เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 13 December 2016
- Hits: 1376
WU Volunteer to be Re-Considered
วลัยลักษณ์อาสากับภัยพิบัติที่ฝากพิจารณา
(bunchar.com 20161207_3)
เมื่อวานนี้ที่ผมจะตามไปส่งคณะพระธุดงค์ที่ป่าประในกรุงชิง
แล้วได้ทีมวลัยลักษณ์อาสาทั้งนักศึกษาคณาจารย์และเจ้าหน้าที่เป็นส่วนช่วยเพราะกำลังจะเข้าไปกันอยู่ก่อนแล้วนั้น
เมื่อถึงมณฑลธุดงค์ ก็พอดีเสร็จภารกิจกำลังจะกลับ ขณะพระท่านกำลังจะทำวัตรเย็น ผมได้จังหระกราบรายงานและแนะนำกับพระอาจารย์จรันแล้วจึงลาออกมาทั้ง ๆ ที่อีกใจก็อยากอยู่ภาวนาและนอนในนั้น ขณะเดียวกันพี่ไก่ หัวหน้ากิจการนักศึกษาสั่งว่า ให้ตามไปที่อาคารกิจกรรมนักศึกษาเพื่อทำ AAR กับพวกเขา โดยขอให้ผมช่วยถ่ายทอดบางบทเรียนด้วย
ผมก็เลยเอาของเก่าเก็บที่เคยทำครั้งคีรีวง ปี ๓๑ กับสึนามิอันดามัน ปี ๔๗ มาสรุปว่า มี ๓ แง่มุม
หนึ่ง การจัดการภัยพิบัตินั้นมี ๘ ประเด็น คือ การรู้เรื่องภัยและความเสี่ยง / การตระหนักตื่นตัว / การเตรียมพร้อมรับมือและฝึกซ้อมเสมอ / การลดระดับความเสียหายที่อาจจะเกิด / การปกป้องอันตรายหากจะเกิด / การช่วยเหลือกู้ชีพ / การบรรเทาทุกข์ และ สุดท้าย การฟื้นฟูกู้สภาพ ซึ่งจะมี ๓ ระยะทำการ คือ ก่อนเกิดเหตุ / ระหว่างกำลังเกิดเหตุ / หลังเหตุเกิดแล้ว
ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเรา มักทำกันหลังเกิดเหตุประเดี๋ยวเดียวก็เลิก คือการช่วยเหลือกู้ชีพและการบรรเทาทุกข์ จากนั้นก็ลืม ๆ รอเกิดใหม่ว่ากันใหม่ทุกทีไป
สอง หน่วยจัดการภัยพิบัตินั้น เท่าที่มีการศึกษาและสรุปไว้มี ๓ จำพวก คือ พวกติดที่ เช่น ชุมชน ท้องถิ่น เพื่อนบ้าน กลุ่มอาสาประจำถิ่นฯ / รัฐที่รับผิดชอบโดยเฉพาะจังหวัด อำเภอ รัฐบาล กรมกองต่าง ๆ และ พวกอื่น ๆ ที่มีใจ เช่นกาชาด เอ็นจีโอ สื่อมวลชน คนอาสา สมาคมสงเคราะห์การกุศล ฯลฯ
จากการศึกษา ทั้ง ๓ จำพวกมีความสำคัญทั้งนั้น ที่อยู่ใกล้จะรู้เรื่องมาก เข้าถึงที่ได้เร็วและคล่องตัว ทันการณ์ รัฐบาลต้องอำนวยเหตุการและสนับสนุนสั่งการได้ดี มีระบบข้อมูลที่ถูกถ้วนทันการไม่สับสน ในขณะที่พวกอื่น ๆ ก็ค่อยช่วยเสริมเติมเต็มส่วนที่พร่องและ ๒ พวกแรกรับมือไม่ไหว ทั้งนี้ที่ผ่านมาของประเทศไทยนั้น ทั้ง ๓ พวกยังไม่สันทัด เรียนรู้และพัฒนากันมากพอ มักเกิดความสับสนปนเป แต่อาศัยที่พวกที่สามมีมากและมะรุมมะตุ้มกันจนผ่านมาได้เป็นคราว ๆ แล้วเลิกเพราะหมดแรงและมิใช่หน้าที่ประจำ ในขณะที่พวก ๑ และ ๒ ก็ไม่ทำอะไรต่อ ก็วนกันอยู่อย่างนี้ไม่รู้กี่ทศวรรษแล้ว
สาม รูปการณ์จิตอาสาของสังคมไทยนั้น มีหลากระดับและลีลา ขอสรุปคร่าว ๆ เป็น ๔ ระดับ ๔ ลีลา คือ ระดับอาสาแบบไม่มีเงื่อนไขอะไรทำได้ทั้งนั้น / ขอทำแต่ที่พอไหว / ขอทำแต่ที่ถนัดและสันทัดเท่านั้น / และ ขอทำแต่ที่เลือกและต้องมีการรับรองต่าง ๆ ให้ เช่น ประกาศนียบัตร การถ่ายรูปทำข่าง ฯลฯ และลีลามาเป็นคน ๆ / มากันเป็นกลุ่มเป็นก้อน / มากันเป็นองค์กร บริษัท ห้างร้าน ชุมชน โรงเรียนฯ / และ มากันเป็นระบบที่มีการจัดการที่ดี
