logo_new.jpg

จากอีกสตรีอินเดีย ถึงสุวรรณภูมิ
Another Indian Lady on Suvarnabhumi
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20180303_7)
เมื่อหลังกลับจากอินเดียวันเดียว วันที่ ๒๕ กพ. อ.ปีเตอร์ สกิลลิ่ง บอกว่า ดร.สุจันทรา โกช Suchandra Ghosh จากอินเดียมาเมืองไทย ผมจึงประสานขอไปพบ
เพราะเธอกรุณาเขียนบทความว่าด้วยชาดกและจารึก ถึงสุวรรณภูมิให้ ในงานที่กำลังทำ โดยไม่ได้รู้จักกันมาก่อน เพียง อ.ปีเตอร์แนะนำให้ เป็นการพบชั่วครู่ เพราะเธอกำลังจะเดินทางกลับ
โดยนำหนังสือหลายเล่มไปมอบให้ตามวิสัยที่รู้ว่า คนสายพันธุ์นี้ ชอบนี้กว่าสิ่งใด และเธอก็เอ่ยออกปากว่า หากจะไปอีกเมื่อไร จะช่วยประสานให้ได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะที่ตามลุก
หรือ ตามรลิปติ เมืองท่าที่เชื่อว่าพระมหาชนกลงเรือมาสุวรรณภูมิ ตลอดจนเมือท่ารายทางที่พบหลายอย่างละม้าย ๆ ส่วนบทความของเธอนั้น
ผมจับความตามนี้ครับ “Sailing into Suvarnabhumi : View from Jatakas and Inscriptions” โดย Dr.Suchandra Gosh
เริ่มด้วยข้อความในสุสันธีชาดกที่ว่า “พ่อค้าจากภารุกัจฉะออกเรือสู่สุวรรณภูมิ...” แล้วตั้งคำถามว่าอยู่ที่ไหน ? โดยในฐานะชาวพุทธเถรวาทนั้น สุวรรณภูมิ
มีความหมายมากกว่าเพียงชื่อของดินแดนที่มั่งคั่ง แต่เป็นดินแดนที่ได้รับพรพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา ดังที่ปรากฏในทีปวงศ์ มหาวงศ์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๑)
มหากรรมวิภังค์ และ ศาสนาวงศ์ ที่นำมาซึ่งข้อค้นคว้าที่หาข้อยุติในหมู่นักวิชาการประวัติศาสตร์ทั้งในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้ว่าอยู่ที่ไหน
โดยเฉพาะไทยและพม่าที่ต่างก็เสนอว่าอยู่ที่รามัญเทศแดนมอญที่พม่าตอนใต้กับทวารวดีในภาคกลางของไทย ขณะที่มีข้อเสนอว่าสุวรรณภูมิคือภาคพื้นดินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยหาได้เป็นรัฐหรืออาณาจักรใดไม่ เป็นแต่เพียงอาณาบริเวณที่เลยอินเดียออกไป เป็นแหลม และคืออินโดจีน โดยที่บ่งชี้ว่าเป็นดินแดนอันมั่งคั่งนั้น อยู่ใน Surparaka ชาดก
และ มหาชนกชาดก คือเรื่องแรกนั้นกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหานาวิก ทายาทแห่งมหานาวิก แต่สูญเสียการมองเห็นจาก sea-breazes แล้วถูกขอร้องจากพ่อค้า ๗๐๐ คน
ที่พร้อมออกเดินทางไปแต่ขาดกัปตัน มาขอให้ช่วย ซึ่ง Supparaka กุมาร ผู้เป็นพระโพธิสัตว์นี้สามารถนำไปถึงและกลับมาพร้อมกับสินค้าสำเร็จ
ส่วนมหาชนกชาดกที่กล่าวถึงพระโอรสแห่งเมืองวิเทหะผู้ประสงค์จะเดินทางไปค้าขายที่สุวรรณภูมิเพื่อหาทรัพย์มากู้บัลลังก์ โดยนำเครื่องประดับ

