รอยลูกปัด
- Details
- Written by Super User
- Category: รอยลูกปัด
- Published: 30 March 2016
- Hits: 2845
(ผมเขียนข้อเสนอนี้ที่เกือบปลายตะวันตกของเส้นทางสายไหมบกที่ Turkmenistan ก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศส กะว่าจะนำมาเปิดประเด็นที่เมืองไทยก่อนงานลูกปัดสุวรรณภูมิปลายเดือนนี้ที่ กฟผ.เมื่อเกิดเหตุขึ้น จึงนึกถึงหนังสือนี้และขอนำมาร่วมระลึกถึงฝรั่งเศสผ่านกรณีศึกษาของชาวเขาที่ทำไว้เป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ จากหนังสือชื่อ Les Verres Antiques Du Musee Du Louvre หนา ๕๐๐ หน้า น้ำหนักกว่ากิโล ที่แบกกลับมาเมืองไทยเมื่อ ๓ ปีก่อนตอนไปวนเวียนตามรอยอยู่ที่นั่น เฉพาะบทที่ว่าด้วย Pendentifs et Perles a Decor Figure หรือ เครื่องประดับ จี้ห้อยและลูกปัด - ฝรั่งเศสเขาเรียกลูกปัดว่าไข่มุกแบบเดียวกับเมองจีนนะครับ ไม่มีคำเฉพาะว่าลูกปัดครับ - อยากชวนดูวิธีการทำฐานข้อมูลลูกปัดแต่ละเม็ดแต่ละเส้นของเขาว่าทำกันขนาดไหน หนังสือเล่มนี้ทั้งเล่นเขาถือเป็นทะเบียนแห่งพิพิธภัณฑ์ลูฟร์อันลือชื่อระดับโลกนะครับ เรียกว่า Louvre edition Somogy Editions d'art ทั้งเล่มเป็นภาษาฝรั่งเศสครับ ใครเอาด้วยบอกได้ล่วงหน้านะครับ วันงานจะเอาหนังสือเล่มนี้กับอีกบางเล่มไปให้ได้ดูเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาด้วยครับ)
วันที่ ๒๙ พย.นี้ มีการชุมนุมคนรักลูกปัดครั้งพิเศษ หลังจากมีการจัดขึ้นเป็นระยะ ๆ โดยผมถูกตามไปร่วมแล้ว ๔ ครั้ง ครั้งแรก ๕ ปีก่อนเห็นจะได้ เมื่อหลังออกหนังสือรอยลูกปัด จัดที่โคกสำโรง ลพบุรี แล้วจัดอีกครั้ง ๕ ปีต่อมา เมื่อปีที่แล้ว ก่อนนั้นมีจัดเล็ก ๆ ครั้งหนึ่งที่ร้านอาหารเพลิน วิภาวดี แต่ที่พิเศษคือก่อนหน้านี้ จัดที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บางกรวย ก่อนออกหนังสืออู่ทอง แม่กลอง-ท่าจีน โดยทั้ง ๔ ครั้ง ผมถูกขอให้ช่วยพูดอะไรก็ได้ที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ โดยทุกครั้ง ผมก็เน้นการนำเสนอเชิงชักชวนให้มาร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลลูกปัดประเทศไทยพื้นที่ต่าง ๆ จากที่ผมได้ทำเท่าที่ทำได้ในภาคใต้และภาคตะวันตก ซึ่งก็ยังไม่ครบถ้วนที่สุด แถมที่ภาคกลาง อีสาน เหนือ ตะวันออกก็มีอีกมากมาย ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่มีใครเอาด้วยเสียที ในหนังสือ "รอยลูกปัด"
ผมวิเคราะห์ถึงคนไทยที่สนใจลูกปัดไว้ในบทส่งท้ายที่สงสัยใครไม่ค่อยอ่านจากการเปรียบเทียบวงการลูกปัดทั่วโลกไว้ว่า "จะปล่อยไปให้ไร้ร่องรอย หรือจะก้าวไปให้ไกลเกินลูกปัด" ตามชื่อหนังสือ คือ Beyond Beads มี ๕ แบบ
๑) รักและชอบในความสวยงาม ความแปลก ตลอดจนเรื่องราว ปริศนา รวมทั้งมูลค่าราคาและโอกาสทำกำไร
๒) สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของลูกปัดและชาติมนุษย์
๓) มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีวิธีการผลิตลูกปัดประเภทต่าง ๆ ที่มีมาแต่ครั้งโบราณ พร้อมเสนอการทดลองและแนะนำถึงวิธีการผลิตซ้ำทำใหม่
๔) นำรูปแบบและเทคโนโลยีเหล่านั้นมายกระดับเป็นงานศิลปะออกแบบสร้างสรรค์และประยุกต์ขยายเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรม
