logo_new.jpg

Phalaenopsis & Taiwan Delicate Ind. Case Study (Part1)
กรณีน่าศึกษา ฟาแลนฯ และ ไต้หวัน กับอุตสาหกรรมประณีต

ดอกกล้วยไม้ฟาแลนน๊อปซิส หรือ Butterfly Orchid ที่เห็นในงานว่าช่างอลังการนั้น แทบทั้งหมดมาจากผลงานการปรับปรุงและขยายเชิงเกษตรพาณิชยอุตสาหกรรมที่ไต้หวันเขาประกาศเป็นยุทธศาสตร์ชาติอตุสาหกรรมประณีต ล่าสุดนำรายได้เข้าประเทศถึงปีละนับร้อยล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

อาจารย์ Wen Huei Chen จากศูนย์วิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยในไต้หวันนำเสนอกรณีศึกษาที่ผมถึงกับลุกขึ้นถามว่ามีประเทศไหนที่ทำอย่างนี้บ้างไหม และประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง จนอาจารย์ Wen ต้องออกตัวว่าไทยก็สุดยอดเรื่องหวายแล้ว หลังท่านอธิบดีบอกว่า ก็ทำกันอยู่ ลองดูของเขานะครับ

อ.เกริ่นถึงความสำคัญนิดเดียวว่า กล้วยไม้นั้นเป็นหนึ่งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีชนิดพันธุ์มากที่สุด ทุกวันนี้พบแล้วกว่า ๒๕,๐๐๐ ชนิด/สปีซี่ โดยเอาเรื่องที่ชาร์ล ดาร์วินใช้กล้วยไม้มาประกอบการพิสูจน์ทฤษฎีวิวัฒนาการไว้ด้วย จากนั้นก็กระโจมลงเรื่อง "ธุรกิจกล้วยไม้" อย่างไม่รั้งรอ ด้วยสองกราฟให้เห็นการขยายตัวของตลาดกล้วยไม้กระถางที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงมาก ๆ ถึง ๓๕๐ ล้านกระถาง โดยในตลาดกลางของโลกที่ฮอลันดา ฟาแลนกินสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ ๕๓ ในปี ๒๐๐๑ เป็น ๖๗ ในปี ๒๐๐๖ ซึ่งมิได้เป็นไปเอง แต่มีเหตุและปัจจัยจากการทำงานหนักอย่างประณีตของคนไต้หวันเขา

อ.เล่าประวัติความเป็นมาว่า แรกนั้นคนไต้หวันเพียงเก็บหากล้วยไม้มาปลูกประดับบ้าน มีหลักฐานการเก็บกล้วยไม้ฟาแลนจากเกาะต่าง ๆ มาปลูกเลี้ยงเมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว ก่อนที่จะเริ่มมีหลักฐานการผสมพันธุ์ฟาแลนฯได้ที่อังกฤษ เมื่อปี ๒๕๐๐ จากนั้นก็เริ่มตื่นตัวกันทั่วรวมทั้งในไต้หวัน กระทั่งช่วงปี ๒๕๑๕ จึงเริ่มมีการนำเข้าสายพันธุ์สีสันต่าง ๆ จากนานาประเทศเข้ามา แล้วตั้งเนอรส์เซอรรี่เล็ก ๆ ผสมพันธุ์กันขนานใหญ่ บางรายเริ่มจดทะเบียนเป็นหลักเป็นฐาน กระทั่งอุตสาหกรรมน้ำตาลเห็นโอกาสจึงเข้ามาร่วมพัฒนาจนกล้วยไม้ฟาแลนของไต้หวันเริ่มออกสู่ตลาดโลกโดยได้รับการรับรองจากตลาดชาติต่าง ๆ ตามลำดับ ถึงขนาดก่อตั้งโครงการ TOP Taiwan Orchid Plantation Project หาที่ปลูกแปลงใหญ่ ๒๐๐ เฮคตาร์ พัฒนามา ๕ เฟสเมื่อปี ๒๐๐๒ เสร็จในปี ๒๐๑๑ เป็นคล้ายนิคมพิเศษของกล้วยไม้ที่บูรณาการเพื่อเสริสร้างความแข็งแกร่งของกิจการกล้วยไม้ไต้หวัน ทั้งงานวิจัยและพัฒนา การผลิตขนานใหญ่ การจัดแสดงและส่งเสริมการขาย ถึงขณะนี้จัดงานแสดงมาแล้ว ๑๐ รอบ สามารถเพิ่มยอดขายกล้วยไม้จากปี ๒๐๐๑ ถึงปี ๒๐๑๔ มากกว่า ๗ เท่า กล่าวคือในปี ๒๐๑๔ มียอดขายได้ถึง ๑๓๔ ล้านเหรียญอเมริกา ราว ๆ ๕,๐๐๐ ล้านบาทไทย

นอกจากพัฒนาสายพันธุ์ สีสัน รูปทรง การขยายพันธุ์ ฯลฯ รวมทั้งการตลาด เขายังทำเรื่องการขนส่ง การควบคุมโรค ตลอดถึงโอกาสการตลาด ต้นทุน คุณภาพ ฯลฯ ในลักษณะ Cluster ร่วมสำคัญของชาติ

(มีต่อ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//