เพชรนิลจินดาและไข่มุกของพระมารดาเป็นทุน โดยสันนิษฐานว่าออกเรือที่เมืองตามรลิปติซึ่งเป็นเมืองท่าเดียวทางฝั่งตะวันออกที่มาจากมิถิลาได้สะดวก และทั้งสอง
คือ ภารุกัจฉะบนฝั่งตะวันตก และ ตามรลิปติบนฝั่งตะวันออกนี้ เป็นจุดออกเรือสู่สุวรรณภูมิ และการเดินเรือนี้ต้องอาศัยกัปตันที่เรียกว่ามหานาวิก โดยจารึกเก่าที่สุด
ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ ที่กล่าวถึงภริยาของมหานาวิกนาม Sivaka ผู้สร้างเสาไอยกะถวายวัดในพุทธศาสนา พบที่ Ghantasala ทางตะวันตกของ Masulipatnam
ซึ่งมีระบุในหนังสือของโตเลมีในชื่อ Kantakassyla emporion อยู่ในรัฐชื่อ Maisolia ตามงานของโตเลมี และ Masalia ใน Periplus ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ทุกวันนี้คือ Masulipatnam
ในอานธรประเทศ นับเป็นอีกหลักฐานสำคัญว่าด้วยการค้าทางทะเลที่อานธรประเทศซึ่งน่าจะเดินทางไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่มีการพบเหรียญรูปเรือมีสองใบและวัวมีโหนก
ลักษณะเดียวกับเหรียญอานธร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๘ ที่ควนลูกปัด คลองท่อม จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งผลิตและการค้าระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๘ ประกอบ
กับการพบตราประทับทองคำมีอักษรอ่านว่า “พฤหัสบดีศรมสนาวิกสะ” แปลว่า “ของนายเรือพฤหัสบดีศรม” วนรอบตราภัทรบิฐ ที่บางกล้วยนอก อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๘ – ๑๐
และบางกล้วยนอกนี้ตั้งอยู่ใกล้ภูเขาทองที่เป็นเมืองท่าค้าขายทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรไทย-มาเลย์ และพบว่าเปรียบเทียบกัน sparse กับทั้งภูเขาทองและเขาสามแก้ว
โดยที่บางกล้วยนอกนี้ยังพบตราประทับหัวแหวนรูปม้า พุทธศตวรรษที่ ๕ ชิ้นส่วนคาเมโอโรมันยุคคลาสสิก รวมทั้งเงินรูปพระอาทิตย์ฉายแสงและศรีวัตสะซึ่งแสดงว่าบริเวณนี้
มีความสัมพันธ์กับเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโรมัน โดยพฤหัสบดีนาวิกะนี้เป็นพราหมณ์และน่าจะเป็นมหานาวิกะด้วย เนื่องจากนาวิกะทั่วไปจะไม่มีตรา
ขณะที่พฤหัสบดีนาวิกะนี้มีตราเป็นทองคำ อีกมหานาวิกคือพุทธคุปต์จากรักตมฤตติกามหาวิหารในเบงกอลตะวันตก พบที่ Seberang Perai ในมาเลเซีย
อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ก็ชี้ว่าทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียนี้มีมหานาวิกที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา นอกจากนี้ในแผ่นจารึกทองแดง Ahadanakaram
แห่งราชวงศ์จาลุกยะตะวันออก พ.ศ.๑๓๙๐ – ๑๓๙๒ มีถึง ๕ มหานาวิก เหล่านี้นำมาซึ่งคำถามว่าแล้วมหานาวิกเหล่านี้ไปค้าขายที่ไหน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งในระยะเดียวกับจารึก Ahadanakaram นั้นยังพบจารึกระบุว่ามีกลุ่มการค้าทมิฬที่มีชื่อเสียงขุดสระน้ำที่ตะกั่วป่า โดยสุวรรณภูมิหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่ง coveted
ในช่วงสหัสวรรษแรก สำหรับกษัตริย์ พ่อค้าและพระสงฆ์ เมื่อเชื่อมกับหลักฐานการมีมหานาวิกในเมืองท่าฝั่งตะวันออกของอินเดียและบนคาบสมุทรไทย-มาเลย์
จึงทำให้เรื่องราวของชาดกมีความแจ่มชัดขึ้น

๓ มีค.๖๑ ๑๗๐๐ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//