logo_new.jpg
#มรดกสุวรรณภูมิ ที่เตรียมไว้ แต่วานนี้ไม่มีเวลาพอ
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20200924_4)
นี้คือที่ผมเตรียมสำรองไว้ว่าหากพอมีเวลา จะได้เจาะลึกให้ได้เห็น ๆ
เมื่อไม่มีเวลา แต่มีช่องทางนี้ ก็ขอนำเสนอต่อก็แล้วกันนะครับผม
เหล่านี้ที่วงวิชาการจากหลากหลายดินแดนตามมาขอดูและทำการศึกษาค้นคว้า
จนได้ข้อมูลมาประกอบเป็นนานาความรู้ใหม่ว่าด้วยสุวรรณภูมิครับ
จากนานาสิ่งของเท่าที่พบ #บนคาบสมุทรภาคใต้ของไทย
จนถึง #จีน และราย #รอบอ่าวไทย ของเรา
ที่นำมาประกอบการศึกษา พบว่า ...
เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๒ ที่ ๓
อย่างที่เคยพบแตก ๆ ที่ #บ้านดอนตาเพชร และ #จอมบึง
และมีอยูใบหนึ่งสมบูรณ์มากที่ #บริติชมิวเซียม ชื่อ #ชามคูลู จากอินเดีย
แต่มาพบหลายใบลอยขึ้นมาจาก #คลองท่าตะเภาตีนเขาสามแก้ว ชุมพร
ตรงคอคอดกระฝั่งตะวันออกของไทยเรา
เหล่านี้ อ.เอียน กรุณาศึกษาและทำรายงานออกมามากมายแล้ว
และส่งให้งานสุวรรณภูมินี้ แล้วก็สิ้นชีพทันทีหลังส่งต้นฉบับให้ผม
๒) #วงแหวนแห่งโมริยะ หนึ่งเดียวที่พบแล้วนอกชมพูทวีป
อดีต ผอ.โบราณคดีอินเดียอาวุโสสูง ย้ำกับผมว่าเป็นการพบที่สำคัญมาก
เพราะที่พบแล้วในโลกนี้ ไม่กี่สิบอัน ล้วนในลุ่มคงคา ยมุนา ถึงตักสิลา
ในวงการศิลปะอินเดียโบราณบอกว่า หาก #เสาอโศก สำคัญในฐานะของใหญ่อย่างไร
วงแหวนนี้ ก็สำคัญเท่ากันในฐานะประดิษฐกรรมชิ้นเล็ก
ทำมาแต่สมัยพระเจ้าอโศก เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๓ - ๔
ชิ้นี้ พบจากการดูดทรายท้องคลองท่าตะเภาขึ้นมาขาย
แล้วไหลหล่นลงมานอกตะแกรงกรอง
๓) #ต่างหูทองคำองค์จักรวาทินสมัยศุงคะ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑
พบที่คอคอดกระฝั่งตะวันตก
คงไม่ต้องอธิบายว่าสวยสำคัญเพียไร เพราะในโลกนี้พบแล้วนี้เป็นชิ้นที่ ๓
อีก ๒ อยู่ที่ #NewYorkMetropolitanMuseumOfArt
แหม่ม
Anna Bennett
ศึกษาเอาไปเสนอที่เมืองจีนจนผู้คนตกใจใหญ่
๔) #กลักพระธาตุ จำนวนมากที่พบกล่านเกลื่อนสองฝังคอคอดกระ
ที่ท่านอาจารย์ศรีศักรนับว่าเป็นหลักฐานการมาถึงและค้าพระธาตุมาแต่ไหน ๆ
โดยเฉพาะ ๒ กลักวิเศษ ที่มีรูปทรงอย่างเดียวกัน
กับกลักพระบรมสารีริกธาตุที่พบที่ #กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งทุกวันนี้อยู่ที่ภูเขาทองไทย
ผมพบโยนทิ้งอยู่ที่โคนมะม่วงชายคาบ้านแล้วขอเก็บมาครับ
คนส่วนใหญ่นึกว่าผมนี้สนใจลูกปัด ๆ ๆ
แต่จริง ๆ แล้วผมให้ความสำคัญวัตถุวัฒนธรรมทั้งหมดที่คนไม่เห็นและให้คุณค่า
เฉพาะกลุ่มนี้หากดูดี ๆ มีรูปสัญญลักษณ์ และ อักขระโบราณจำนวนมาก
ทั้งหมดนี้เป็นรูปรอยสัญญลักษณ์จากอินเดียโบราณ
เมื่อกว่า ๑,๐๐๐ ปี - ๒,๐๐๐ ปีก่อนโน้น
ที่เป็นปริศนาต่อวงวิชาการแทบทั้งโลก
ถึงขนาดนักวิชาการหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตุว่า
อาจจะผลิตกันที่คอคอดกระแล้วส่งกลับไปใส่กลักพระธาตุกันที่อินเดียสมัยโน้น
ลองดูดี ๆ มีแท่งหินแกะอักษรพราหมีที่หอสมุดแห่งชาติสิงคโปร์
ล่าสุด พบอีกชิ้นมีรอยกะเทาะแกะค้าง
ที่ Harry Falk ปู่ครูที่เยอรมันบอกว่า นี้คือหลักฐานการรู้ภาษาและเขียนกันแล้วที่คอคอดกระนี้
พวกเราเพิ่งขอให้
Joe Cribb Ons
ภัณฑารักษ์อาวุโสแห่งบริติชมิวเซียมช่วยวิเคราะห์
ผลออกมาว่าจากชมพูทวีปโบราณกาลมากมายเลยไปถึงกุษานะ สาสะเนียน กรีกและโรมัน
ยาวลงไปทางอินเดยใต้จนถึงลังกา
ลึกเลยโมริยะไปอีกด้วย
ยังมีรายละเอียดอีกมากที่มาจากย่านเมดิเตอเรเนียน และไปพบพ้องที่จีน
โดยเฉพาะในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ร่วมสมัยโมริยะ และขณะที่สุวรรณภูมิรุ่งเรือง
รวมทั้งแหวนทองหัวเพชร ที่พบแพร่หลายในโลกโรมัน ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ มีการศึกษาวิเคราะห์กันไปไม่น้อย
และรอการศึกษาวิเคราะห์อีกมากมาย
ยิ่งหากไปรวมกับสรรพสิ่งที่พบในย่านอื่นอีก
เฉพาะประเทศไทยก็แทบไม่ไหว
ที่แม่กลอง-ท่าจีน / ลพบุรี-ป่าสัก / บางปะกง / มูล-ชี / เจ้าพระยา - ปิง - วัง ฯลฯ
เมื่อรวมกับในนานาเพื่อนบ้านรายรอบที่ร่วมสุวรรณภูมิด้วยกัน
ลองคิดดูว่าจะขนาดไหน
๒๔ กย.๖๓ ๑๘๕๕ น.
เซ็นทารา อุดร
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//