logo_new.jpg

"ธรรมเธียร" หรือ "ทำเทียม" ที่อู่ทอง
ก่อนออกจากอู่ทองไปทวายที่ "ธรรม" น่าจะยัง "เธียร"

เมื่อเย็นวันที่ ๙ พวกเราพาคณะพระในเครือข่ายการเรียนรู้สู่ธรรมวาทีและสื่อมวลชนไปขึ้นเขาที่ทุกวันนี้เรียกกันว่า "ทำเทียม" ซึ่งไม่รู้ที่มาว่า "ทำ" "เทียม" อะไร ทั้ง "ทำ" หรือ "ธรรม" ทั้ง "สูง-เทียม" หรือว่า "ของ-เทียม" แต่มีคนบอกว่าในนิราศของสุนทรภู่เคยเรียกและเขียนไว้ว่า "ธรรม-เธียร" ซึ่งเป็นมงคลกว่ามาก ๆ ยิ่งวันนี้ที่พวกเราไปกัน เห็นอาการ "พระเจอที่สงบวิเวกสัปปายะ" เหมือน "เสือถึงป่า" ประมาณนั้น

ที่เขานี้ เป็นขาเกือกม้าด้านใต้-ตะวันตกสุดของเทือกเขาที่โอบล้อมเมืองอู่ทอง ตามที่ อ.ศรีศักร และ อ.ภูธร เห็นสอดคล้องกันว่า "นี่คือแดนภาวนาสำคัญของพระเมืองอู่ทอง" เมื่อสมัยโบราณนับพันปี ในลักษณะเดียวกับที่เขาคิฌชกูฏและอชันตาในอินเดีย ดังจะเป็นได้จากร่องรอยของเพิงผาที่ถูกแปลงมาเป็นถ้ำพระในสมัยอยุธยาต่อเนื่องรัตนโกสินทร์ รวมทั้ง "สิมอีสาน" ที่ยังเห็นใบเสมาอยู่รอบ รวมทั้งสถูปเจดีย์ที่มีการบูรณะใหม่หมาด และองค์พระปฏิมาปางเปิดโลกที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่

วันนั้น พวกเราอาราธนาท่านเมธี นำพวกเราสวดมนต์ทำวัตรแปลที่ฐานองค์พระบนหน้าเพิงผาแห่งเขา "ธรรมเธียร" แล้วเจริญจิตตภาวนาสมาธิท่ามกลางสายลมที่พัดพริ้ว ก่อนที่จะกลับลงมาเพื่อผ่านฐานธรรมจักรแห่งอู่ทองที่โบราณสถานหมายเลข ๑๑ ซึ่งพบสมบูรณ์ที่สุดหนึ่งเดียวพร้อมเสาครบชุดแบบยังสร้างไม่เสร็จ ซึ่งชี้ว่าคนที่นี่คือคนสร้างทำค้างอยู่ ดังที่จัดแสดงให้เห็นอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง

ส่วน "ธรรม" จะ "เธียร" สักเพียงไรนั้น ยังบอกได้ไม่ง่ายนัก ขนาด "อู่ทอง" ที่เคยรุ่งอย่างที่เห็น ยังร้างและโรยราอย่างที่เห็น

แต่ที่ "ทำ" จน "(เท่า)เทียม" นั้น กำลังจะมาแน่แล้ว ดังที่เห็นพระใหญ่ที่หน้าผาที่อยู่ลึกเลยเข้าไป ที่ถึงทุกวันนี้ "พระเศียร" กำลังจะแล้วเสร็จพร้อมรอยร้าวที่ฉีดอัด "Epoxy" ขนานใหญ่ จากนั้นจะเจาะทำถ้ำตลอดแนวระนาบพื้น แถมพระนอนองค์โต กับอีกหลายสิ่งที่ผมเองนั้นอยากเห็นเป็น "ธรรมเธียร" ที่ไม่แพ้แก่กัน

 

ดังที่มณฑปพระพุทธบาทเขาดีสลัก ที่มีหินสลักภาพพระพุทธประวัติแกะใหม่มาประกอบไว้อย่างงดงามตามสมควร (๒ ภาพสุดท้าย)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//