logo_new.jpg
ลูกปัดบ้านเชียง บอกอะไรบ้างไหม ? ใครรู้ ?
WhatDoBanChiangBeadsTellUs ?
(bunchar.com รอยลูกปัด 20210202_5)
เมื่อวันก่อน พี่
นิวัติ กองเพียร
สั่งมาว่า
ให้เขียนเล่าเรื่องลูกปัดวัดละเม็ด ปีนึงได้ ๓๖๕ บทความ
พิมพ์เป็นหนังสือเจ๊งได้หลายเล่ม
ผมก็หลงรับปาก วานนี้ยังไม่ได้เขียน วันนี้ก็ต้องรีบทำนี้ให้พี่แอน
Sudara Suchaxaya
จะเอาไปลงเมืองโบราณฉบับที่กำลังจะออกในไม่ช้านาน ว่าด้วยสกลนคร
ในชุดบทความสุวรรณภูมิ ที่เริ่มมาแล้วหลายฉบับ
ผมก็เลยจัดเรื่องลูกปัดบ้านเชียงให้ซะตามเค้าโครงนี้
วันนี้ทบทวนมาได้ไม่น้อย คืนนี้อีกนิด
พรุ่งนี้นัด
Pairot Singbun
มาช่วยอีกหน่อย
แล้วค่อยลงไปจบที่เมืองนคร ก่อนจะกลับไปนครยากขึ้นกว่านี้
แค่น้ำจิ้มล่อ ผมก็ทำได้แค่นี้
ขอกลับไปเขี่ยไค้ ขยายความที่น่าจะปรับอีกไม่น้อย
คอยอ่านเต็ม ๆ ในวารสารเมืองโบราณเล่มหน้านะครับ
เล่มนี้ว่าด้วยลำปาง หามาอ่านกันหรือยังครับ
ผมแคะลูกปัดโบราณภาคเหนือซะ เลย ๒๐๐๐ ปีครับ
เอาเท่านี้ก่อนนะครับพี่
Niwat Kongpien
นี้ก็เป็นร้อยเม็ดแล้วแหละพี่ อีก ๑๐๐ วันค่อยว่าอีกล็อตนะครับ
๒ มค.๖๔ ๒๐๕๐ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.
จากพื้นถิ่น / ในหลุม / วงการ / พิพิธภัณฑ์ / งานโบราณคดี
โดยทั่วไปแล้ว หากถามถึงลูกปัดโบราณที่พบบนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยทุกวันนี้ คนไทยส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงลูกปัดอู่ทองที่มักโยงกับยุคสมัยทวารวดี หรือไม่ก็ลูกปัดคลองท่อมที่ภาคใต้รวมทั้งที่ไชยาซึ่งส่วนมากก็มักโยงเข้ากับสมัยศรีวิชัย ทั้ง ๆ ที่ที่พบที่คลองท่อมหรือที่แหล่งอื่น ๆ แถบคอคอดกระในภาคใต้นั้นเก่าย้อนไปได้ไกลกว่านับพันปีจนเลยทวารวดีไปจนถึงสมัยสุวรรณภูมิด้วยแล้ว โดยในภาคกลางซึ่งไม่ไกลจากอู่ทองในลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน เพียงไล่ขึ้นไปข้ามลุ่มน้ำเจ้าพระยาสู่ลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก ซึ่งเป็นบริเวณภาคกลางตอนบนในแถบจังหวัดลพบุรี จนเลยขึ้นไปถึงพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างแถบต้นแม่น้ำป่าสักที่ทุกวันนี้คือจังหวัดนครสวรรค์และเพชรบูรณ์ ก็มีการพบลูกปัดที่มีลักษณะเฉพาะอย่างโดดเด่นและเป็นจำนวนมาก โดยทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการกล่าวถึงและขยายวงความสนใจในแวดวงคนสนใจอย่างกว้างขวาง ขณะที่ยังมีงานการศึกษาค้นคว้ารายงานอย่างเป็นทางการเชิงโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ไม่มากนัก
ในงานว่าด้วยเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำด้วยแก้ว ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (๒๕๔๙ : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร) ณัฏฐภัทร จันทวิช กล่าวถึงลูกปัดแก้วและลูกปัดที่พบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะ ที่บ้านเชียง อุดรธานี บ้านดอนตาเพชร กาญจนบุรี แล้วเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ตั้งแต่ฟูนัน ที่อู่ทอง จันเสน ศรีเทพ ก่อนเข้าสู่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ตามพรลิงค์ พร้อมกับการนำเสนอถึงลูกปัดในแหล่งต่าง ๆ ทั้งที่ทำจากเปลือกหอย หิน แก้ว จากทุกภาคทั่วทั้งประเทศ โดยก่อนหน้านั้น ในงานว่าด้วยถนิมพิมพาภรณ์ (๒๕๓๕ : กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร) ระบุว่า “ ... การศึกษาเครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยนั้น มักจะพบว่ามนุษย์เริ่มเรียนใช้เครื่องประดับกันตั้งแต่สมัยหินใหม่เป็นต้นมาจนเข้าสมัยโลหะ ... ซึ่งมีความเป็นอยู่เมื่อราว ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว ... “ พร้อมกับระบุถึงการพบลูกปัดทำจากกระดูกสัตว์ เปลือกหอยในหลายพื้นที่ จากกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ จนถึงขอนแก่น จนเข้าสู่สมัยโลหะ ที่พบกลุ่มลูกปัดหินและลูกปัดแก้วหลายรูปแบบ “ ... ที่เชื่อได้ว่านำมาจากแถบอินเดียและทะเลเมดิเตอเรเนียนทางแถบเปอร์เชียและจากจักรวรรดิโรมัน ... “ โดยระบุแหล่งโบราณคดีสำคัญ โดยยกแหล่งโบราณคดีสำคัญที่บ้านดอนตาเพชร กาญจนบุรี ศูนย์กลางทหารปืนใหญ่ที่เขาพระงาม ลพบุรี บ้านประสาท นครราชสีมา บ้านนาดี ขอนแก่น และ บ้านเชียง อุดรธานี
เฉพาะที่บ้านเชียง ...