๕) เห็นลูกปัดเป็นเช่นนั้นเอง หรือเอามาเป็นเครื่อสมมุติทางธรรม ตลอดจนเป็นกรณีศึกษาเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งพบว่า ๕ - ๖ ปีที่ผ่านมา สังคมไทยยังดูเหมือนจะย่ำอยู่กับลักษณะที่ ๑ แถมอาจจะเกิดการขุดหาและการค้าขายกันขนานใหญ่ ร้ายกว่านั้นมีการจำลองและหลอกลวงกันมากมาย ยิ่งระบบการสื่อสารสมัยใหม่ที่ฉับไวไกลทั่วโลกด้วยแล้ว ยิ่งทำท่าว่าจะไปกันไกล ในบทสรุปเสนอเรื่องลูกปัดอู่ทอง (แม่กลอง-ท่าจีน) ที่รอการฟื้นคืน" ในข้อสุดท้ายอันดับที่ ๑๐ ซึ่งหลายท่านอาจอ่านแบบไม่จับความ ผมเสนอหนักแน่นไว้ ๒ นัยยะ คือ ในเรื่องอดีต มี ๓ ข้อ ๑) เป็นไปได้ไหมที่จะมีกรศึกษานานาหลักฐานลูกปัดอย่างเป็นระบบครบถ้วน ๒) เป็นไปได้ไหมที่จะจัดให้เกิดการขุดค้นทางโบราณคดีอย่างจริงจังและครบถ้วนในแต่ละพื้นที่สำคัญที่สมควร และ ๓) หากเป็นไปได้ ควรมีการประมวลรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวข้องนานาของลูกปัด ในเรื่องอนาคต
ผมเสนอเป็น ๓ ประเด็น มี
๑) การปกปักพิทักษ์รักษาพื้นที่โบราณสถานตลอดจนนานาโบราณวัตถุพยาน ทั้งที่ราชการเก็บรักษารวบรวมไว้และในความครอบครองของเอกชนคนรักลูกปัด
๒) การพัฒนาสร้างสรรค์ ทั้งพื้นที่โบราณสถานต่าง ๆ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและแหล่งเรียนรู้สำคัญต่าง ๆ ตลอดจน ลูกปัด ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาขยายผล และ
๓) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าวิจัย ประมวลรวบรวมจัดการความรู้ ตลอดจนการจัดการพัฒนาระบบและศูนย์เรียนรู้ วันที่ ๒๙ พย.นี้ที่เพื่อนพี่น้องคนรักลูกปัดนัดชุมนุมกันอีกครั้ง แล้วขอให้ผมไปชวนคุยอะไรก็ได้ ขอแนวเกี่ยวกับลูกปัดสุวรรณภูมิ ซึ่งผมก็ตกปากรับคำ โดยตั้งใจให้การชุมนุมครั้งนี้เป็นการเริ่มลงมือพัฒนาและลงมือทำตามข้อที่เคยเสนอไว้ด้วยเห็นว่าได้เวลาแล้ว ช้ากว่านี้น่าจะสายเกินการ เพราะ หนึ่ง วงการคนรักลูกปัดน่าจะประสานสัมพันธ์กันจนมีทั้งมิตรภาพและคุณภาพในระดับที่เห็นคุณค่าน่าจะเกิดการร่วมมือเพื่อการพัฒนาไปข้างหน้า สอง ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่จากผู้สนใจนอกประเทศที่ทำท่าว่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นจนเสียโอกาสและจังหวะ ผมเสนอว่าสำหรับท่านที่มี "ลูกปัดสำคัญ" ทั้งหลายที่จะนำมาจัดแสดงนั้น ขอความร่วมมือในการทำฐานข้อมูลสักท่านละ ๕ ชิ้นคัดสรรโดยประมาณ หากทำได้ ๑๐ ท่าน เราก็จะได้ฐานข้อมูลสำคัญถึง ๕๐ ข้อมูล เท่านี้ก็น่าพึงพอใจสำหรับการเริ่มต้น ส่วนแบบไหนที่ถือเป็น "ลูกปัดสุวรรณภูมิ" นั้น ผมขอเอากรอบความคิดต่อลูกปัดอู่ทองมาเป็นแนว คือ ที่พบในสุวรรณภูมิ ยุคสุวรรณภูมิ และ แบบสุวรรณภูมิ โดยขอตั้งกรอบความเป็น "สุวรรณภูมิ" ตามที่นิยมกันในวงวิชาการว่าอยู่ในสมัยตั้งแต่ร่วมพุทธกาลถึงประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ที่ผ่านยุคฟูนันเข้าสู่ยุคสมัยทวารวดีอย่างตั้งมั่นแล้ว ส่วนสุวรรณภูมิอยู่ที่ไหนนั้น ในขณะนี้มีหลายข้อสันนิษฐานที่น่าจะยังหาข้อสรุปยุติอย่างเห็นพ้องกันได้ยาก ตั้งแต่ "แท้จริงแล้วไม่มีสุวรรณภูมิที่ว่ามีทองคำ เพราะคำนี้เป็นเพียงคำเปรียบเปรยถึงถิ่นที่ผู้คนนิยมไปแสวงโชคดังเช่นที่คนไทยเคยนิยมไปขุดทองที่ตะวันออกกลางเมื่อไม่นานมานี้" กระทั่งข้อสรุปแบบจำเพาะเจาะจง ว่าอยู่ที่นี่ที่นั่นชัดเจน เช่น แถบตอนใต้ของพม่าที่สะเทิม ภาคตะวันตกของพระเทศไทยที่ลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน บริเวณคอคอดกระและคาบสมุทรพม่า-ไทย-มาเลย์ แถบช่องแคบมะละกา-และเกาะสุมาตรา จนในที่สุดก็สรุปว่าอาณาบริเวณเอเซียอาคเนย์นี้นี่แหละน่าจะหมายความถึง "แดนทอง-สุวรรณภูมิ" ที่ว่า ทั้งนี้ ผมจะลองทำนำร่องสัก ๑๐ ชิ้นที่จะลองนำไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้รอบนี้ตามที่ถูกเรียกหา ทั้งนี้หากท่านทั้งหลายสนใจร่วมด้วยช่วยกันก็ขอเชิญชวนนะครับ ทำส่งเข้ามาเก็บไว้เป็นระบบฐานข้อมูลกลาง หากเปลี่ยนมือไปไหนก็ไม่เป็นไร ขอเก็บแต่ภาพและข้อมูลไว้ก็พอแล้วครับ ทั้งนี้ในวันงาน ผมจะพยายามชวนท่านทั้งหลายช่วยกันทำ และจะพาตากล้องไปร่วมด้วยสักคนสองคนครับ ลองดูกันอีกครั้งนะครับ
บัญชา พงษ์พานิช
๑๐ พย.๕๘
Asghabat Turkmenistan ฐานข้อมูล "ลูกปัดสุวรรณภูมิ"
ลำดับที่ ........ /......... /......... ๑) ชื่อลูกปัด ............................................................................................................................................................
๒) สถานที่พบ ............................................................................................................................................................
๓) พบเมื่อ ............................................................................................................................................................
๔) ขนาด กว้าง ............ ซม. ยาว ........... ซม. หนา/เส้นผ่าศูนย์กลาง ............. ซม. อื่น ๆ ................................................................................................. ซม. ๕) น้ำหนัก ..................... กรัม
๖) วัสดุที่ทำ ............................................................................................................................................................
๗) รูปทรง ............................................................................................................................................................
๘) ลวดลายและเทคนิคการทำ ................................................................................................................................
๙) การได้มา ............................................................................................................................................................
๑๐) เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................
หมายเหตุ รหัสลำดับ ...(สถานที่พบ)... / ...(เลขลำดับที่ทำฐานข้อมูลครั้งนี้)... / ...(ระหัสชื่อผู้ให้ข้อมูล)...