logo_new.jpg

ชีวิตแท้...ของป่าไทย
...ที่ใครไม่มอง...หรือมองก็ไม่ยอมเห็น
Unseen Forest of All Thai 
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20170529_2)

ผู้คนแทบทั้งนั้น
มี "วิสัย" และ "ทัศนะ" ต่อป่ากันคนละอย่างสองอย่าง
ลงเอยคือ "ทรัพยากร" ซึ่งมีสองที่สุดอยู่เสมอ ๆ
ทั้งเพื่อการสงวนรักษาพิทักษ์ไว้
และเพื่อการช่วงใช้พัฒนาให้สมค่า
ตาม "วิสัย" และ "ทัศนะ" ของข้าฯ

ผมเองนั้นก็มีทัศนะอันหลากหลาย
และใคร่ครวญเสมอว่า 
"ที่เหมาะควร คือ - สม หรือ สัมมา" นั้นคืออย่างไร

ตลอดเส้นทางตามสายธารวังหีบ
ผมสนใจมากกับ ๒ สิ่งนี้เป็นสำคัญ

เริ่มจากตรงหนานปริงที่พบ มังเร-เอ็นอ้า-โท๊ะ ฯ
สารพัดสายพันธุ์ จำได้ว่าตอนไปไต่คินาบาลูบนเกาะบอร์เนียว เขาบอกว่าเป็นพืชถิ่นแถบหิมาลัย-มาลายันที่หลากหลายมาก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melanostomata มีการศึกษาค้นคว้ามากในเมืองนอกว่าอาจจะมีอะไรวิเศษในนั้น แต่บ้านเราก็รู้จักกันแค่ว่า "ลูกกินแล้วปากดำแต่หรอย" กอแรกที่เจอนี้เป็นพันธุ์เลื้อย ดอกขาวน้อย ๆ ใต้ก้านเฟิร์นสวยดี

ถึงที่บนหนานตากผ้า เจออีกลูกยังกะพวกเดียวกัน ชาวบ้านเรียกว่าต้นอะไรลืมจดมาจำ แต่พอฉีกผล จึงพบว่าเป็นพี่น้องของมะเดื่อ

เดินสักพัก เจอดงที่ผมเรียกเอาเองว่า "เข้าพรรษาน้อย" เป็นตระกูลขิงข่ามหาวงศ์สำคัญสมุนไพร กำลังให้ดอกเหลืองที่ปลายต้น ด้วยนึกถึงดอกทางอีสานและเหนือที่ดอกนี้จะบานสะพรั่งหลังฝนแรก พอดิบพอดีกับกาลพรรษาและอาสาฬหบูชา จนได้ชื่ออย่างที่ว่านี้

ถึงตรงนี้ มีหนุ่มน้อยคนหนึ่ง อยู่ ม.๖ ที่เวียงสระ และขอตามมาด้วย ทราบว่ารักพืชมาก อยากมาดูเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าอนาคตจะเรียนเพื่อไปเป็นอะไรดี ถามผมว่า "ที่เป็นปุ่มอย่างนั้น มันอะไรครับ" "ก็เป็นรอยแผลเป็นที่เขาพยายามรักษาตัวเองจนปูดโปนอย่างที่บางคนเป็นปุ่มใหญ่บนหัวไหล่ หลังปลูกฝีไง, คล้าย ๆ กับที่คนชอบเสาะแสวงหาปุ่มมะค่าในป่าด้วย"

จากนั้นเจอดอกจิกร่วงเต็มทางเดิน แถมมีวาสนาสายพันธุ์แปลกกำลังชูช่อดอกเรียวมากอยู่กอหนึ่ง จนอดนึกถึง อ.ระพี สาคริกไม่ได้ โดยตามพื้นหินและไม้ผุก็เต็มไปด้วยหญ้ามอสกับไลเคนและซีแลกจีนาที่ชาวสวนบ้านผมชอบเรียกว่าหญ้ารังไก่ ส่วนกอ "สามแก้ว" ที่แสบคันมากนั้น ต้องคอยบอกให้หลีกหลบ ขณะที่ยังสงสัยไม่หายว่าทำไมจึงเรียกเจ้าต้นนี้ที่แสบคันมากอย่างนี้ "สามแก้ว-ตรีรัตนะ"

