การพระศาสนา
- Details
- Written by Super User
- Category: งานศาสนา
- Published: 22 August 2016
- Hits: 1421
The Only Unique & Real University มหาวิทยาลัยที่แท้จริงมีหนึ่งเดียวนี้
(bunchar.com การพระศาสนา 20160822_1)
มหาวิทยาลัยที่สั่งสอนเรื่องความสุขอันสูงสุดอันแท้จริงโดยเฉพาะ มีอยู่ในโลกนี้แต่แห่งเดียว คือ พระพุทธศาสนา
หลักวิทยาศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเฉพาะศิลปะแห่งสุดยอดในโลกนี้มีหลักเดียว คือ หลักพระพุทธศาสนา
นักวิทยาศาสตร์ที่สูงสุด ก็คือ พุทธศาสนิก ที่ทำการทดลองด้วยเครื่องมือ
กล่าวคือ ดวงจิตที่อบรมแล้วด้วยภาวนาอยู่ในห้องทดลอง
กล่าวคือร่างกายนี้ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในสถานที่สงัดจากสิ่งรบกวนทั้งทางกายและทางใจ.
กายนี้เป็นที่ประชุมแห่งความจริง ๔ อย่าง คือ ทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความดับสนิทของทุกข์, และ ทางให้ถึงความดับสนิทอันนั้น – คำที่ทรงตรัสไว้ในโรหิตัสสสูตร อังคุตตรนิกาย, ทรงย้ำให้ผู้อยากทราบ ค้นเอาความจริงจากกายอันยาววาหนึ่งนี้นั่นเอง.
ในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของโลกปัจจุบัน อาจมีการทดลองได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดฉันใด ในร่างกายนี้ก็มีสิ่งให้ค้นคว้าไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น แต่พระองค์ทรงสอนให้ค้นเพียงสี่อย่าง คือ ทุกข์, เหตุของทุกข์, สุข, และ เหตุของสุข, เท่านั้นเอง
เคร่องมือในการค้นมีเพียงอย่างเดียว คือ มรรค หรือ มัชฌิมาปฏิปทาอันประกอบด้วยองค์แปด, พบแล้วก็จะทำที่สุดทุกข์ หรือความพ้นทุกข์ได้, จงค้รให้พบความสงบกาย สงบจิตและสงบกิเลส, การค้นนี้ เรียกว่า กรรมฐาน หรือ การปฏิบัติธรรม.
มรรค คือ มัชฌิมาปฏิปทามีองค์แปด เป็นแวและเครื่องมือแห่งการค้นคว้า จะใช้ค้นกับกายนี้, การค้นพบเพียงใดก็คือการดำเนินก้าวหน้าแห่งใจเพียงนั้น, นั่นคือการก้าวหน้าแห่งการปฏิบัติธรรมตามทางสายเดียวที่จะนำชีวิตอันทนทุกข์ทรมานนี้ให้หลุดพ้นและลุถึงสุขอันสูงสุดได้.
ที่มา การปฏิบัติธรรม โดย พุทธทาส ภิกขุ หน้า ๕๐-๕๑
ภาพ ที่พระธาตุเชิงชุม เมื่อวันแม่ ๑๒ สค.๕๙ กับคณะบุญจาริก เที่ยวทั่วไทยให้ถึงธรรม เริ่มตั้งแต่แรกถึง กินข้าวเปียกที่วิหารคดกำแพงแก้ว แล้วเข้านมัสการองค์พระธาตุ ณ เบื้องหน้าพระองค์แสน กับในกรุองค์พระธาตุที่มีจารึกระบุไว้ ก่อนจะออกไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองในสิมเก่า ศิลปะยุโรป-ฝรั่งเศส ก่อนที่จะประทักษิณรอบศาลาการเปริญหลังใหม่ มีภาพหน้าบันพุทธประวัติกับพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ในขณะที่บานหน้าต่างไม้สลักภาพพุทธประวัติสวยงามสมบูรณ์มาก สุดท้ายกับอาคารปริยัติธรรมและหอระฆังศิลปะเวียตนาม สวยดี
๒๒ สค.๕๙