บัญชาชีวิต
- Details
- Written by Super User
- Category: คุยกับหมอบัญชา
- Published: 01 April 2016
- Hits: 1194
สวัสดีครับ ผมกำลังจะกลับไปทวายอีกเป็นรอบที่ ๓ แล้ว
ถ้าไงจะไล่เล่ามาเรื่อย ๆ อย่างเคยนะครับ
เมื่อวานนี้เพิ่งจบอู่ทองทั้งวัน เท่าที่เก็บภาพได้ประมาณนี้นะครับ
๑) ขอขอบคุณทุกท่านที่ตอบรับการร่วมเส้นทางนี้ ที่ หอฯ ได้รับการเชิญชวนจาก อพท.ให้ดำเนินการต่อเนื่องมา ๓ ปี เพื่อค้นหาความหมายของ "ลูกปัดอู่ทอง" แล้วเราขอขยายเป็นเรื่อง "รอยแรกพระพุทธศาสนา" ซึ่งเชื่อมโยงกับ "อู่ทอง และ ทวารวดี" ที่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดว่า มีลูกปัดก็มาก อาจยาวไปถึง "สุวรรณภูมิ" สมชื่อ แถม "ทวารวดี" ที่ถือกันว่าเป็นรัฐสำคัญแรก ๆ ในลุ่มนี้ คือที่พระพุทธศาสนาสถาปนาเป็นปึกแผ่น ควบคู่กับ ศรีเกษตร พนม อีสานปุระ เจนละ จามปา ก่อนที่จะคลี่ต่อเป็น ศรีวิชัย แล้วก็พอดี เกิด อโยธยา สุโขทัย สุพรรณภูมิ สิริธัมมนคร หริภุญชัย โยนก ศรีโคตรบูรณ์ ฯลฯ อีกมากมาย แล้วจึง อยุธยา มา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ ที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ ทั้งนี้ เรามีหนังสือสำคัญออกมา ๓ เล่มแล้วครับ ๑) อู่ทอง หลักฐานพระพุทธศาสนาแรกเริ่มและรอยลูกปัด ๒) อู่ทอง...ที่รอการฟื้นคืน ผ่านรอยลูกปัดและพระพุทธศาสนาแรกเริ่มในลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน ๓) รอยทางพระพุทธศาสนาแรก ๆ จากอินเดียถึงไทย โดยเล่มที่ ๑ อพท.จะมอบให้ท่านที่อู่ทอง เล่ม ๓ หพท.จะมอบให้ท่านวันพรุ่งนี้เช้า
๒) การเดินทางครั้งนี้ มุ่งหมายทดลองทำและนำเสนอสู่ท่านรวมทั้งสาธารณะ ให้เห็น "อู่ทอง ในฐานะฐานสำคัญของไทยและทวารวดี" ผ่านรอยลูกปัดและพระพุทธศาสนา จากหลากหลายสถานที่ที่จะนำไปดูแบบเจาะลึก ซึ่งเพียงเท่านี้ก็เหลือเฟือต่อการนำเสนอได้ ๑ ตอนหรือมากกว่า และ มุ่งเชื่อมโยงกับ "ทวาย" ที่กำลังจะฟื้นคืน ในฐานะที่เคยเป็นเส้นทางดั้งเดิมสู่อู่ทองมาแต่ก่อน ผ่านทั้งรอยลูกปัดและนานาหลักฐาน โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา แถมด้วยร่องรอยของ "ไทย" และ "ทอง" อีกมากมาย ดังที่ผมได้ทำบันทึกรายงานไว้ขนาดยาว ๘ ตอน ซึ่งได้ส่งถึงทุกท่านแล้ว และยังมีอีก ๒ บันทึกของ อ.ภูธร ภูมะธน ที่เราจะพิมพ์ไปเผื่อได้ใช้อ้างอิงอีกจำนวนหนึ่ง
งานนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก อพท.เพื่อพัฒนาพื้นที่พิเศษอู่ทองเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมี ระดับผู้บริหารและมือแผน มือทำงานไปด้วย ๑๓ ท่าน มีพระที่ทุ่มเทงานเพื่อพระพุทธศาสนาและร่วมงานกันมานาน จากสวนโมกข์ไชยา วัดพระธาตุนคร จากยโสธร ร้อยเอ็ด และ แม่ฮ่องสอน ไปด้วย ๕ รูป โดยมีผมกับไพโรจน์ สิงบัน เป็นผู้นำ ทางทวายมีไกด์ท้องถิ่นพูดไทยได้ และยังมีศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยทวายมาเป็นวิทยากรพิเศษอีกคน
