การพระศาสนา
- Details
- Written by Super User
- Category: งานศาสนา
- Published: 07 July 2016
- Hits: 1568
Attain Nibbana as The Sick Slowly Step
or The Fire Flare Over The Trunk
บรรลุมรรคผลแบบคนป่วยพยุงตัวก้าวข้ามบันได
หรือไฟไหม้เถาวัลย์แห้งคราวเดียวถึงยอด ?
(bunchar.com การพระศาสนา 20160707)
อรหันตประวัติทั้งมวล ย่อมแสดงอยู่ชัดเจนแล้วว่าบางคนบรรลุมรรคผลได้ในขณะฟังจากผู้อื่นอยู่นั่นเอง บางคนต้องประกอบความเพียรอย่างแรงกล้าในกัมมัฏฐานภาวนา จึงมักให้เกิดข้อสงสัยว่าทำไมจึงต่างกัน และทำไมท่านจึงกล่าวว่าผู้นั้น บรรลุพระอรหันต์ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานในขณะฟังนั้น น่าจะเป็นผู้บรรลุพระอรหันต์เลยโดยไม่ต้องผ่านพระโสดา เป็นต้น กระมัง ?
สำหรับปัญหาข้อแรกนั้น จะได้กล่าวในตอนหลัง ๆ
ส่วนข้อหลังนั้น เป็นเพราะผู้นั้นมีอุปนิสสัยแห่งองค์มรรคในสันดาน และปัญญาบารมีแก่กล้าเต็มที่มาก่อน พอได้ฟังก็เป็นโอกาสให้ญาณทัศน ปรีชาแล่นถึงที่สุด เกิดแสงสว่างความเห็นแจ้งชัดตามเป็นจริงชนิดแรงกล้าแทงตลอดโปร่งไปตามลำดับในรวดเดียว ดุจคนมีกำลังแข็งแรงก้าวขึ้นบันไดซึ่งมี ๔ ขั้นติดต่อกันไป
ต่างกับผู้ที่ต้องพยายามทำความเพียรในภาวนา ซึ่งเปรียบเหมือนคนป่วย ผู้ที่ต้องพยายามทำความเพียรในภาวนาซึ่งเปรียบเหมือนคนป่วยเกือบหมดแรง พยุงตัวก้าวขึ้นบันไดได้ขั้นหนึ่งแล้วก็ต้องหยุดรอรวบรวมกำลังจนกว่าจะมีพอเพื่อก้าวขึ้นอีกขั้นหนึ่งโดยลำดับ ๆ พักละขั้น จนกว่าจะหมดเหมือนกัน
ดวงจิตของผู้บรรลุพระอรหันต์รวดเดียวได้เลยนั้นก็ต้องผ่านสถานะแห่งจิตของขั้นโสดา, สกาทา. อนาคา โดยลำดับ ๆ แต่โดยไม่ต้องกำหนดและไม่จำเป็นที่ผู้นั้นจะต้องรู้สึก เพราะธรรมชาติของจิตจะต้องเกิดความสว่าง คิดตก แทงตลอด ในเรื่องของอวิชชาหรือกิเลสอย่างนั้น ๆ ก่อน แล้วจึงลามต่อ ๆ กันขึ้นถึงความสว่างขั้นสูงขึ้นไปเอง โดยไร้เจตนาแห่งการคิดค้นคว้าหรือทำความเพียร
เช่นเดียวกับไฟไหม้เถาวัลย์แห้ง ๆ ที่คลุมต้นไม้สูง ๆ อยู่ได้ คราวเดียวถึงยอดเลย แม้มันจะต้องไหม้ข้างล่างก่อนแล้วจึงลามวู่ ๆ ขึ้นไปตามลำดับโดยเร็วเพราะอำนาจความร้อนที่เกิดใหม่เพิ่มกำลังให้แก่ไฟเป็นตอน ๆ ไปมากยิ่งขึ้น ไหม้จนถึงยอดได้ ก็ไม่มีใครกำหนดหรือบัญญัติว่ามันไหม้ตรงนั้นแล้วจึงไหม้ตรงนั้น ๆ เป็นลำดับ ๆ เช่นนั้น
ซึ่งที่แท้ก็เป็นความจริง
การปฏิบัติธรรม โดย พุทธทาสภิกขุ หน้า ๓๔-๓๕
ภาพ เมฆกับหมอก ๒ หมาน้อย นั่งรอเรียบร้อยระหว่างกินขนมบนระเบียง เมื่อผ่านการฝึกหัด
๗ กค.๕๙