logo_new.jpg

Why Thai Call The "Banana - Tree" & Dendrobeum
รู้ไหม ทำไมคนไทยเรียกเขาว่า "กล้วยไม้"
และมารู้จักสกุล "หวายและสาย" กันสักหน่อย

วันก่อนยังไม่ได้เล่าที่ผมถาม ๒ สาวที่ชวนไปด้วยในเรื่องนี้
ผมขออนุญาตปะติดปะต่อเอาตามที่ตัวเองติดตามและสันนิษฐานเอง โดยจำที่มาไม่ได้และไม่แน่ใจว่าจะถูกถ้วนทั้งหมด แต่เชื่อได้ว่าน่าจะแนวนี้

กล่าวคือ แต่เดิมนั้นคนไทยเรียก "ไม้ที่เกาะบนกิ่งไม้และให้ดอกสวยเด่นนี้" ว่า "ดอกเอื้อง" ตามที่ฝรั่งเขาเรียกว่า "Epiphytes" ซึ่งแปลตรง ๆ ว่า "พืชที่อยู่ข้างบน"

แต่เมื่อมีการนำ พันธุ์พิเศษแปลก ๆ ในกลุ่มแคทลียาและหวายอื่น ๆ จากนอกประเทศเข้ามา มีลักษณะโดดเด่นร่วมคือ ดอกใหญ่สีสวยเด่น เห็น "ต้น" เป็นลำ "คล้ายลูกกล้วย" ประกอบกับชอบเกาะอยู่บนไม้ ลักษณะเหมือน ๆ กับหลายเอื้องเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น เอื้องผึ้ง เอื้องคำ เอื้องนก จึงขนานชื่อ "ไม้ที่มีลำต้นเหมือนลูกกล้วยและชอบขึ้นอยู่บนไม้" นี้ว่า "กล้วย-ไม้" พร้อมกับเรียกลำต้นที่จริง ๆ บางชนิดมิใช่ต้น ว่า "ลูกกล้วย" แถมตอนนี้ไปกันใหญ่ พบว่าบางชนิดเรียกกันว่า "หัว-เทียม" ที่น่าจะหมายความว่า "เหมือนหัวแต่มิใช่หัว" หาใช่ "หัวหอมกระเทียม" ไม่

โดยที่แคทลียามิใช่ไม้ถิ่นไทยและเอเชียแปซิฟิกมาแต่เดิมและในงานดูเหมือนว่าจะมีน้อยมาก ๆ โดยเฉพาะที่จัดประกวดเหมือนไม่มี มีแต่ที่เอามาจัดสวนกัน แต่ "ตระกูลหวายและสาย" นั้นเต็มไปหมด ด้วยเป็นไม้ถิ่นแท้ ๆ ดังที่ในบัญชี "กล้วยไม้ถิ่นเดียว" ก็เป็นอันดับ ๒ รองจาก สิงโตกลอกตา จึงขอนำมาให้ได้ "ดู" และ "รู้จัก" กันยิ่ง ๆ ขึ้น

กลุ่มนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium แปลง่าย ๆ คือ มีลำลูกกล้วย "แตกแขนงเป็นสาขา - Dendrite" คล้ายปลาดาว หรือ เซลล์ประสาท แต่ส่วนใหญ่ที่คนไทยรู้จักมาแต่ก่อน ก็เรียก เอื้อง "สาย" เพราะลำลูกกล้วยแตกออกมาเป็นช่อเป็นพวงเป็นสาย ๆ เช่นสายน้ำครั้ง ฯ ในขณะที่อีกฝ่ายไม่เห็นเป็นสาย แต่เห็นเป็นเหมือน "ลำหวาย" ก็เลยเรียกว่าหวาย เช่น หวายคิง หวายมาดามปอมปาดัวร์ ฯ ต่อมาเมื่อมีการศึกษาทางพฤกษศาสตร์อนุกรมวิธานอย่างกว้างขวางขึ้น พบว่าวงศ์นี้กว้างขวางมาก ๆ รวมไม้อีกหลายตัวเข้ามาอยู่ในพวกเดียวกันทั้งนั้น ทั้ง เอื้องผึ้ง เอื้องคำ เอื้องนก เอื้อปากนกแก้ว เอื้องแปรงสีฟัน เอื้องเงิน เอื้องมัจฉานุ เอื้องชะนี เื้องสายมรกต เยอะแยะไปหมด โดยมีทั้งที่มิได้เห็นเด่นชัด เป็น Dendrite และ หวาย ซึ่งเป็นไปตามเหตุและปัจจัยของการปรับปรุงพันธุ์ตามธรรมชาติของเขา เพื่อความอยู่รอด รวมทั้งตามที่ มนุษย์เข้าไปทำการดัดแปลงปรับปรุงพันธุ์ เพื่อสนองกิเลสของมนุษย์อย่างยิ่งยวดหลายเท่าพันทวีในทุกวันนี้

ภาพที่นำมา "ให้ดู" และ "พอรู้" คือที่ผมพอหมายได้ว่าคือ สกุล "หวาย" ที่ถ่ายมาจากในงาน

ยกเว้นภาพแรก จากหนังสือของ อ.ระพี เพื่อให้เห็นลำลูกกล้วยหลากหลายชนิดสายพันธุ์
๒, ๕ และ ๖ ในสายสกุลแคทลียาที่ทุกวันนี้มีแยกย่อยไปอีกหลายสายพันธุ์ แต่ในงานี้มีน้อยมาก
๓ หัว"เทียม" ของสกุลสิงโตกลอกตา
๔ ลูกผสมกลุ่มเอื้องเงิน เอื้องปากนกแก้ว ที่กำลังนิยมผสมและขยายพันธุ์กันมาก
๗ เป็นต้นไป สารพัด Dendrobium ในงานที่ถ่ายไล่ไปเรื่อย ๆ เฉพาะที่โดน โดยไม่ได้จัดกลุ่มและหมวดหมู่อะไร จะเห็นได้ว่า กลุ่มนี้นี่แหละที่เป็นพระเอกไม้ตัดดอกของไทยและโลกมานาน จากนี้ไปเชื่อว่าสีสันและความหลากหลายจะยิ่งมาก ๆ ขึ้นครับ

๓ ภาพสุดท้าย คืออีกแคทลียาที่ถ่ายมา แล้วเจอตอนไล่เลือกภาพครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//