logo_new.jpg

Working of SaMadhi Jitta & Vipassana 
การทำงานของจิตที่เป็นสมาธิ และ วิปัสสนา
(bunchar.com การพระศาสนา 20160807_1)

ถ้าหากอารมณ์ที่ใช้เป็นนิมิต เป็นพวกอารมณ์ที่ใจจับแน่นไม่ได้ เช่น พุทธานุสสติ เป็นต้น วิตก วิจาร ปีติ สุข ก็เป็นองค์ที่มีกำลังอ่อนแอ ไม่ทำจิตให้ดิ่งถึงที่สุด จนเรียกว่า เอกัคคตา ได้ สมาธินั้นเป็นเพียงอุปจารสมาธิ ไม่มีฌาน เพราะองค์มีกำลังอ่อน จึงเดี๋ยวต้งอยู่ในสมาธิเดี๋ยวก็ตกภวังค์(คือไม่เป็นสมาธิ)เสีย เหมือนเด็กเพิ่งหัดยืน เดี๋ยวยืนได้เดี๋ยวล้มลงไปอยู่เสมอ

แต่อย่างไรก็ดี ในขณะที่เป็นอุปจารสมาธิ ผู้บำเพ็ญเพียรอาจน้อมยกขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนาเพื่อแทงตลอดไตรลักษณ์ได้อย่างเดียวกับจิตที่เปฌนฌาน ยังผลคือการเห็นแจ้งอันเป็นผลโดยตรงให้เกิดได้เหมือนกัน ผิดกันบ้างก็ตรงที่สามารถอย่างอื่นที่เป็นส่วนพิเศษ เช่น อิทธาภิสังขาร เป็นต้น เท่านั้น หรือมิฉะนั้น จะเปลี่ยนอารมณ์ เจริญสมาธิที่เป็นอัปปนาให้เกิดเสียก่อนก็ได้

จิตที่เป็นสมาธิคือจิตที่สงบ เปลียนตัวเป็นธรรมชาติที่อยู่ใต้อำนาจของสติได้สนิทสนมแนบเนียน จะน้อยนึกไปอย่างไร ให้เห็นอะไรได้ตามต้องการโดยควรแก่กำลังสมาธิที่มีกำลงกล้าหรือไม่กล้า เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม โดยเฉพาะสำหรับผู้หวังพ้นทุกข์อย่างเดียวมิได้หวังอิทธิวิธี ย่อมฝึกเพียงเพื่อสามารถน้อมไปพิจารณากายหรือขันธ์ทั้งห้า แยกแยะออกพิจารณาทุกส่วนที่สงสัยว่าจะเป็นตัวตนที่เที่ยงที่ยั่งยืนและเป็นสุขอยู่ตรงไหนบ้าง ทั้งในกายตนและนอกกายตน คือของผู้อื่น จนกว่าจะเห็นแจ้ง

ระยะที่ได้น้อมจิตอันเป็นสมาธิแล้วไปพิจารณากาย จะเห็นแจ้งภาพของกายนั้น เป็นระยะแห่งปัญญา หรือวิปัสสนา.

ที่มา การปฏิบัติธรรม โดย พุทธทาส ภิกขุ หน้า ๔๒-๔๓

 

ภาพ ผีเสื้อ เมฆหมอก ดอกไม้บานในวันประชามติ

๗ สค.๕๙

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//