บัญชาชีวิต
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Published: 01 April 2016
- Hits: 1184
(ส่งใหม่ ใส่รูปที่หายไปครับ)
ตกลงผมจะแปลไล่ไปเรื่อย ๆ ตามที่ "บอกให้ทำ" นะครับ
พรุ่งนี้จึงจะได้ตอบคำถามว่าทำไม
"ลูกปัดเขียนลาย" จึงได้ร้าวนัก
ทั้ง ๒ ท่าน (อ.เอียน กับ ดร.เบเรนิซ) ระบุว่า หลังจากนั้นดูเหมือนว่า "ลูกปัดเขียนลาย" จะหายไปจากวงการโบราณคดีค่อนข้างนาน รวมทั้งที่พบก็แปลกและแตกต่างออกไปจนเชื่อกันว่าด้วยเทคนิควิธีทำที่ "พิเศษ" และ "การปรับเปลี่ยนไปเรื่อย" นี้เองที่เป็นต้นเหตุ จนแม้ทุกวันนี้ก็ดูเหมือนว่ายังมีพบแบบแปลก ๆ และแตกต่างจากที่ Beck และ Mackay เคยพบเห็น โดยเฉพาะในระยะหลังมานี้ไม่กี่ปี (เขียนเมื่อ คศ.๒๐๐๓) ที่เริ่มมีงานการศึกษาค้นคว้ารายงานออกมามาก โดยนำนานาทัศนะวิทยาการมาประกอบ ไม่ว่าจะ อัญมณีวิทยา และ แร่ธาตุวิทยา ว่าด้วยการผลิต
บทความนี้จำกัดขอบเขตการศึกษากับ "ลูกปัดเขียนลาย" ที่พบในระยะ ๒๐ ปีที่ผ่านมา (ประมาณปี คศ.๑๙๘๐-๒๐๐๐) หรือที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออกเพื่อเปรียบเทียบกับที่พบและรู้กันดีแล้วในเอเซียใต้ โดยเท่าที่มีรายงาน ก็พบใน จีนตะวันตกเฉียงใต้ เวียตนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย โดยไม่พบในจีนตอนเหนือ เกาหลีและญี่ปุ่นซึ่งมีงานการขุดค้นศึกษามากพอที่จะสรุปได้ ส่วนในลาวและเขมรที่มีรายงานน้อยนั้น อาจเพราะยังมีการศึกษาค้นคว้าน้อยก็เป็นได้
ในบทความ ระบุว่าลูกปัดเขียนลายที่พบใน SEA (เอเซียอาคเนย์) ส่วนใหญ่อยู่ในแบบที่ ๑ ของ Beck (คือทั้งสามกลุ่มในตาราง) ด้วยการเขียนลายขาวบนพื้นหินสีส้มหรือดำ (มากกว่าร้อยละ ๙๐) โดยประมาณร้อยละ ๗๕ เป็น "เส้นสีขาวบนพื้นดำ" ของหินอะเกต และที่สำคัญ ดูเหมือนว่า "หินอะเกตสีดำที่ถูกเขียนลาย" ที่เราพบใน SEA นั้นผ่านการ "ทำให้ดำขึ้น" อาจจะด้วยวิธีใช้น้ำเชื่อมออกซิไดซ์ (oxidised sugar solution method) จนดำเข้มกว่าอะเกตตามธรรมชาติ ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้ว อยู่ในกลุ่มแบบ B คือประมาณ พศต.๓๐๐ - ๘๐๐ แม้จะมีบ้างที่อยู่ในแบบ A และ C
อีกอย่าง ในงานนี้ขอไม่รวมกลุ่มลูกปัดทิเบต หรือ Dzi และ Pumtek หรือ Chin ของพม่า
ทั้งนี้ ในบทความได้ลงภาพบางลูกปัดประกอบ ดังนี้
ภาพที่ ๓ - ๕ เป็นลูกปัดเขียนลายที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน กาญจนบุรี
ภาพที่ ๖ รูปบน เป็นลูกปัดสามสี พบที่บ้านโคกสำโรง อู่ทอง ของป้าเซี้ยม รูปล่าง ระบุว่าพบที่ทุ่งเกดเชต ในนครปฐม (๒ รูปนี้ อ.เอียนบอกว่า อันแรกถ่ายจากคนขายข้าวหมูแดงในตลาดอู่ทอง อันหลังของแม่/พ่อค้าขายพริกไทย ซึ่งเขาเอาไปเป็นตรายี่ห้อพริกไทยของเขาด้วย เท่าที่ทราบทุกวันนี้เพิ่งเปลี่ยนมือไปอยู่ที่สระแก้วแล้ว)
ภาพที่ ๗ เป็นรูปคนหาลุกปัดที่คลองท่อม กับ นานาลูกปัดที่เขาสามแก้ว
ภาพที่ ๘ รูปบน เป็นสามสีบอกว่าจาก Likiang ในทิเบต ทุกวันนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่ Glasgow ในรูปที่มีหลายเม็ด พบที่ยูนนาน
ภาพที่ ๙ เป็นลายมาก ๆ พบที่จังหวัด Long An ที่ปากแม่น้ำโขงในเวียตนามใต้ (ผมได้ไปขอดูจากคลังพิพิธภัณฑ์ม่เมื่อปลายปีก่อน-บัญชา)
ภาพที่ ๑๐ พบที่ถ้ำ Manunggul ที่ตาบอนบนเกาะปาลาวัน ฟิลิปปินส์
ภาพที่ ๑๑ พบที่เกาะ Talaud อินโดนีเซีย
ภาพที่ ๑๒ พบที่ Halin และ ฺฺBinnaka ในพม่าตอนเหนือ
ดูกันพลาง ๆ ก่อนนะครับ พรุ่งนี้จะต่อเรื่องผลการวิเคราะห์เจาะลึกเพื่อตอบคำถามที่ว่า ทำไมจึงร้าวนัก