การพระศาสนา
- Details
- Written by Super User
- Category: งานศาสนา
- Published: 17 September 2016
- Hits: 2062
SomeMore Special for Mother
อีกพิเศษเพื่อแม่
(bunchar.com การพระศาสนา 20160912_4)
แม่ครับ ท่านฟูกิจที่เราเคยนิมนต์ไปที่บ้านกับคณะพระภิกษุนักศึกษาบาลีใหญ่ที่วัดจากแดง นำโดยพระอาจารย์มหาประนอม ธัมมาลังกาโร ครูบาอาจารย์ฝ่ายพม่ารูปสำคัญสุดรูปหนึ่งของเมืองไทย จะมาสวดคัมภีร์พิเศษนี้ที่ว่ากันว่ามีอานิสงส์มาก พระพุทธองค์ทรงแสดงและทำนายว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมถอย คัมภีร์นี้จะหายก่อน แต่ในงานแม่นี้ ท่านจะนำคณะ ๒๐ กว่ารูปมาสาธยาย เพื่อยืนยันว่าพระพุทธศาสนาจะยังไม่หายครับ.
ท่านที่สนใจ ขอเชิญไปร่วมกันสวดและฟังกันนะครับ คืนวันศุกร์สุดท้าย ที่ ๑๖ นี้ ตั้งแต่ ๑๗.๓๐ น.นะครับ
๑๒ กย.๕๙
เจริญพร
ญาติธรรมทุกท่าน
แจ้งทราบกำหนดการ สวดคัมภีร์มหาปัฏฐาน บำเพ็ญกุศล คุณแม่รัตนา พงษ์พานิช
ในวันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙ วัดธาตุทอง
ฝากประสานงานด้วย
พระมหาฟูกิจ ชุติปัญโญ
.....
พระจำนวน ๒๓ รูป
นำโดยพระอาจารย์มหาประนอม ธัมมาลังกาโร รองเจ้าอาวาสวัดจากแดง และนักศึกษาบาลีใหญ่
(ในนั้นมีพระเถระ ๓ รูป)
๑๗.๓๐ น. อธิบายเนื้อหาและอานิสงส์ของคัมภีร์มหาปัฏฐานพอสังเขป โดยพระอาจารย์มหาประนอม แล้วเริ่มต้นสวด ใช้เวลาสวดประมาณ ๑ ชั่วโมง
๑๘.๕๐ น. จบการสวด และร่วมเข้าพิธีตามกำหนดการของทางเจ้าภาพ
หมายเหตุ *** กำหนดเวลาเดินทางกลับ รอปรึกษาพระอาจารย์มหาประนอมในวันนั้นอีกครั้งหนึ่ง
มีหนังสือบทสวดคัมภีร์มหาปัฏฐาน ๘๐ เล่ม ตามนี้
คัมภีร์มหาปัฏฐาน
ปัฏฐาน แปลว่า ความตั้งอยู่โดยประการต่างๆ
ความหมายของปัฏฐาน ๔ นั้น
๑ เพราะอรรถว่า แสดงปัจจัยมีประการต่างๆ เป็นผู้อุปการะ
๒ เพราะอรรถว่า มีปัจจัยมากมาย อยู่ในปัฏฐานปกรณ์นี้
๓ เพราะอรรถว่า แจกธรรมีกุศล เป็นต้น ด้วยอำนาจปัจจัยมากด้วยกัน
๔ เพราะอรรถว่า เป็นคัมภีร์ที่ท่องเที่ยวไปของพระสัพพัญญุตยาณ
คำอธิบายของบทสวด
- กระบวนธรรมในคัมภีร์ปัฏฐาน
กระบวนธรรมปัจจัยทั้ง ๒๔ นี้เป็นธรรมสายกลางที่นับเนื่องอยู่ในหลักธรรมต่างๆ และสามารถโยงเข้าหาหลักธรรมอื่นได้
การสอนกระบวนธรรมปัจจัย ๒๔ นั้น มีมากในพระไตรปิฎก ใช้ศัพท์ที่แตกต่างกัน แต่แทนกันได้ คงความหมายเดียวกัน
ปัจจัยทั้ง ๒๔ เป็นกระบวนการตามธรรมชาติ แสดงให้เห็นถึงชีวิตที่ต้องเป็นไปตามกระแสแห่งการเกิดและดับอย่างสัมพันธ์กัน เป็นระเบียบ
ปรากฎการณ์ในกระบวนธรรมนี้ สามารถโยงไปถึงหลักธรรมที่เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอย่างอื่นได้ เช่น กฎวัฏฏะ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น