สำหรับวลัยลักษณ์ควรจะทำอะไรและอย่างไร ขอให้รู้ธรรมชาติความเป็นไปพร้อมกับความถนัดถนี่ของตนให้ได้ พร้อมกับวัตถุประสงค์ของตนด้วยว่าจะแค่ไหน ทั้งนี้ เมื่อปี ๕๔ วลยัลักษณ์เคยสร้างปรากฏการณ์และมีปฏิบัติการวิเศษเรื่องนี้จนได้รับการยอมรับ ชื่นชม และ ทุกฝ่ายยกให้เป็นพระเอกและศูนย์สำคัญมาแล้ว เพียงแต่ขาดการสานต่ออย่างน่าเสียดาย
ในวงหารือที่นอกจากพี่ ๆ ที่ปรึกษา และ อาจารย์ชี้แนะแล้ว ผมได้ยินนายกองค์การนักศึกษา อุปนายก ประธานสภา และ ผู้ประสานงานประดู่อาสา ยกประเด็นและหารือกันหลายอย่าง จนออกมาว่า จะเริ่มร่วมการเป็นศูนย์อาสา นำนักศึกษาออกไปร่วมด้วยช่วยกันไม่เพียงเฉพาะภัยพิบัติ แต่จะกับเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นสาธารณประโยชน์ ซึ่งผมเสริมเตมิว่าน่าจะพิจารณาเป็น ๓ ระดับ คือ อาสาไปทำตามที่จะร้องขอ / ขออาสาไปทำตามที่ นศ.สันทัดและมีความถนัด อันจะเป็นการเสริมสร้างทักษะและพัฒนาการการอาสาที่ยกระดับอย่างประสานกับการศึกษ วิชาการต่าง ๆ / และ มหาวิทยาลัยควรถือเป็การเชื่อมประสานความสัมพันธ์และผูกพันกับชุมชนอย่างจริงจังต่อเนื่องด้วย
ในเชิงประเด็น ผมเห็นว่ามหาวิทยาลัยน่าจะระดมสรรพวิทยาการความชำนาญเชี่ยวชาญของคณาจารย์ บุคคลากรและนักศึกษา พัฒนาเป็นชุดกิจกรรมเชิงวิจัย พัฒนา นวกรรมต้นแบบสำหรับจังหวัดท้องถิ่นเอาไปต่อ มากกว่าเพียงออกบรรเทาทุกข์เป็นครั้ง ๆ เพราะอย่างนี้ใครก็ทำได้ และอาจทำได้ดีและถนัดกว่า ประเด็นที่น่าพิจารณาอาทิ ระบบบอกพยากรณ์อากาศที่ประสานกับพื้นที่วันต่อวันว่าเป็นอย่างไร ซึ่งไม่น่าจะต้องทำอะไรยากและมากด้วยซ้ำ ดังที่คุณหมอรังสิตก็กำลังทำอยู่ ระบบการเกษตรบนที่สูงในแอ่งกรุงชิงและรายรอบเขาหลวงที่ไม่ทำให้หน้าดินพังทลายไม่อุ้มซึมน้ำไว้ได้ดังแต่ก่อน ระบบวิศวกรโครงสร้างตลอดจนการออกแบบที่ปกป้องการกัดเซาะตลิ่ง คอสะพาน ตลอดจนการเปิดช่องระบายระหว่างถนนท่ีกำลังกลายเป็นเขื่อนให้เพียงพอ ฯลฯ
ก็คิดออกเพียงเท่านี้ตามที่จะคิดเอาเองดดยไม่รู้หรอกว่าขณะนี้ในมหาวิทยาลัยมีความชำนิชำนาญเชียวชาญถนัดถนี่หรือชอบจะทำอะไรบ้าง
อย่างน้อยนักศึกษากะคนกลุ่มหนึ่งก็ตกลงจะตั้งเป็นศูนย์อาสากันแล้ว ประธานสภาฯ บอกว่า พวกผมมีเครือข่ายอาสาทั่วทั้งเมือง แม้กับนายกเทศมนตรีท่าศาลาก็ต่อได้ นายกองค์การฯ บอกว่าผมสนใจศึกษาขบวนการดับบ้านดับเมืองที่คุณหมอทำไว้มาก ในขณะที่ตอนที่ผมกำลังจะปลีกตัวกลับก่อน นศ.อีกคนบอกผมว่า ที่ตะกี้หารือกันว่าวันนี้จะออกอีกไหมต้องรอขอให้มีของพอก่อน ตอนนี้มีคนส่งมาถึงแล้วครับ ๕๐ ชุด พรุ่งนี้เกิน ๑๐๐ ให้ออกได้แน่ครับอาจารย์.
นี้แหละครับ พลังนักศึกษาคนหนุ่มคนสาว อะไรก็เกิดขึ้นได้ ลุยกันเลยนะครับ มีอะไรก็เรียกผมได้ครับ.
๗ ธค.๕๙