ตรงริมธาร มีมหาสะดำ หรือ Cyathea เฟิร์นยักษ์ที่หลงเหลือมาแต่ครั้งจูราสสิกเมื่อนับล้านปีก่อนโน้น แม้ไม่แน่นเป็นป่าอย่างที่ยอดเขาหลวง หรือเด่นอย่างที่เกาะเหนือ-เกาะใต้ในนิวซีแลนด์ แต่ที่นี่ก็มีก็แล้วกัน

จากนั้นก็เจอมะเดื่อน้อยอีกสายพันธุ์ ที่ช่อยาวน่ากินไม่แพ้ลูกฉิ่ง ส่วนกอหมายนาก็มีเป็นระยะ จนอดคิดถึงพ่อไม่ได้ เพราะเมื่ออายุไม่ครบ ๑๐ เคยเข้าป่าเขาเคี่ยมเขากลมกับคุณตา-พ่อแม่-น้าพา แล้วเห็นเป็นดอก จนอยากได้ แล้วพ่อก็ปีนขึ้นไปเอามาให้จนได้

แถบนี้ที่เป็นสวน พบไม้น้อย ๆ ที่ใต้โคนกำลังให้ดอกออกผล ม่วง ขาว เหลือง เคยค้นจนรู้แต่ลืมชื่อหมดแล้ว แปลกตากับ "กอสามร้อยยอด" อีกพืชดึกดำบรรพ์ที่มักเจอในป่าพรุบนที่ราบ แล้วทำไมมาเจอได้บนนี้ ? เช่นกันกับกล้วยไม้กลุ่ม Epiphyte ที่พบเห็นน้อยมากในป่านี้ ไม่รู้ว่าหายไปไหนหมด ? ในขณะที่มะไฟลิงอ่อน ๆ นั้น เปรี้ยวหอมอร่อยนัก

สำหรับเสน่ห์จันทน์นั้น เห็นแต่จันทน์เขียว ประปราย ในขณะที่ต้นสั่งทำ ที่มีใบเรียงกันสวยเป็นชั้น ๆ อย่างกับใครสั่งให้ทำไว้ ก็พบได้เรื่อย ๆ

สุดท้ายเจอเห็ดรา ยอดเลื้อยกับเถาวัลย์กำลังออกลูกสวยมาก จำได้ว่าคืออีกพืชตระกูลไทรที่ไต่แบบอิงอาศัยไม่กินพี่ที่พึ่งพิง แล้วออกลูกอย่างที่เห็นนี้

จบชุดนี้ด้วยดอกสีขาวมีห้าแฉก ตอนขึ้นเขาหลวงเมื่อ ๓๐ ปีก่อนโน้น พวกเราเรียกกันว่า "ดาวดิน" ที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับพ่อไผ่

ทั้งหมดนี้คือที่ผมสนใจในป่า...ดง...ดิบ
ที่ว่ากันว่าประกอบด้วย ๔ ชั้นชีวิต
หนึ่ง - เรือนยอดบนสูงของต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มและกำบัง สังเคราะห์สรรพอาหาร ออกดอกผลให้สรรพสัตว์พึ่งพาอาศัย รวมทั้งพืชพึ่งพิงทั้งหลายบนคาคบ พร้อมกับยึดโยงผืนแผ่นปฐพีไว้เท่านาน
สอง - พืชพุ่มหุ้มโลกลูกนี้ไว้ ประดุจดังฟองน้ำ
สาม - พืชคลุมผืนแผ่นปฐพีนี้อยู่
สี่ - พืชและชีวิตน้อย ๆ ในดิน

ดูกันไปแล้วก็คิดกันเอาเองนะครับว่าควรจะอย่างไร ? กันต่อไป ? 
ตามเหตุและปัจจัย...อัน "สม-(และ)-ควร"

๒๙ พค.๖๐

เริ่มจากตรงหนานปริงที่พบ มังเร-เอ็นอ้า-โท๊ะ ฯ
สารพัดสายพันธุ์ จำได้ว่าตอนไปไต่คินาบาลูบนเกาะบอร์เนียว เขาบอกว่าเป็นพืชถิ่นแถบหิมาลัย-มาลายันที่หลายหลาย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melanostomata มีการศึกษาค้นคว้ามากในเมืองนอกว่าอาจจะมีอะไรวิเศษในนั้น แต่บ้านเราก็รู้จักกันแค่ว่า "ลูกกินแล้วปากดำแต่หรอย" กอแรกที่เจอนี้เป็นพัธุ์เลื้อย ดอกขาวน้อย ๆ ใต้ก้านเฟิร์นสวยดี

