logo_new.jpg
การไปนมัสการพระเขี้ยวแก้วแห่งศรีลังการอบนี้ เป็นการทบทวนอีกครั้ง
ตามที่เล่าแล้วว่า #พระเขี้ยวแก้วของศรีลังกา มิได้เป็นเพียงปูชนียวัตถุแห่งการสักการะ
อย่างเช่นพระมหาสถูปธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ที่ยากต่อการเคลื่อนย้าย
หลังจากสถาปนาที่อนุราธปุระกว่าพันปี จนเกิดศึกสงคราม
ต้องย้ายถิ่นหลบหนี รวมทั้งมีการโยกนครไปในอีกหลายที่
ศรีลังกาจึงถือให้พระเขี้ยวแก้วเป็นหมุดหมายแห่งรัฐะที่ผู้เป็นเจ้าต้องเข้าครอง
ด้วยเหตุดังกล่าว พระเขี้ยวแก้วจึงมิได้อยู่ในวัดและในพระมหาสถูปไหน
อาจจะคล้าย ๆ กับ #พระแก้วมรกตของไทย ทุกวันนี้
โดยที่แคนดี้หรือชัยวัฒนปุระเป็นนครหลวงท้ายสุดของกษัตริย์
วัดพระเขี้ยวแก้วที่แคนดี้วันนี้แท้ที่จริงก็คือหอพระเขี้ยวแก้วประจำวัง
ที่ทุกวันนี้แปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ และอยู่ในความดูแลของ ๒ คณะสงฆ์แห่งแคนดี้
โดยมีไวยาวัจกรประจำ ตามที่เห็นท่านร่วมขบวนแห่พระเขี้ยวแก้วนั้นไงครับ
ถามว่าหอไหน ? จากข้างนอกเข้าไปจะเห็น #หอหกเหลี่ยมด้านหน้า
ที่ทุกวันนี้ท่านเก็บพระไตรปิฎกไว้นั้น ท่าน Lanka Kumar บอกว่า
เป็นหอชมขบวนแห่พระเขี้ยวแก้วที่กษัตริย์ลังกาองค์สุดท้ายสร้างไว้
เลยเข้าไปเป็นลานกลางที่ท่านสร้างหอพระเขี้ยวแก้วไว้สองชั้นตามผังภาพ
เพิ่งเมื่อ ๓๖ ปีก่อนนี้ ๒๕๓๐ ที่รัฐบาลสร้างซุ้มหลังคาลอยคลุมไว้เป็นชั้นที่ ๓
(ตามหนังสือที่ผมรับจากไมเคิลไรท์ เป็นหนังสือระลึกในการนั้น
ที่ผู้เขียนมอบให้ไมเคิลไรท์ไว้)
ในการเข้านมัสการพระเขี้ยวแก้วที่ในหอพระนั้น
พอลอดช่องประตูเข้าไปก็จะถึงโถงลานด้านหน้าของหอพระเขี้ยวแก้วด้านล่าง
เห็นงาช้างใหญ่วางที่ข้างหินอัฒจันทร์อันงามมักมีคนมาหมอบกราบอย่างที่สุด
บางจังหวะจะมีการตีกลองประโคมบอกว่าการบูชายังดำเนินกันอยู่ไม่เลิกรา
จากนั้นจึงขึ้นบันไดอาคารหน้าสู่ชั้นสองเพื่อเข้าสักการะนมัสการพระเขี้ยวแก้ว
มีทั้งคนนั่งสวดมนต์ภาวนา ทั้งเข้าแถวรอเดิน
ผ่านหน้าช่องประตูหอพระเขี้ยวแก้วที่ประดิษฐานอยู่ในสถูปทองลึกข้างใน
จากนั้นจึงลงมาประทักษิณรอบหอพระเขี้ยวแก้วกันอีกรอบ
พร้อมพิจารณาเห็นโครงสร้างเป็นเสาหินมีหัวอย่างที่เจอที่ท่าเรือเมืองนครด้วย
ส่วนเครื่องอื่นเป็นไม้ทั้งนั้น สอดคล้องกันกับที่พบเหลือแต่เสาหินที่อนุราธปุระ และ ฯลฯ
โดยพบมี #เสาธงธวัชใหญ่ ใช้แขวนระฆังไว้น่าสนใจมาก
ในหนังสือที่ได้จากไมเคิลไรท์
มีรายงานแสดงหอพระเขี้ยวแก้วในแต่ละยุคสมัยไว้ว่าเข้าลักษณะเดียวกันนี้
ทั้งที่อนุราธปุระ โปโลนารุวะ ดัมพะเดนิยะ ยาปะหุวะ คุรุเนคะละ กัมโปละ
และโกฏเฏ
โดยหอที่ดัมพะเดนิยะ ร่วมสมัยที่พระเจ้าจันทรภาณุบุกไปถึงกรุงลังกาก็ยังอยู่
แม้จะรื้อลดจาก ๓ ชั้นลงเหลือ ๒ ชั้นแล้ว ...
ดูแล้วคิดถึงหอพระพุทธสิหิงค์แห่งเมืองนครมากมายว่าน่าแนวเดียว ๆ กันไหม ?
ซึ่งทั้งนั้นนี้ ที่เคยคิดว่าจะสร้างทำหอพระกับหอเครื่องที่เมืองนครสักหลัง
จะออกมาใช่อย่างแนวนี้ไหม ?
๒๕ สิงหา ๖๖ ๑๐๑๐ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.
 
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//