยจนเป็นแถบเป็นผืนใหญ่ๆได้ ช่วงเวลานั้นของพวกนี้มากับกลุ่มไหน อาจจะเข้ามาไม่นานจนถึงต้นกรุงเทพฯไหม?
เจตส์ ตรังเค
Walailak Songsiri
สงสัยอยู่นานแล้ว ว่าลูกปัดโบราณเป็นเครื่องแต่งตัวของโนราโบราณ ? ซึ่งจินตนาการตามตรรกะ ความน่าจะเป็น ทำนองว่า ลูกปัดถูกพบมากภาคใต้ และโนราก็ใช้ลูกปัดมากมายเป็นเครื่องประดับ..
แต่พอหาหลักฐาน กลับไม่พบอะไรที่สอดรับตรรกะที่ว่าเลย
ภาพถ่ายเก่าๆ สมัย ร.๕ เครื่องประดับตัวโนรา ก็ไม่เน้นลูกปัด
ถอยกลับไปดูบท"ครูสอน" มีแต่
- ครูสอนทรงกำมลัย
- ครูสอนครอบเทริด
- ครูสอนร้อยมาลัย
บทร้องประกอบท่ารำท่า สอนรำ
บทร้องประกอบท่าประถม ..
บทคำพลัดโบราณ ๑๒ บท ก็ไม่มีออกชื่อลูกปัดหรือชวนให้ตีความไปถึงลูกปัดเลย..
ท่า "ตีนถีบพนัก มือชัก เส้น(แสง,แซ่)ทอง" ก็ไม่น่าใช่ท่าร้อยลูกปัด
มันน่าจะมี ท่า
"ครูสอนให้ร้อยลูกปัด ตวัดขึ้นเป็นสังวาลย์ " หรือท่าอะไรทำนองนี้บ้าง
ซิน่า ?!
(ฝากผ่านมายังนายโรง โนราราชครูโนราทั้งหลาย ตลอดถึงนายหมฺรูน - หมอกบโรง แม่ยก ตาเสือ ครูหมอเฒ่าทั้งหลาย ช่วยทำประเด็นนี้ให้แจ้งด้วยครับ..)
Prakorn Wilai
Walailak Songsiri
การเห่อเหิมของนอก สมัยนิยมหรือแฟชั่น น่าจะเป๊ะนะครับ ชนเผ่าล้าหลังที่ลึกเข้าไปในแผ่นดินถึงป่าเขาจะรับช่วงต่อ ซึ่งพบเห็นได้ในปัจจุบันทั้งเสื้อผ้าและเครื่องประดับ และสิ่งที่ช่วยให้สูญหายช้าคือการใช้ในพิธีกรรม แต่ผู้คนก็อาจมีการย้ายถิ่นจากปัจจัยต่างๆ กลุ่มคนที่มาอยู่ใหม่จึงไม่รู้เรื่อง ไม่เชื่อมโยง จึงไม่เห็นคุณค่า และหนักไปกว่านั้นคือความเชื่อเรื่องอาถรรพ์ต่างๆ ที่ชาวบ้านไม่กล้านำเข้าบ้านจึงปล่อยให้ทิ้งร้าง กระทั่งมีคนต่างถิ่นอยากได้หรือให้ราคา คนในถิ่นจึงเริ่มหาเพื่อขาย สิ่งไหนขายไม่ได้ก็ทิ้งไป จึงทำให้หลักฐานเลือนหายหรือคลาดเคลื่อนได้ครับ
สำหรับผมนั้น จากงาน #รอยลูกปัด
จนกระทั่ง #สุวรรณภูมิ ที่ตามรอยทำมา ๑๕ ปีนี้แล้ว
ชาวเราทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักเก็บหาสร้างทำลูกปัดใช้กันมาแล้วหลายพันปี
ไล่มาตั้งแต่สมัยหินดึกดำบรรพ์ จนกระทั่งหินใหม่ โลหะ
ที่สำคัญ เกิดการเสาะแสวงหาและส่งต่อแลกเปลี่ยนกันเป็นทอด ๆ มาหลายพันปีด้วยแล้ว
ดังที่พบ #หอยเบี้ยจั่นจากทะเลใต้ ไม่แถบฟิลิปปินส์ ก็มัลดิฟ
ลึกเลยไปไกลถึงแหล่งโบราณคดีทั้งในแผ่นดินใหญ่จีน
จนถึงยูเรเซียโน่นเมื่อหลายพันปีก่อนแล้ว
คือเมื่อราว ๆ ๒๕๐๐ ปีที่แล้ว
ขณะที่อารยธรรมโลกแถบอื่นเขาไปไกลกว่า
อินเดียก็พุทธกาลถึงมัยพระเจ้าอโศก
จีนก็หลังรบใหญ่ก็รวมชาติได้โดยจิ๋นซีต่อด้วยราชวงศ์ฮั่น
ไกลกว่านั้นก็เพิ่งหลังอเล็กซานเดอร์พิชิตโลก เปอร์เซียล่ม เริ่มโรมัน ฯลฯ
ที่การเดินทาง ค้าขายแลกเปลี่ยน รวมทั้งประดิษฐกรรมเกิดก้าวกระโดด
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะ "สุวรรณภูมิ"
ก็เป็นสนามการค้า ตลอดจนการผลิต เส้นทางผ่านสำคัญ
พบร่องรอยหลักฐานการมี การทำ การใช้ ลูกปัดมากมาย
ในแทบทุกบริเวณที่ทุกวันนี้แบ่งเป็นนานาประเทศในอาเซียน
แม้ผ่านกาล ผ่านเวลามากว่า ๒๐๐๐ ปี
ถามว่าไม่ยาวนานเกินไปนัก ร่วม ๆ กับโนราปักษ์ใต้
ยังมีการใช้ลูกปัดกันอย่างไรและที่ไหนบ้างไหม ?
แต่นี้ยาวเกินไปเสียแล้ว ค่อยต่อก็แล้วกันครับผม
๑๑ มิย.๖๓ ๐๕๕๐ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.