การพระศาสนา
- Details
- Written by Super User
- Category: งานศาสนา
- Published: 17 November 2016
- Hits: 2625
10 Major Dhamma Trails of That PaNom
๑๐ รอยธรรมสำคัญที่พระธาตุพนม
(bunchar.com การพระศาสนา 20161115_2)
ส่วนใหญ่ไปธาตุพนมแล้วได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?
จากที่ผมได้ทำ "เรียนรู้บูชาพระบรมธาตุนคร" จน ททท.ขอให้ทำออกมาเป็นหนังสือ "ตามรอยธรรมที่เมืองนคร" วันนี้ เพิ่งส่ง "ตามรอยธรรมที่พระธาตุพนม" ให้ ททท.และวัดพระธาตุพนม เพื่อจัดทำระบบป้ายชี้ชวนให้คนไปพระธาตุพนมได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง ทั้งนี้กำลังเตรียมการทำอีก ๒ ตามรอย มี "รอยธรรมไทอีสาน" กับ "ตามรอยธรรมราชา ณ แดนอีสาน" กรุณารอกันสักหน่อยนะครับ จะไม่ได้หลับนอนแล้วครับผม.
ตาม ๑๐ รอยที่พระธาตุพนมกันก่อนนะครับ หากยังไม่เคยเรียนรู้ ก็ตามไป ๑๐ ธันวานี้นะครับ จะนำให้เป็นกรณีพิเศษครับ จากนั้นพระท่านจะอบรมยุวมัคคุเทศก์ทำกันต่อครับ.
๑) ซุ้มประตู “ธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ”
นับเป็นซุ้มประตูสำคัญของวัดต่อเนื่องจากซุ้มประตูริมแม่น้ำโขง และ ซุ้มประตูโขงเรืองอร่ามรัษฎากร มีประติมากรรมโทณพราหมณ์ขณะแบ่งพระบรมสารีริกธาตุท่ามกลางเทวดาเฝ้าดู และปูนปั้นนูนต่ำภาพหลักธรรมสำคัญที่ทับหลักบานประตูว่า”ธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ” เป็นหลักการประจำองค์พระธาตุสำหรับผู้มานมัสการ
๑) ซุ้มประตู
๒) ลานพระแก้วกับม้าวลาหก
ลานประดิษฐาน “พระพุทธมารวิชัยศาสดา” ที่องค์พระธาตุพนมล้มทับวิหารหอพระแก้วพังเสียหายเว้นไว้แต่องค์พระ มีศิลาจำหลักรูป “ม้าวลาหก” ที่ยังต้องศึกษาค้นคว้าต่อว่าคืออะไรและมีมาแต่ยุคสมัยไหน
๒.๑) ลานพระแก้ว
๒.๒) ม้าวลาหก
๓) เสาอินทขิล อัสสมุขี และ เสมาศิลา ๔ ทิศ
เสาศิลาแปดเหลี่ยมขนาดใหญ่ที่ปักอยู่ ณ ๔ มุมขององค์พระธาตุด้านนอกกำแพงแก้วเคยเรียกว่าเสาอินทขิล โดยมีศิลาจำหลักเป็นรูปสัตว์ในตำนานคล้ายสิงโต ชื่อ “อัสมุขี” อยู่เคียงข้าง พร้อมกับเสมาศิลา ณ ๔ มุมของกำแพงแก้วชั้นใน ซึ่งอาจคือหลักเสมาดั้งเดิมขององค์พระมานานนับพันปี
๓.๑ และ ๓.๒) เสาอินทขิล อัสสมุขี
๓.๓) เสมาศิลา
๔) ซุ้มประตูกำแพงแก้ว “พระทรงอยู่เหนือโลกเสมอ – ธรรมใหม่เสมอ”
สองซุ้มประตูทางเข้ากำแพงแก้วด้านตะวันออก มีภาพปูนปั้นนูนต่ำประดับพร้อม ๒ หลักการประจำองค์พระธาตุ ด้านนอกเป็นภาพพระพุทธรูปประทับนั่งเหนือดอกบัวและลูกโลกพร้อมข้อความว่า “พระทรงอยู่เหนือโลกเสมอ” และด้านในเป็นภาพพุทธบริษัท ๔ กำลังหมุนล้อธรรมจักรและข้อความว่า “ธรรมใหม่เสมอ” โดยที่ทับหลังยังมีภาพพุทธประวัติด้วย