๓) ที่คุณวลัยลักษณ์ถามมา ๕ ข้อ เพื่อเตรียมประเด็นนั้น ผมเห็นว่าเข้ากันได้ครับ ส่วนท่านอื่น ๆ จะอย่างไรก็ขอเชิญช่วยกันขบคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสรรค์กันออกมานะครับ งานนี้ไม่ใช่เพื่อใคร หัวใจคือ เพื่อประเทศไทยและพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอู่ทองเป็นฐานสำคัญ แต่ยังไม่ได้ถูกสร้างทำอย่างเพียงพอครับผม
พบกันพรุ่งนี้ตั้งแต่เช้า ก่อนราหูจะอมตะวัน
สนุกแน่ แต่สมบุกสมบันหน่อยนะครับ
บัญชา
๕ คำถามของคุณวลัยลักษณ์
1 รอยลูกปัดที่อู่ทองมีความสำคัญอย่างไร และเชื่อมต่อกับทวายเป็นเส้นทางชัดเจนหรือไม่ อย่างไร
2 ปัจจุบันของชาวอู่ทองยังมีวิถีชีวิตที่วัมพันธ์กับความรุ่งเรืองของศาสนาในอดีตหรือไม่
3 ร่องรอยการเชื่อมต่อที่ชัดเจนระหว่าง อู่ทองและทวาย ที่เราจะพบจากการเดินทางคืออะไร และมีความหมายอย่างไร
4 ปัจจุบันเส้นทางที่เราจะเดินทางศึกษาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวอยู่แล้วหรือไม่ และส่วนใหญ่วิถีวัฒนธรรมคนทวายเป็นอย่างไร
5 สวนโมกแห่งทวายและเมืองโบราณพันปีธาการา มีความหมายด้านประวิติศาสตร์ศาสนาอย่างไร
ขอบคุณคุณหมอและคุณโจ้อย่างสูงค่ะ
วลัยลักษณ์ แสงเปล่งปลั่ง
ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส
เริ่มด้วย ๓ ภาพแรกที่รอยพระพุทธบาทนูนสูงหนึ่งเดียวสมัยทวารวดีที่เขาดีสลัก กับ หินสลักพุทธประวัติสร้างใหม่ที่งดงามที่สุด
จากนั้นเป็นภาพหมู่ก่อนออกเดินทางจากสวนโมกข์กรุงเทพ แล้วก็สถูปใหญ่ทวารวดีที่ยอดเขาพระ ถ้ำพระ แล้วไปบนขอบ "คอกช้างดิน" ที่แท้ ๆ เป็นอ่างเก็บน่ำขนาดใหญ่ในเขตพราหมณ์ ก่อนที่จะลงไปในอ่าง ออกที่ปากอ่าง เจอฐานเทวสถานที่มีคนเอาศิวลึงค์ไปประดิษฐานใหม่ โดยมีจุดสำคัญคือที่พบ "๓ เหรียญ ทวารวดีศวรปุณย" ที่บ่งบอกว่า "ที่นี่ ทวารวดีแน่แท้"
ที่ "คอกหินบนยอดเขาคอกที่ถ้ำเสือ" ผมไม่ได้ถ่ายคอกหินที่อาจจะเป็น "กุฏิภาวนา" ของพระแต่ก่อนก็ได้ ในขณะที่ด้านล่าง พระวัดนี้น่าจะสนใจ "ธรรมของพระพุทธเจ้า" ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสเรียบเรียงไว้ไม่น้อย เห็นอ่านธรรมโฆษณ์และเอามาเขียนป้ายไว้มากมาย
ที่ชอบทุกทีคือในพิพิธภัณฑ์ อู่ทอง รอบนนี้ได้ถ่ายรูปพระกับโกลนพระพุทธรูปประกาศธรรมอย่างคุปตะและเสาเสมาธรรมจักรที่เจอที่โบราณสถานหมายเลข ๑๑ ก่อนที่จะไปแวะสถานที่จริง และ พระใหญ่ที่กำลังแกะ ดดยได้ไปจบด่้วยการทำวัตรเย็นและนั่งภาวนากันทีบนเขาธรรมเธียร
เท่านี้นะครับ จะออกเดินทางแล้วครับ