การพระศาสนา
- Details
- Written by Super User
- Category: งานศาสนา
- Published: 28 July 2021
- Hits: 597
คือมังคุดแห่งปัญญา
WisdomFromMangostein
(bunchar.com การพระศาสนา 20210727_2)
เมื่อวันที่ ๑๙ หลังจากส่งมังคุดไปคารวะหลายกัลยาณมิตรอาวุโส
ก็ได้รับสายจากอาจารย์หมอประเวศฉบับนี้ในวันที่ ๒๐ ตามนี้
โดยท่านให้ส่งไปหาอาจารย์สันติกโรที่วิสคอนซินด้วย
จากนั้นไม่กี่วัน ก็ได้รับข้อสนทนานี้กลับมาอย่างล้ำค่า
ส่วนจะได้ทำอะไร อย่างไร แค่ไหน ไหมนั้น ...
เหมือนว่ายากมาก หากท่านใดสนใจจะทำ ก็ขอเชิญขอรับผม
[Comments & highlights added by Santikaro]
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔
บัญชา ที่รัก
เมื่อวานนี้กิน #มังคุดของบัญชา แล้วเกิดความคิด
ถ้าความคิดนี้นำไปสู่เรื่องที่ดี คงต้องเรียก #มังคุดนาครบวรรัตน์ ว่า #มังคุดแห่งปัญญา! ความคิดที่ว่า คือ ปณิธาน ๓ ประการ ของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ฝากไว้ #วิกฤตโควิด_19 น่าจะเป็นโอกาสที่นำมาขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม มีลำดับความคิดดังนี้
๑. #วิกฤตโควิด_19 คือ ธรรมชาติที่มาเตือนอย่างแรงว่า #โลกต้องเปลี่ยนใหญ่
[It’s always changing and currently we have an accumulation of catastrophic changes all at once: Climate & Covid are intertwined; authoritarian governments are not dealing with the needs of most people; consumerism & Hollywood are huge distractions. What is the direction of possible and beneficial change?]
๒. #โลกเดิม ที่ดำเนินมาประมาณ ๕๐๐ ปี ตั้งแต่ยุโรปค้นพบวิทยาศาสตร์ได้นำมาสู่ความเจริญสมัยใหม่ แต่ก็เป็นความจริงที่ #นำโลกมาสู่การเสียสมดุลอย่างรุนแรงทุกมิติ ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และในตัวมนุษย์เอง อะไรที่เสียสมดุลย่อมวุ่นวาย ปั่นป่วน รุนแรง ไร้สันติภาวะ หรือสันติภาพ
[The great imbalances of our time is well worth our attention and goodwill.]
๓. #โลกใหม่หลังโควิด จึงน่าจะเป็นโลกที่เสียสมดุล ซึ่งเมื่อสมดุลก็จะสงบสุข หรือมีสันติภาวะ หรือสันติภาพ ฉะนั้นโลกหลังโควิด-19 จึง #ควรเป็นโลกของการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ทั้งระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม
[The hard question is can such balance occur with 7-8-9 billion people? I doubt it. What human population is sustainable? 2 billion? Even if 6 billion were sustainable, how can we get there without even more injustice and violence than we have now?]
๔. #ศาสนาน่าจะเป็นพลังขับเคลื่อนการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลได้ดีที่สุด ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจและการเมือง ยังติดอยู่ในโครงสร้างวิธีคิดอำนาจและผลประโยชน์ ทุกศาสนาล้วนแต่สอนเรื่องการอยู่ร่วมกัน ไม่มีเลยที่สอนว่าเธอจงไปแข่งขันกันอย่างเสรี ที่ผ่านมาโลกขับเคลื่อนด้วยอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ
[First, religions must rededicate themselves to their deepest values and stop competing for believers, followers, money, and influence. As “religion” is largely an abstract concept—“Buddhism” as a coherent community doesn’t actually exist on any large scale—the need for change is in specific religious organizations and institutions. Is there a way to recruit leaders and organizations to a pledge for balance, peace, and non-aggression (non-competition)?]
๕. #หัวใจของศาสนาทุกศาสนา คือ การอยู่ร่วมกัน (Living Together) เราอาจตีความปณิธานข้อที่ ๑ ของท่านอาจารย์ว่า ขอให้ศาสนิกของแต่ละศาสนาเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตนๆ ว่าคือข้อนี้
[This is true in terms of social ethics or “social nibbana.” There’s also the level of not clinging to distinctions of difference.]
๖. ปณิธานข้อที่ ๒ #ขอให้มีความร่วมมือระหว่างศาสนา
ปณิธานข้อที่ ๓ #ขอให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม วัตถุนิยม บริโภคนิยม คือหัวใจของอารยธรรมตะวันตก ที่ล่มสลายด้วยโควิค
[This is a harsh and accurate judgment of “western civilization.” We must also ask why non-western cultures have so willingly borrowed from and “followed the asses of farang.”]
