การพระศาสนา
- Details
- Written by Super User
- Category: งานศาสนา
- Published: 11 September 2023
- Hits: 407
นี้ พระพุทธองค์ทรงประทับเหนือ #พระพนัสบดี มี #ตรีรัตนะ ด้วย
#LordBuddhaOverThePanaspatiWithTriratana
(bunchar.com การพระศาสนา 20230907_1)
วานนี้ที่เข้าไปกราบเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ธงชัย
ตามที่คุณ ชัยรัตน์ ด่านวิวัฒนานนท์ บอกว่าท่านกำลังจะสร้างทำพิพิธภัณฑ์ที่พานทอง
และมีบางอย่างจะหารือด้วย
พอไปถึงยังไม่ทันได้คุยอะไร ท่านก็ถามว่ารู้เรื่อง #พระพนัสบดี ไหม ?
แล้วให้คนไปเชิญรูปพระพนัสบดีนี้มามอบให้
พร้อมกับบอกว่านี้เป็นอีกหลักฐานของชาวพุทธพบที่ชลบุรี
เป็นรูปพระพุทธองค์ประทับเหนือพระพนัสบดี
ที่หมายแทนพาหะของพระอิศวร นารายณ์และพรหม
คือเป็นสัตว์ผสมมี เขาโค หัวครุฑ และ ปีกหงส์ ฯลฯ
โดยที่ผมเองนั้นคุ้นกับเรื่องราวการค้นพบนี้ที่เมืองพระรถ ชลบุรีเมื่อนานมากแล้ว
แต่ที่ปรากฏมากกว่า คือที่เป็นศิลาในแดนทวารวดี ลักษณะทำนองเดียวกัน
โดยองค์ที่สมเด็จฯ ท่านสร้างทำและประทานให้วานนี้นั้น
ที่ชอบมากก็ที่ยอดเปลวเหนือองค์พระ " ... มีเป็นรูป #ตรีรัตนะ ด้วยขอรับ ... "
ระดับที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ กระเซ้าว่า " ... สนใจแต่ที่เข้าทางนะ ... "
เจ้าพระคุณสมเด็จบอกว่า ที่พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนานานาชาติที่แคนดี้
ก็มีรูปหนึ่งเป็นสำริด " ... ทางลังกาบอกว่าเป็นของไทย ... "
แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือองค์ต้นของชลบุรีที่ถึงวันนี้ไม่รู้แน่แล้วว่าอยู่ที่ไหน
พี่สุจิตต์ วงษ์เทศ ทำสรุปรายงานไว้อย่างน่าสนใจตามนี้ครับผม
มีบางรายละเอียดน่าขบต่อคือพี่สุจิตต์เขียนว่าเป็นพระศิลา
ตามที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ และ กรมกระยานริศฯ
รวมทั้ง อ.มานิต วัลลิโภดม ค้นคว้าและรายงานกันไว้นั้น
ตกลงที่เรียกว่าพระพนัสบดีนั้นอย่างไรแน่ ???
สำหรับผมนั้น ชวนนึกถึงอีกรูปสำคัญที่พบที่ฮารัปปา-โมเหนโชธะโร
ที่เป็นรูปมหาเทพมีสองเขาใหญ่ เขาเรียกกันว่า พระปศุปัตตินาถ
ที่นับกันว่าเป็นเจ้าแห่งสรรพสัตว์เมื่อสมัยโน้น
ส่วนว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านจะขยายทำออกมาเป็นอย่างไรที่พิพิธภัณฑ์นั้น
เรื่องนี้น่าไม่ใช่การของผมครับ
แต่ที่เข้าทางการผมแน่ ๆ คือ รูปตรีรัตนะที่ด้านบน
เพราะในรูปเก่านั้นก็เหมือนว่ามีด้วย มิได้มีแต่ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้างทำครับ
ท่านที่สนใจลองอ่านเรื่องและดูข้อความที่ผมคัดมาจากงานของพี่สุจิตต์นะครับ
๗ กันยา ๖๖ ๐๘๓๗ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.
สุจิตต์ วงษ์เทศ: พระพนัสบดี เมืองพระรถ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี นักโบราณคดีไทย ‘ศิลปากร’ ใครเคยเห็นองค์จริง?
สุจิตต์ วงษ์เทศ
วันที่ 31 พฤษภาคม 2559 - 17:42 น.