๔.๑) พระทรงอยู่เหนือโลกเสมอ
๔.๒) ธรรมะใหม่เสมอ
๕) ๒๘ ภาษิตเตือนใจไทอีสานรอบระเบียงแก้ว
ตลอดฐานของแนวกำแพงแก้วด้านใน มีภาพปูนปั้นนูนต่ำพร้อมข้อความภาษิตเตือนใจไทยอีกสานต่าง ๆ กำกับอยู่เพื่อให้ผู้มานมัสการองค์พระได้น้อมนำกลับไปใช้ในชีวิต อาทิ ได้ขวี่ช้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าซิลืมชาวประชาผู้ขวี่ควายคอนกล้า, ไม้ซีกงัดไม้ซุง, ขี่ช้างจับตั๊กแตน, วัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน, หมูจะหาม อย่าเอาคานเข้าไปสอด, ความดี สามัคคี สร้างกุศล, ตาบอดคลำช้าง, ไม่เห็นกระรอกอย่างเพ้อก่งธนู, ไม่เห็นน้ำอย่าเพ้อตัดกระบอก, อย่าจุดไต้ตำตอ, ไม่รู้จักเสือเอาเรือไปจอด, มือไม่พายอย่าเอาตีนราน้ำ, น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ, หนีเสือปะจรเข้, หาบช้างชาแมว, อย่าชี้โพรงให้กระรอก, อย่าเสี้ยมเขาควายให้ชนกัน, โคไม่กินหญ้าอย่าข่ม, เป่าปี่ใส่หูควาย, รักควายให้ผูกรักลูกให้ตี, อย่าหุงข้าวประชดหมา, อย่าปิ้งปลาประชดแมว, ไม่มีขี้ฝอยหมาไม่ขี้ ไม่มีหนี้เขาไม่ทวง, โตข้างเดียว ฯ
๖) องค์พระธาตุพนม พระบรมสารีริกธาตุ และภาพอิฐสลักโบราณบอกตำนานการสร้างพระธาตุ
ตามตำนาน “อุรังคธาตุ” กล่าวว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จมาพร้อมพระอานนท์ถึงหนองคันแทเสื้อน้ำพร้อมพระอานนท์ ทรงพยากรณ์ว่าจะมีพระอรหันต์อัญเชิญพระอุรังคธาตุมาประดิษฐาน ณ ภูกำพร้าและที่อื่น ๆ ร่วมกับการประทับรอยพระบาทไว้ กระทั่งหลังพุทธปรินิพพาน ๘ ปี พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป จึงอัญเชิญพระอุรังคธาตุผ่านมาทางเมืองหนองหานหลวงถึงภูกำพร้า พญาสุวรรณภิงคารแห่งเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดงแห่งเมืองหนองหานน้อย พญานันทเสนแห่งเมืองศรีโคตรบูร พญาจุฬนีพรหมทัตแห่งแคว้นจุฬนี และ พญาอินทปัตฐ เมืองอินทปัตฐนคร จึงมาร่วมกันก่ออูบมุงสถาปนาพระธาตุไว้ ก่อนที่จะมีการบูรณะต่อเติมตามลำดับด้วยการก่อองค์ระฆังเป็นรูปโกศมีฉัตรยอด ก่อนท่ะมีการบูรณะต่อเติมครั้งสำคัญในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ให้สูงขึ้นอีก ทำให้องค์พระที่มีอายุแรกสถาปนาเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ ครั้งเกิดเหตุแผ่นดินไหวในปี พ.ศ.