logo_new.jpg

สถานีนี้ที่ผมอดไม่ได้
This Station Should State Something
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170523_1)

เมื่อวานนี้ ได้รับภาพสวยมากนี้จากวังหีบ
เป็นภาพเมื่อแรกลงรถหนที่ ๓ ตรงสุดทางถนน
เพื่อเดินเท้าเข้า "วังหีบ"
พอดีมีไหล่เขาที่ถูกถากตัดจนเห็นหน้าดินชัด
ไหน ๆ ก็มากันเพื่อรู้จักแผ่นดินนี้
ผมก็เลยขอโอกาส บอกเล่าเรื่องผืนพิภพที่ยาวตลอดมาโดยคร่าว ๆ โดยเฉพาะตลอดแนวเทือกนครศรีธรรมราชและบันทัด ที่โผล่จากพะงัน-สมุย -แล้วไปลงที่ตะรุเตา-อาดังโน่น

ว่ามีแกนเป็น "แกรนิต-ไนส์" จากใต้โลกที่ถูกดันแรงมากตอนผืนแผ่นทวีปอินเดียลอยแยกมาจากแอฟริกามากระแทกผืนแผ่นทวีปยูเรเซียที่ใหญ่มากและเหนือกว่า จนเกิดรอยย่นยาวเป็นเทือกหิมาลัย-เอเวอเรสต์ ที่ทุกวันนี้แรงย่นยังไม่หยุด สูงอยู่ปีละเป็นมิลลิเมตร โดยรอยย่อนนี้ยาวทอดลงมาถึงเทือกเขาหลวงและบันทัดของเรานี้ด้วย

"หินแกรนิต" ที่ว่าแกร่งมาก ครั้งโดนแรงกระแทกและบิดดันครั้งใหญ่ ก็กลายเป็น "หินแปร" มีเนื้อในไม่เสมอ ตามที่เราเห็นเป็นเกล็ดสีนี่นั่นโน่นอยู่ข้างใน คนนครบ้านผมบอกว่า "นี่ หินค้างค็อก แลต๊ะ ผิวขรุขระตุปุ่มตะป่ำ ก้อนกำหลังดี ถูขี้ไคลชับแหม็ด"

แรก ๆ หินนี้ก็เป็นก้อนใหญ่ ที่เขาเรียกว่า "Boulder" ครั้นมาอยู่บนผิวโลกตื้นขึ้น ๆ ยิ่งเมื่อดินบนหน้าถูกลากไถจนกลานเป็นก้อนโดดหรือเป็นหนาน ผ่านร้อนหนาว-แดดร้อนน้ำเย็น ก็มีการขยาย-หด จนค่อย ๆ ร้าวและรานเป็นร่องที่ค่อย ๆ ขยายใหญ่ทั้งแนวนอนและตั้ง อย่างที่เขาเรียก "cleavage" จนกว่าจะแยกแตกเป็นก้อนหลากหลายขนาด จนย่อยยิบถึงกรวดและดินได้ในที่สุด ดังที่ปรากฏเห็นชัดตรงหน้าผานี้ ที่มีแรงมนุษย์เราเข้าไปถากถางและเสริมส่งให้แตกง่ายและพังได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิด "น้ำใหญ่" ที่ชะจนดินที่เป็นกรวดทรายมากจากหินชนิดนี้ที่กร่อนแตก จนชุ่มน้ำแล้วไหลง่าย แถมต้นไม้ใหญ่ที่มีรากลึกเหลือน้อยจนไม่พอที่จะสานเหนี่ยวเอาไว้ได้ ดังสามสี่ห้าต้นนี้ที่ไม่นานก็จะล้มลงมาพร้อมกับผานี้ก็จะพังด้วย

ประจักษ์พยานที่เห็นได้คือ "หินก้อน" ที่ไหลอยู่ตามสายธาร รวมทั้งที่ค้างอยู่ตามป่าดงและในสวนยางและผลไม้ต่าง ๆ ตลอดทาง ตามหลักแล้ว ก้อนใหญ่ไหลไปไม่ไกล ก้อนเล็กจนกระทั่งกรวดทรายก็ไปได้ไกลกว่าเป็นธรรมดา อีกประการหนึ่ง หากเป็นก้อนกลมกลึงหมดเหลี่ยมคม ท่านว่าน่าจะกลิ้งมาไกลจนกลมกลึง ก้อนที่แตกและมีแรงส่งไม่มาก เต็มไปด้วยเหลี่ยมคมนั้น น่าจะยังค้างอยู่ใกล้ ๆ กับแหล่งแตกครับ

ด้วยเหตุนี้ เชิงวิชาการจึงกำหนดค่าชั้นลุ่มน้ำจากค่าความชันของลาดไหล่เขา ยิ่งเป็นเขาหินแกรนิตไนส์ที่ผุกร่อนของละแวะนี้ด้วยแล้ว ยิ่งต้องระวังมาก เท่าที่อ่านและเรียนรู้มาจากหลายกลุ่มคณะเวลาเดินป่าเมื่อก่อน ผมพอประมวลได้ไว้อย่างนี้ครับ.

๒๓ พค.๖๐

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//