logo_new.jpg

อย่างไหนพุทธแท้ ... ?

WhatReallyBuddhist ... ?

(bunchar.com การพระพุทธศาสนา 20240531_1)

ในหนังสือ #ลอกคราบพุทธแท้ ที่มาจากงานวิจัยในอีกชื่อหนึ่งนั้น

ท่านเอามาแปลงชื่อใหม่จนผมเห็นว่าอาจทำให้การอ่าน

และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระก็น่าจะเปลี่ยนไปด้วยไหม ?

ในทัศนะของผมนั้นเห็นว่าการจะนิยามหรือกำหนดว่าอย่างไหนพุทธแท้นั้นไม่ง่าย

และง่ายมากที่จะว่ากันไปตามอัตวิสัยของผู้ที่จะพิจารณานั้น

อย่างเช่นในวันนั้น เท่าที่ผมลองยกมาสามสี่นัยยะอย่างนี้ว่า ...

๑) ผมเคยทูลถามองค์ดาไลลามะว่าพระองค์ทำอย่างไร

แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่ทรงแสดงจึงแผ่กว้างไปในโลก ?

ทรงตอบว่า พระองค์ไม่ได้วาง "พุทธ" ไว้เฉพาะ

ว่าคือศาสนาตามนิยามของชาวโลกที่เขานิยามกันมา

แต่ "พุทธ" มีความเป็นทั้งปรัชญา ทั้งวิทยาศาสตร์ และศาสนา

คือชวนให้มาถกเถียงทำความเข้าใจ แล้วท้าให้ทดลองทำการพิสูจน์

หากถึงขั้นเชื่อมั่นและศรัทธาจึงน้อมรับเป็นศาสนา

ซึ่งก็เป็นศาสนาที่แตกต่างจากแนวศาสนาโดยทั่วไปไม่น้อย

หากไม่ถึงขั้นศรัทธา ก็เอาไปประกอบการคิดอ่านหรือใช้ในชีวิตก็ยังได้

ซึ่งแนวนี้ ท่านอาจารย์พุทธทาสที่สวนโมกข์ ก็มีเขียนบันทึกไว้

ตั้งแต่ก่อน ๒๕๑๐ ที่พบปะและสนทนากับองค์ดาไลลามะด้วยครับ

๒) แล้วถามว่าพุทธของไทยเราวันนี้ ที่ว่าเป็นเถรวาทที่ส่วนมากถือกันว่าแท้นั้น

อันที่จริงแล้ว พุทธที่มาถึงแผ่นดินไทยเราวันนี้นั้น

มีหลักฐานว่าน่าจะมาถึงตั้งแต่ครั้งพุทธกาลหรือไม่ก็สมัยพระเจ้าอโศกแล้ว

โดยตอนนั้นยังไม่แยกเป็นวิถีวัฒนธรรมหรือนิกายไหน

และที่สำคัญไม่น้อย คือ มหายานก็เคยแพร่หลายมาก

เช่นในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย

แม้กระทั่งวัชรยานก็เช่นกัน อาจารย์เจ้าอย่างท่านอติสะมหาเถระ

ก็ยังมีหลักฐานการเดินทางมาเรียนจากอาจารย์เจ้าธรรมกีรติที่ศรีวิชัย

เมื่อร่วมพันปีที่แล้ว ก็น่าจะแถว ๆ นี้

๓) ที่สำคัญคือ ที่ไทยเรารับพระพุทธศาสนาไว้เป็นหลักของชีวิตและของชาติวันนี้นั้น

เราก็พิจารณารับและนำมาปรับเข้ากับวิถีชีวิตวัฒนธรรม

ที่มีหลากหลายมิติ นัยยะ ระดับ อย่างซับซ้อนและหลากหลายมาก

โดยเฉพาะในสังคมไทยทุกวันนี้

ก็มีการปรับขยับและปรุงกันสารพัดเรื่อยมานับพันปีจนสุดที่จะหลากหลาย

รวมทั้งมีการผสมปนกับวิถีวัฒนธรรมและคุณค่าสารพัด

๔) ในที่ประชุมสัมมนาครั้งหนึ่งเมื่อครั้งพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้

ที่รัฐอินเดียร่วมกัลอโศกมิชชั่นจัดขึ้น ณ กรุงนิวเดลี

มีตัวแทนชาวพุทธร่วม ๑,๐๐๐ ชีวิต จาก ๕๐ ประเทศไปชุมนุมกัน

บนเวทีหนึ่ง มีการอภิปรายในหวัข้อว่า นิกายไหนคือคำตอบ ?

หลังจบเวที ผมได้คุยกับ ศ.ชาวเยอรมันคนหนึ่งที่ขึ้นไปนำเสนอด้วย

ท่านบอกว่าในทัศนะของท่าน น่าจะเป็น TailorMadeนิกาย

คือเป็นแบบเฉพาะของแต่ละบุคคลที่พบว่า

คุณค่า "พุทธ" ตอบโจทย์ชีวิตชุมชนของเขา

แล้วก็เอาไปปรับใช้ในชีวิตชุมชนของเขาเหล่านั้นได้ ฯลฯ

สำหรับผมนั้น เมื่อได้พบเจอคุณค่าและได้รับประโยชน์ก็อยากจะบอกต่อ

โดยที่พวกเราที่ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ - สวนโมกข์กรุงเทพ

ทำกันมาก็แนวนี้ รวมทั้งที่พอจะร่วมแนวทางกันได้

ก็ร่วมไม้ร่วมมือกันทำกับกัลยาณมิตรที่เห็นด้วยและร่วมกันมาครับ

ส่วนว่าจะเป็นพุทธแท้แค่ไหน ? ลอกคราบอย่างไรกันได้นั้น

อยู่ที่เราท่านทั้งหลายจะใคร่ครวญและพิจารณา

สำหรับในหนังสือนี้ ผมได้อ่านละเอียด

และเก็บประเด็นมาเรียนรู้และปรับทำกันต่อให้ดียิ่งขึ้นกันต่อไปครับ

ยิ่งที่มีกล่าวถึงเรื่องเสรีนิยมกับประชาธิปไตยที่งานนี้มองว่า

" ... ติดกรอบกับดักโครงสร้างทางวัฒนธรรมแบบเก่า ... "

และเป็น " ... หลุมดำของพุทธศาสนาไทย ... " ฯลฯ

รวมทั้งพวกเราที่ #สวนโมกข์กรุงเทพ นั้น

ผมเห็นต่างมากมายกับข้อวิเคราะห์ของงานนี้

แต่เวลาไม่มีจะแลกเปลี่ยนครับ

ประกอบกับไม่คิดจะลงหลุมการตลาดของงานชิ้นนี้เท่าไหร่ครับ

๓๑ พฤษภา ๖๗ ๐๙๒๒ น.

บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1555144705380646&set=pcb.1555165195378597

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//