๒๕๑๘ แล้วมีฝนตกหนักจนล้มลงในวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ พบโบราณวัตถุมากมาย โดยเฉพาะพระบรมสารีริกธาตุเป็นกระดูกชิ้นเล็ก ๆ หลายชิ้นสีเทา บรรจุในหลอดหินขาวโปร่งใสมีฝาทองเป็นสลักปิด บรรจุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น ของผอบทองคำ ๓ ชั้น ผอบเงิน บุษบกทองคำ สถูปศิลา และ อูบมุงสำริด ที่สำคัญและถือเป็นส่วนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดขององค์พระธาตุพนมคืออิฐสลักลายประดับผนังขององค์พระเป็นรูปดอกไม้ บุคคลคล้ายนักรบขี่ช้าง ม้ากำลังล่าสัตว์ บนซุ้มประตูทิศตะวันออกลบเลือนมาก ทิศใต้เป็นรูปพระอิศวรทรงโค ทิศตะวันตกเป็นรูปพระพรหมประทับหงส์ ทิศเหนือรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ทำให้สันนิษฐานกันว่าอาจเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์มาก่อน
๖) องค์พระธาตุพนม
๖.๑) การบูรณะปฏิสังขรณ์
๖.๒) พระบรมสารีริกธาตุที่พบเมื่
๖.๓) อิฐสลักลายประดับองค์พระ
๗) กู่ญาคูขี้หอม – เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก
ผู้นำในการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๓-๒๒๓๕ หลังพาครอบครัวชาวเวียงจันหนีความไม่สงบมาพักก่อนที่จะไปจำปาสัก หลังมรณภาพได้มีการนำอัฐิธาตุบางส่วนมาสร้างสถูปบรรจุด้านนอกของกำแพงแก้ว มีศิลปะงดงามเฉพาะตัว
๗) กู่ญาคูขี้หอม
๘) หน้าบันซุ้มประตูกับฮูปแต้มวิหารคด
นอกจากภาพปูนปั้นพุทธประวัติต่าง ๆ ตามหน้าบัน ทับหลังซุ้มบานประตูทิศต่าง ๆ แล้ว มีภาพวาดฝาผนังที่น่าสนใจมาที่ช่องประตูทางเข้าด้านทิศใต้ ว่าด้วยการบูรณะปฏิสังขรณ์และสมโภชองค์พระธาตุพนมในอดีต ส่วนด้านทิศเหนือ ว่าด้วยข้อคิดในการพัฒนาชีวิตและประเทศชาติในสมัยเร่งรัดพัฒนาก่อนกึ่งพุทธกาล โดยภาพปูนปั้นปางพระพุทธองค์ประสูติและปรินิพพานที่หน้าบันซุ้มประตูทางเข้าออกด้านทิศตะวันตกมีความวิจิตรงดงามอย่างยิ่ง
๘.๑) ฮูปแต้มช่องประตูทางเข้าด้า
๘.๒) ปู้นปั้นที่หน้าบันซุ้มประต
๘.๓) ฮูปแต้มที่ประตูทางเข้าด้าน
๙) พระศรีมหาโพธิ์ กับ ๓ ศาลาและหอพระอรหันต์
นอกซุ้มประตูวิหารคดทิศตะวันตก นอกจากพระศรีมหาโพธิ์ปลูกเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ โดยสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) มหาเถระรูปสำคัญแห่งภาคอีสานแล้ว ยังมี หอพระอรหันต์ มหารัตนศาลา และ อโรคยาศาลา ที่กล่าวว่ามีความสัมพันธ์กับตำนานองค์พระธาตุพนม
๙.๑) พระศรีมหาโพธิ์
๙.๒) ศาลาและหอพระอรหันต์
๑๐) เนินพระอรหันต์
มีอยู่รายรอบภูกำพร้าที่สถาปนาองค์พระธาตุพนม กล่าวกันว่าเป็นเนินสำหรับพระอรหันต์ต่าง ๆ ที่มีส่วนในการสถาปนาหรือบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมในวาระต่าง ๆ เฉพาะด้านทิศเหนือมีการก่อสร้างเป็นหอพระนอน
๑๕ พย.๕๙