FacebookTwitterLINECopy Link
ผู้เขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ
พระพนัสบดี เมืองพระรถ อ.พนัสบดี จ.ชลบุรี เป็นพระพุทธรูปศิลา แบบทวารวดี มีอายุราวหลัง พ.ศ.1000 ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ประทับยืนบนสัตว์ชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายครุฑ เรียกพนัสบดี แปลว่าเจ้าป่า
ก่อน พ.ศ.2474 มีผู้ขุดได้ที่เมืองพระรถ โดยนางน้อย แซ่จัน เป็นชาวเมืองพระรถ
องค์พระพนัสบดีที่เป็นของจริง ไม่ได้เก็บเข้าพิพิธภัณฑสถาน คงให้เจ้าของถนอมรักษาอยู่ตามประสงค์ตั้งแต่ครั้งนั้น
ปัจจุบัน ยังยืนยันไม่ได้ว่าพระพนัสบดีองค์จริงอยู่ที่ไหน? ใครถนอมรักษา? ฯลฯ เพราะเจ้าหน้าที่โดยตรงของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ก็ไม่เคยเห็นและตรวจสอบไม่ได้
ความเป็นมาโดยย่อของพระพนัสบดี เมืองพระรถ
11 เมษายน 2474 เจ้าฟ้านริศฯ เขียนทูลกรมดำรงฯ ว่ากรมขุนชัยนาทฯ บอกว่าที่เมืองชลบุรี มีพระพุทธรูปยืนได้จากเมืองพระรถ
Next
Stay
16 พฤษภาคม 2474 กรมดำรงฯ (นายกราชบัณฑิตยสภา) สอบถามผู้ว่าฯเมืองชลบุรี จึงรู้เรื่อง พร้อมรูปถ่ายพระพุทธรูปยืน ว่า นางน้อย แซ่จัน บอกว่า “ขุดได้ที่เมืองพระรถ”
18 พฤษภาคม 2474 เจ้าฟ้านริศฯดูรูปถ่ายแล้วเขียนทูลกรมดำรงฯ ว่ารูปแบบนี้พบในชวาหลายแห่ง อ้างถึงนักปราชญ์ชาวฮอลันดาเรียก “พนสับดี”
พ.ศ.2495 วารสารศิลปากร ปีที่ 5 เล่มที่ 6 ของกรมศิลปากร พิมพ์รายงานสำรวจของอธิบดีกรมศิลปากร ไปเมืองพระรถ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เล่าเรื่องพระพนัสบดี เป็นมรดกตกทอดอยู่กับนายอ๋อง เสถียร (ผู้เป็นบุตรหลานนางน้อย แซ่จัน ที่ถึงแก่กรรม)
พ.ศ.2496 นายมานิต วัลลิโภดม (ข้าราชการกรมศิลปากร) เขียนบทความวิชาการ เรื่อง พนัสบดี-กาลา พิมพ์ในวารสารศิลปากร ปีที่ 6 เล่ม 12 (พฤษภาคม 2496) เล่าความเป็นมาทั้งหมดของพระพนัสบดี เมืองพระรถ [พิมพ์ซ้ำในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กุมภาพันธ์-มีนาคม 2522) หน้า 81-85] โดยระบุตอนหนึ่งว่า กรมศิลปากร (สมัยนั้น) “มิได้ดำเนินการอย่างใดที่จะให้ได้พระพุทธรูปองค์นี้มาเป็นสมบัติพิพิธิภัณฑสถาน คงให้เจ้าของถนอมรักษาอยู่ตามประสงค์ เป็นแต่ขึ้นบัญชีสงวนรักษาไว้เป็นโบราณวัตถุของชาติเท่านั้น”
Advertisment
พ.ศ.2543 กรมศิลปากร พิมพ์หนังสือชื่อ พระพุทธรูปสำคัญ มีรูปพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี จากเมืองพระรถ จ.ชลบุรี
แต่ไม่บอกว่าถ่ายรูปพระพนัสบดีจากที่ไหน? หรือได้รูปจากไหน? คำอธิบายอีกหน้าหนึ่งก็คลาดเคลื่อนต่างจากที่พิมพ์ในวารสารศิลปากร (พ.ศ.2496)
[ภาพพระพนัสบดีและคำอธิบายใน 2 หน้าต่อไปนี้ถ่ายแบบจากหนังสือพระพุทธรูปสำคัญกรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่พ.ศ.2543 หน้า 96, 98]