ถอนตัวจากวัตถุนิยมไปสู่ ธรรมนิยม ธรรมนิยม ก็คือ การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล โดยลดละ ตัวกู-ของกู
[Yes]
๗. ถ้าหอจดหมายเหตุพุทธทาสจะริเริ่มจัดประชุม
(Forum of Inter-Religion Collaboration for World Peace after Covid-19)
โดยเชิญ ฮินดู – พุทธ - คริสต์ - อิสลาม – ซิกข์ เป็นการเริ่มแรก จะดีไหม
[I wonder why we continue to talk about the ideal of “world peace.” Does anybody pay attention? Perhaps it’s more salient to focus on “world balance.” People and countries suffering from vaccine inequality will get the point.]
๘. เรื่องนี้จะสอดคล้องกับพระราชดำรัสของในหลวง ร.๙ ที่ว่า “#ประเทศไทยเหมาะแก่การที่นานาประเทศจะมาคุยกันเรื่องสันติภาพ”
[In inter-religious initiative for peace & balance among Buddhist factions in Thailand would be a good start. Not all will sign up, but maybe enough to have a good impact. Then expand to neighboring Buddhist countries. Then other religions.]
๙. โดยประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ศาสนาต่างๆ ที่ตีกันอย่างรุนแรงที่อื่น เมื่อมาอยู่ในประเทศไทยกลับอยู่เคียงข้างกันด้วยความสงบ #ประเทศไทยจึงมีทุนเรื่องสันติภาพในทางศาสนา
[It’s important to check whether other religions agree with this characterization.]
๑๐. ฉะนั้น ถ้าเสนอว่า #ความร่วมมือระหว่างศาสนาคือพลังในการสร้างโลกสันติภาพหลังโควิด_19 น่าจะโดนใจศาสนิกของศาสนาต่างๆ
[Does ระหว่าง mean within the diversity of each religion? Is there a way to get Thai Buddhists to cooperate for social welfare?]
๑๑. ที่ผ่านมายังมองเรื่องสันติภาพ รวมทั้งการให้รางวัลโนเบลสันติภาพตื้นเกินไป แค่ไม่ตีกันหรือหยุดรบกัน เมื่อตื้นจึงไม่ได้ผล ผลคือโลกไร้สันติภาพจนวิกฤตและโควิดมา
#สันติภาพต้องเกิดจากการเปลี่ยนจิตสำนึก และเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเอาอย่างอื่นเป็นตัวตั้ง เช่น การค้าเสรี การสร้างความมั่งคั่ง ประสิทธิภาพ มาเป็นเอาการอยู่ร่วมกัน (Living Together) เป็นตัวตั้ง
#ทุกศาสนาล้วนสอน_Living_Together_และลดตัวตน อันเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล
[and community level religious groups]
#ชุมชนที่มีการพัฒนาอย่างบูรณาการ ที่ เศรษฐกิจ - จิตใจ - สังคม - สิ่งแวดล้อม - วัฒนธรรม - สุขภาพ - การศึกษา – ประชาธิปไตย ทั้ง ๘ มิติ เชื่อมโยงอยู่ในกันและกัน เป็นสังคมที่สมดุลและสันติสุข
ชุมชนขนาดเล็ก จึงควรเป็นอิฐบล็อก (Building block) ของสังคมที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ หรือชุมชนขนาดใหญ่ จนถึงชุมชนโลก ซึ่งก็คือโลกสันติภาพ
[Covid has shown how there is such a thing as a “global community” that suffers together. We must also struggle together rather than against each other (Covid nationalism, racism, and classism). Same is true with climate degradation and the struggle to survive it.]
๑๓. #เวทีความร่วมมือระหว่างศาสนาเพื่อสันติภาพ อาจจัดในพื้นที่ต่างๆ และมีศาสนาอื่นๆ เข้าร่วมมากขึ้น อาจเป็นทางแก้ปัญหาความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ด้วยก็ได้ เพราะคนมุสลิมย่อมเกิดความภูมิใจที่ศาสนาอิสลามมีบทบาทร่วมกับศาสนาต่างๆ ในการสร้างสันติภาพโลก โลกอิสลามมีประชากรกว่า ๑,๕๐๐ ล้านคน เป็นพลังเพื่อสันติภาพที่สำคัญ พูดถึงตรงนี้ก็นึกถึง ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ที่เป็นมุสลิมด้วย นักวิชาการสันติภาพด้วย
[Venues outside the big cities and in communities is appealing.]
๑๔. #Forum_of_Inter_Religion_for_Peace อาจมีคำประกาศหรือ Declaration จะเรียกว่า Bangkok Declaration หรืออะไรก็ตาม ถ้าร่างให้ดีๆ ก็จะเป็น Peace Message ไปสู่โลก และให้ความหวังแก่ชาวโลกที่หมดหวัง
[perhaps “Chaiya Declaration”
ประดุจ “หงายของที่คว่ำ” - อุตตานีกะโรติ
๑๕. #จึงเขียนมาปรึกษาบัญชาและคณะ รวมทั้งท่านสันติกโรด้วย ว่าเห็นอย่างไร ชื่อท่านสันติกโร ก็เข้ากับเรื่องสันติภาพ พอดี!
รัก
ประเวศ วะสี
บัญชา พงษ์พานิช
๒๗ กค.๖๔ ๐๕๔๕ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร