เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 03 August 2024
- Hits: 168
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20240801_1)
คือไม่เคยรู้มาก่อนว่านานาป้ายบูชาที่ศาลเจ้านี้ก็ก๋งตันยิ้มจื้อเป็นคนสร้างถวาย
เมื่อวันงานที่ระลึกขุนบวรรัตนารักษ์และนางช้อย ๒๖ พฤษภาที่ผ่านมา
มีผู้รู้บอกว่าป้ายทั้งนั้นที่ศษลนี้ก็สร้างอุทิศโดยตันยิ้มจื้อ !!!
แต่อ่านอย่างจีนกลางว่า เฉินเยิ่นเสอะ ทำให้หลายคนต่อกันไม่ติดว่าใครกัน
ในการจัด #ตึกยาวบวรนคร ที่จะให้มีห้องหนึ่ง
ว่าด้วยเครื่องเทอดทูนสักการะของผู้คนบนแดนดินนี้
โดยจะมีหลายสิ่งของจากวังเจ้านคร ตลอดจนจากศาลเจ้าแห่งนายอำเภอจีนนคร
รวมทั้งจากศาลเจ้าพระกวนอูด้วย
เมื่อมีนี้ที่ศาลเจ้าม่าโจ้วด้วย จึงชวนกันไปดูกัน เพื่อทำอะไร ๆ กัน
กับพอดีปีนี้ ๑๐๐ ปี สมาคมพาณิชย์จีนนครศรีธรรมราช
ชาวคณะท่านเตรียมการทำอะไรหลายอย่าง รวมทั้งจะจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก
และ โกแอ๊ด สุธรรม ประสานขอมาบทความหนึ่ง
จึงเขียนเรื่อง #จีนนคร_กับบางเบาะแสที่ควรคิดทำอะไร
ในวาระ #๑๐๐ปีสมาคมพาณิชย์จีนนครศรีธรรมราช ตามนี้ครับ ...
... ศาลเจ้าแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานบันทึกที่แน่นอน คุณชวลิต อังวิทยาธรสรุปไว้ว่า “ ... จากหลักฐานต่าง ๆ ทำให้ประมวลได้ว่าตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา พิจารณาทางด้านภูมิศาสตร์บริเวณท่าตีน – ท่าวัง จะเห็นได้ว่าเป็นแหล่งที่เหมาะกับการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นอย่างมาก กล่าวคือบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของสันทรายนครศรีธรรมราชที่มีคลองท่าวังไหลตัดผ่าน ... เคยเป็นอู่เรือและเป็นปากทางสัญจรเข้าออกของเมืองนครมาก่อนตั้งแต่ยุคนครดอนพระซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา ... และในบริเวณนี้มีหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานที่แสดงถึงความเป็นชุมชนของชาวจีนอยู่มากมาย ... ได้แก่ (๑) โบราณวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของชาวจีนในท่าวัง - ท่าตีนที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงของจีน ตรงกับสมัยอยุธยามาจนถึงสมัยจงหัวหมิงกั๊วสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ (๒) แผ่นสลักหน้าหลุมศพ ๒ แผ่น เคยตั้งอยู่ด้านซ้ายของหัวสะพาน(ทางขึ้นสะพานยาว) ด้านมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดศรีทวีหรือวัดท่ามอญ และถูกย้ายไปอยู่ที่วัดประดู่ แผ่นหนึ่งระบุผู้ตายชื่อ เจิ้นเอ๋อ (แต้ฮั้ว สำเนียงแต้จิ๋ว) เกิดที่อำเภอกู่ มณฑลฮกเกี้ยน ตายสมัยรัชสมัยเฉียนหลง ปีติ่งเฉ่า(ตรงกับ พ.ศ.๒๓๐๐) อีกแผ่นหนึ่งผู้ตายชื่อจูตั่ง ชาวเมืองกานโถว มณฑลฮกเกี้ยน ตายสมัยรัชสมัยเฉียนหลง ปีที่ ๓๓ (ตรงกับ พ.ศ.๒๓๑๑) และ (๓) ศาลเจ้าหม่าโจ้ว ... ”
