logo_new.jpg

ขอเชียร์บ้านเองที่น้ำกำลังท่วมในเทศกาลเที่ยวเมืองไทยสักหน่อย
Cheer the Flooding Southern Homeland
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170126_1)

ในฐานะที่เป็นคนใต้ (ที่น้ำกำลังท่วมท้นทั้งภาค)
แถมเมื่อวานเดินเข้าไปทางประตู ๒ ก็เจอพื้นที่ภาคใต้ก่อนเพื่อน และปีนี้มีการจำลองพระบรมธาตุเมืองนครมาประดิษฐานไว้ตรงกลาง แม้จะไม่งามสง่าอย่างที่น่าจะทำได้ดีกว่านี้ แต่ก็ยังดีกว่าปีก่อน ๆ ซึ่งผมจำได้ว่าท่าน ผอ.ททท.ภาคใต้เคยตามผมไปขอคำแนะนำที่ ททท.และผมเสนอว่าจะเสียดายมากหากในระหว่างที่ทางเมืองกำลังทำเรื่องมรดกโลกแล้ว ททท.ไม่ส่งเสริม จึงน่าจะเป็นในเหตุผลที่ ททท.เลือกทำนี้ในปีนี้ พร้อมกับมีศาลาเจ้าจำลองแม่ลิ้นกอเหนี่ยวด้วย

นอกนั้นมีอะไรหลายอย่างน่าสนใจไปหมดโดยเฉพาะย่านอาหารที่ผู็คนคลาคล่ำ แต่ที่ผมแวะเข้าไปทักทาย นั้น

๑) ผ้าย้อมสีมายาจากหน้าถ้ำคูหาภิมุขเมืองยะลา ที่บรรพบุรุษฝ่ายพงษ์พานิช-เลขะกุลไปบูรณะทำบันไดขึ้นพร้อมกับสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิก๋งทั้งสองไว้ในนั้น นิยมไปปีนป่ายวิ่งเล่นกันตั้งแต่เมื่อยังเด็ก ๆ ตอนนี้เขาตั้งกลุ่มผ้าย้อมสีธรรมชาติจาก "มายา" คือ "ขยะธรรมชาติที่มีคุณค่าสามารถเป็นปุ๋ยได้" นั้นเอง เคยไปอุดหนุนใหญ่ที่กระบี่จนเขายังจำได้ ใครว่างก็แวะไปนะครับ

๒) ผ้ามัดย้อมและลายเทียนจากคีรีวง ที่ "อารี ขุนทน" ทำกับกลุ่มและลูกหลาน พัฒนามาตามลำดับ ในฐษนะคนแนะนำยุยงส่งเสริมมาแต่เริ่ม ผมจึงได้ผ้าพันเอวลายเทียนสีสะตอกับหลุมพอมาผืนหนึ่ง กับผ้าไหมปนลินินลายสารพัดที่ขึงผนังนั้นด้วย สักวันจะจัดนิทรรศการผ้าสีธรรมชาติของคีรีวงที่ผมเก็บมาตั้งแต่ผืนแรกสุด สักครั้ง

๓) "ลูกไม้" ของนายโรจน์ที่คีรีวงวันนี้ ไปไกลมากจากแต่เดิม ดูกันเอาเองนะครับ

๔) ลิเพาโพธิ์เสด็จที่เลยสวนยวนแหลไปนิดเดียว ขึ้นชั้นประมาณนี้ในงานปีนี้

๕) สะดุดสุด ก็กลุ่มทอผ้ายกบ้านท่ากระจายที่สุราษฎร์ที่เคยตาม "หยอย" ไปช่วยเขาฟื้นฟูอยู่ระยะหนึ่ง งานนี้เขาเอาผ้ายกดิ้นเก่าเมื่อกว่า ๕๐ ปีก่อนมาแสดง พร้อมกับภาพของบรรพชนที่เคยทูลเกล้าถวายผ้าชุดเดียวกันนี้แด่สมเด็จฯ ที่สถานีรถไฟท่าข้ามเมื่อคราวเสด็จประพาสเมื่อประมาณ ๒๕๑๐ บอกว่าเป็นผ้ายกดิ้นเงินที่แต่ก่อนทอส่งขายมาเลเซียเสมอ ๆ จนกระทั่งทางนั้นเลิกสั่ง ก็เลยเลิกทอ ผมขอปันมาเก็บไว้ผืนหนึ่ง เพื่อเป็นตัวอย่างและเผื่อเอาไว้ทำผ้ากราบ ยกดิ้นทั้งผืน ส่วนที่ทอใหม่ยกไหมนั้น สำหรับผู้หญิงใช้กันได้นะครับ ได้รับพระราชทานตรานกยูงด้วย เจ้านี้บอกว่าทุกวันนี้เขายังทอผ้าแถบเพื่อส่งทางมาเลย์เอาไปทำแถบชุดทหาร สีเขียว แดง เหลือง อย่างที่เขาเอามาตัดเสื้อตัวนั้น

ไปเที่ยวแล้วอย่าลืมแวะพื้นที่ภาคใต้บ้านผมด้วยนะครับ.

อีกอย่าง หลานอารีที่อยู่ในร้านคนนั้น เป็นลูกของนายโหม่งที่เสียลูก ๒ คนกับน้ำท่วมหนักเมื่อปี ๓๑ แล้วทำใหม่ได้กลับมาเท่าเดิม ตอนนี้โตเป็นหนุ่มเป็นสาวสมบูรณ์แล้วครับ. คนหนึ่งนั้น ผมตั้งชื่อให้ด้วยแหละครับ ส่วนข้อมูลแนะนำพระธาุนคร ผมอ่านแล้วแปร่ง ๆ นะครับ

๒๖ มค.๖๐

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//