- ความเป็นมาของปัฏฐาน
ในพระไตรปิฎกเถรวาท ๔๕ เล่มของไทย คัมภีร์ปัฏฐานจะเป็นคัมภีร์ ๖ เล่มสุดท้าย ในส่วนของพระอภิธรรมปิฎก ตามหลักฐานกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์อยู่นั้น เมื่อทรงพิจารณาคัมภีร์ที่ ๗ คือ ปัฏฐาน จึงได้เกิดฉัพพรรณรังสี
หลังพุทธปรินิพพานกระบวนธรรมในคัมภีร์ปัฏฐานถูกนำขึ้นสู่สังคายนาครั้งแรก และสังคายนาเรื่อยมาถึงครั้งที่ ๓
คัมภีร์ปัฏฐานนี้เป็นคัมภีร์ที่พระพุทธองค์ ทรงพยากรณ์ไว้ว่า จะสูญสิ้นเป็นคัมภีร์แรก เพราะเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้ง สุขุมคัมภีร์ภาพ
โดยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องราวความเป็นไปของสภาพธรรมที่เป็นเหตุผลแก่กัน โดยนัยมากมายทั้งพิศดารและละเอียดสุขุมลึกซึ้งยิ่ง
อานิสงค์ของบทสวด
- ความสำคัญของคัมภีร์ปัฏฐาน
พระพุทธศาสนามีหลักธรรมสำคัญคือ ปัจจัย ๒๔ เป็นหลักธรรมสายกลาง ลึกซึ้งไม่เป็นไปในทางสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) และอุเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ)
เนื่องจากหลักธรรมนี้มีจริงอยู่ตามธรรมชาติ พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้ค้นพบแล้วนำออกมาเปิดเผยแสดง
ฉะนั้นหลักธรรมนี้จึงมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ดำรงคงตัวอยู่อย่างนั้น ไม่แปรผัน ไปตามกาลเวลา
กระบวนธรรมปัจจัย ๒๔ นี้ว่าด้วยอาการที่สิ่งที่ทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้นร่วมกันสัมพันธ์กันตามเหตุปัจจัย
แสดงให้เห็นธรรมชาติแห่งกระบวนธรรมปัจจัยด้านเกิดสมุทยวารและกระบวนธรรมปัจจัยด้านดับ
ดังนั้นถ้าผู้ใดก็ตามสามารถเข้าใจในคัมภีร์มหาปัฏฐานทั้งในแง่ของปริยัติ และในแง่ของปฏิบัติก็จะสามารถถ่ายถอนความเห็นผิดในสภาพธรรมทั้งปวงว่าเป็นสัตว์
เป็นบุคคล เป็นตัวตน เรา เขา และความเห็นของบุคคลนั้นก็จะเป็นความเห็นอันบริสุทธิ์ที่เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ
อันเป็นความบริสุทธิ์ที่ล่วงพ้นจากความสงสัยในนามรูปทั้งปวง ด้วยอำนาจปัญญาที่เกิดจากวิปัสสนาญาณ คือ ปัจจยปริคคหญาณ
คือญาณที่สามารถกำหนดถึงปัจจัยของนามและรูปได้ อันเป็นญาณที่สอง ในญาณ ๑๖
เมื่อเห็นธรรมทั้งปวงว่ามีเหตุปัจจัยแล้ว ความเห็นผิดทั้งสองอย่าง
คือความเห็นว่ามี ว่าเป็น ว่าเที่ยง คือสัสสตทิฏฐิ และความเห็นว่าไม่มี ไม่เป็น ขาดสูญ
คืออุจเฉททิฏฐิ เป็นอันโดนทำลายเพราะเข้าไปรู้สภาพของกระบวนการเหตุปัจจัยตามความเป็นจริง