#ศาลเจ้าหม่าโจ้ว เป็นศาลเจ้าที่เคารพนับถือของชุมชนให้ความคุ้มครองในการเดินเรือสัญจรทางทะเล ภายในศาลเจ้ามีแผ่นป้ายไม้ขนาดใหญ่อยู่เหนือซุ้มประธานจารึกเป็นอักษรจีน 波扬不海 ออกเสียงว่า #ฮ่ายปุหยางปอ แปลความว่า “#ทะเลคลื่นสงบหรือทะเลไม่มีคลื่นเป็นอุปสรรค” ผู้บริจาคแผ่นป้ายชื่อ #เฉินเยิ่นเสอะ ชาวอำเภอเหยาผิง เมืองเฉาโจว(แต้จิ๋ว) จารึกในรัชสมัยกวางซี ปีที่ ๑๔ (ตรงกับ พ.ศ.๒๔๓๑) และอีกแผ่นเขียนว่า “ทะเลฟูเจี้ยนสงบไม่มีคลื่นเพราะความเมตตาของพระองค์ ผู้คนในเขตเทือกเขาเหมยโจวของฟูเจี้ยน ต่างมีความผาสุขและอายุยืนเพราะพระองค์” ถวายโดย #เฉินเยิ่นเสอะ ชาวอำเภอเหยาผิง เมืองเฉาโจว (แต่จิ๋ว) จารึกในปีติ่งไห้ รัชสมัยกวางซี (ตรงกับ พ.ศ.๒๔๓๐)
ซึ่งนาย #หลีซำเฮง ที่กล่าวถึงนั้น ก็คือ #ขุนนารถจินารักษ์ นายอำเภอจีนแห่งเมืองนครที่กล่าวถึงตามลำดับมาแล้วในบทความที่ผ่านมา ส่วนนาย #เฉินเยิ่นเสอะ ชาวอำเภอเหยาผิง (เอี่ยวเพ้ง) เมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) ผู้สร้างป้ายอักษรเชิดชูเล่าปี่ถวายไว้ที่ศาลเจ้ากวนอู และ นาย #เฉินเยิ่นเสอะ ชาวอำเภอเหยาผิง เมืองเฉาโจว(แต้จิ๋ว) ผู้สร้างป้ายอักษรถวายที่ศาลเจ้าหม่าโจ้ว ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ รวมกัน ๔ หรือ ๕ ป้ายในสองศาลเจ้านั้น คือคนเดียวกัน ปรากฏในบทความมาแล้วในชื่อของ #ตันยิ้มจื้อ จากอำเภอเหยี่ยวเพ้ง ซึ่งก็คือบิดาของนาย #ตันยิดเส็ง หรือ #ขุนบวรรัตนารักษ์ นั่นเอง ขณะที่นาย #หลีซำเฮง หรือ #ขุนนารถจินารักษ์ นั้น หลังจากนายตันยิ้มจื้อเสียชีวิตก็ได้กับ #อำแดงอิ่ม มารดาของ #ขุนบวรรัตนารักษ์ ขณะที่ #ลิ่มซุ่นหงวน คือลูกของนาย #ลิมเฮียนปู่ และเป็นน้องชายของอำแดงอิ่มนั่นเอง ...
บทความนี้ยาวถึง ๓๐ หน้า หากสนใจกรุณาติดตามต่อไป
หรือไม่ก็ไปตามขอหนังสือที่ #สมาคมพาณิชย์จีนนครศรีธรรมราช กำลังจัดพิมพ์ครับ
ส่วน ๓ ป้ายนี้ หารือกันวานนี้ลงตัวครับ
KunMee D. Singha รับลูกที่ James Wisit กับ Kaewtrakan Junlabon
จะสร้างสรรค์ให้ครับผม
แล้วตามไปดูกันที่ #ตึกยาวบวรนคร #บวรนคร ที่ #ท่าวังเมืองนคร ครับผม
๑ สิงหา ๖๗ ๐๙๒๔ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1593591334869316&set=pcb.1593597761535340