 
 
ถึงที่บนหนานตากผ้า เจออีกลูกยังกะพวกเดียวกัน ชาวบ้านเรียกว่าต้นอะไรลืมจดมาจำ แต่พอฉีกผล จึงพบว่าเป็นพี่น้องของมะเดื่อ
 
 
เดินสักพัก เจอดงที่ผมเรียกเอาเองว่า "เข้าพรรษาน้อย" เ็นตระกูลขิงข่า กำลังให้ดอกเหลืองที่ปลายต้น ด้วยนึกถึงดอกทางอีสานและเหนือที่ดอกนี้จะบานสะพรั่งหลังฝนแรก พอดิบพิดีกับกาลพรรษาและอาสาฬหบูชา จนได้ชื่ออย่างที่ว่านี้
 
ถึงตรงนี้ มีหนุ่มน้อยคนหนึ่ง อยู่ ม.๖ ที่เวียงสระ และขอตามมาด้วย ทราบว่ารักพืชมาก อยากมาดูเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าอนาคตจะเรียนเพื่อไปเป็นอะไรดี ถามผมว่า "ที่เป็นปุ่มอย่างนั้น มันอะไรครับ" "ก็เป็นรอยแผลเป็นที่เขาพยายามรักษาตัวเองจนปูดโปนอย่างที่บางคนเป็นปุ่มใหญ่บนหัวไหล่ หลังปลูกฝีไง, คล้าย ๆ กับที่คนชอบเสาะแสวงหาปุ่มมะค่าในป่าด้วย"
 
จากนั้นเจอดอกจิกร่วงเต็มทางเดิน
 
แถมมีวาสนาสายพันธุ์แปลกกำลังชูช่อดอกเรียวมากอยู่กอหนึ่ง
 
โดยตามพื้นหินและไม่ผุก็เต็มไปด้วยหญ้ามอสกับไลเคน
ส่วนกอ "สามแก้ว" ที่แสบคันมากนั้น ต้องคอยบอกให้หลีกหลบ ขณะที่ยังสงสัยไม่หายว่าทำไมจึงเรียกเจ้าต้นนี้ที่แสบคันมากอย่างนี้ "สามแก้ว-ตรีรัตนะ"
 
ตรงริมธาร มีมหาสะดำ หรือ Cyathea เฟิร์นยักษ์ที่หลงเหลือมาแต่ครั้งจูราสสิกเมื่อนับล้านปีก่อนโน้น แม้ไม่แน่นเป็นป่าอย่างที่ยอดเขาหลวง หรือเด่นอย่างที่เกาะเหนือ-เกาะใต้ในนิวซีแลนด์ แต่ที่นี่ก็มีก็แล้วกัน
 
ส่วนกอหมายนาก็มีเป็นระยะ จนอดคิดถึงพ่อไม่ได้ เพราะเมื่ออายุไม่ครบ ๑๐ เคยเข้าป่าเขาเคี่ยมเขากลมกับคุณตา-พ่อแม่-น้าพา แล้วเห็นเป็นดอก จนอยากได้ แล้วพ่อก็ปีนขึ้นไปเอามาให้จนได้
 
 
แถบนี้ที่เป็นสวน พบไม้น้อย ๆ ที่ใต้โคนกำลังให้ดอกออกผล ม่วง ขาว เหลือง เคยค้นจนรู้แต่ลืมชื่อหมดแล้ว
 
 
 
แปลกตากับ "กอสามร้อยยอด" อีกพืชดึกดำบรรพ์ที่มักเจอในป่าพรุบนที่ราบ แล้วทำไมมาเจอได้บนนี้ ?
 
เช่นกันกับกล้วยไม้กลุ่ม Epiphyte ที่พบเห็นน้อยมากในป่านี้ ไม่รู้ว่าหายไปไหนหมด ?
 
กับเถาวัลย์กำลังออกลูกสวยมาก จำได้ว่าคืออีกพืชตระกูลไทรที่ไต่แบบอิงอาศัยไม่กินพี่ที่พึ่งพิง แล้วออกลูกอย่างที่เห็นนี้
 
จบชุดนี้ด้วยดอกสีขาวมีห้าแฉก ตอนขึ้นเขาหลวงเมื่อ ๓๐ ปีก่อนโน้น พวกเราเรียกกันว่า "ดาวดิน" ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับพ่อไผ่
 
 
 
 
 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//