logo_new.jpg
พระลากสกุลช่างเมืองนครองค์นี้
ThisPhraLargFromNakornSchoolArtisan
(bunchar.com การพระศาสนา 20220811_3)
พบกระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
มีการแกะไม้จากแก่นไม้ขนุนทอง บุหรือหุ้มแผลงด้วยเงินแท้
ตกแต่งทอง เทริด หรือชฎา
มีให้เห็นที่หอพระสิหิงค์ ศรีธรรมราชพิพิธภัณฑ์สถาน
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และตามวัดต่าง ๆ มากมาย ไม่ต่ำกว่า 20 องค์
ซึ่งสืบทอดสร้างกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
มีอัตลักษณ์สามารถถอดชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ได้
โครงการ ” ช่างศิลป์ถิ่นนคร ” ได้ฟื้นศิลปะการสร้างพระลาก
สกุลช่างนครศรีธรรมราชตามแบบช่างโบราณ
โดยรวมพลังสร้างสรรค์ของช่าง 10 หมู่เมืองนคร
นับเป็นครั้งแรกของการสร้าง
“พระลากบุเงินโบราณ ตกแต่งด้วยทองบริสุทธิ์และนาก”
หลังจากว่างเว้นมากว่า 74 ปี
ใช้โลหะทั้งหมดคือ เนื้อเงินหนัก 781 บาท มูลค่า 355,365 บาท
ทอง สำหรับทำพระเกตุ 4 บาท มูลค่า 128,000 บาท
นากสำหรับพระเกตุ โอษฐ์ และเล็บ 5 บาท มูลค่า 64,000 บาท
ทองเปียก 1.5 บาท มูลค่า 48,000 บาท
รวมโลหะที่ใช้หุ้มองค์พระ เป็นเงิน 595,355 บาท
โลหะที่เหลือใช้ทำนะโมรูปแบบต่าง ๆ อย่างโบราณอีกด้วย
สำหรับเนตร เป็นนิลเมืองกาญจนบุรี และ เปลือกหอยมุกไฟของเก่า
คณะนักวิจัยลงมติขนานนามองค์พระว่า “#พระลากแม่ยุพา
เพื่ออุทิศแด่คุณ ยุพา บวรรัตนารักษ์
ผู้ได้ใช้ชีวิตทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
และทำประโยชน์แก่จังหวัดนครศรีธรรมราช
รวมทั้งได้อุปถัมภ์การสร้างพระลากองค์นี้
๑๑ สค.๖๕ ๐๗๐๐ น.
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//