เอกสารหนังสือ / พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ / การอ้างอิง
ในหนังสือ The HISTORY of BEADS : From 100,000 B.C. to the Present โดย Lois Sherr Dubin (2009,Revised and Expanded Edition, ABRAMS New York) ที่ถือเป็นคัมภีร์ลูกปัดโลกเล่มสำคัญ กล่าวในบทว่าด้วยลูกปัดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ...
ขณะที่หนังสือ A BEAD TIMELINE (Volume I : Prehistory to 12 CE) โดย James W.Lankton (2004, Publishers Press Inc.) นำลูกปัดแก้วพบที่บ้านเชียงเป็นตัวแทนลูกปัดเอเชียที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๔ – ๖ พร้อมคำอธิบายที่สรุปได้ว่า ...
โดยในอีกงาน A Universal Aesthetic Collectible Beads ของ Robert K.Liu (1995) บรรรณาธิการคนสำคัญของวารสารว่าด้วยลูกปัดของโลก นอกจากนำภาพลูกปัดบ้านเชียงทั้ง ๓ แบบลงเต็มหน้าพร้อมกับข้อเขียนกำกับว่า ...
ผลงานสำคัญที่แทบทุกงานใช้อ้างอิง คืองาน Asia’s Maritime Bead Trade 300 B.C. to Present ของ Peter Francis, Jr. (2002, University of Hawaii Press) ซึ่งระบุว่าในประเทศไทยมี ๒ แหล่งที่พบลูกปัดแก้วที่ไม่สามารถเชื่อมได้กับแหล่งผลิตแก้วอื่นใดได้ คือ ที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรและบ้านเชียง ที่มีอายุสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒ และ พุทธศตวรรษที่ ๖ – ๘ ตามลำดับ หลังชี้ถึงความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงแล้ว Peter Francis Jr. ระบุว่า ...
สำหรับที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สถานต่าง ๆ นั้น นอกจากที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ซึ่งมีแสดงลูกปัดแก้วทั้ง ๓ แบบที่กล่าวถึงร่วมกับลูกปัดอื่น ๆ ทั้งลูกปัดดิน เปลือกหอย กระดูก รวมทั้งลูกปัดหินและแก้วชนิดอินโดแปซิฟิค และมีเศษลูกปัดหินจำพวกเขียนสีด้วย โดยมีที่จัดแสดงว่าได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านนาดี อุดรธานี และ บ้านโคกคอน สกลนคร อีกด้วย พิพิธภัณฑ์ที่น่าจะรวบรวมลูกปัดบ้านเชียงไว้มากที่สุดนั้นน่าจะคือพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด เท่าที่ดูจากสิ่งแสดงโดยมิได้ขอตรวจสอบทะเบียนอย่างละเอียด พบว่ามีหลากหลายทั้งชนิด รูปทรง ขนาดและปริมาณ โดยเฉพาะลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ทั้งทรงกลมและถังเบียร์ รวมทั้งหลอดแก้วด้วย ส่วนในต่างประเทศ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติญี่ปุ่น ณ นครโตเกียว ได้จัดแสดงไว้ในส่วนแสดงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยให้ความสำคัญกับทั้งบ้านเชียงและลูกปัดบ้านเชียงไม่น้อย
ในงานล่าสุด #ลูกปัดโบราณ #ในดินแดนสุวรรณภูมิ ของ
เชน ชุมพร
(๒๕๖๓) ผู้สนใจติดตามศึกษาลูกปัดอย่างจริงจังต่อเนื่องมานานและก่อตั้งเพจลูกปัดโบราณ เสนอว่า ...
รายงานการขุดค้น / พิพิธภัณฑสถาน / ในวงคนรักลูกปัด
..........................
 
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//