logo_new.jpg

ตอนที่ ๑๑.๑ ที่อีกมหาวิหาร "กัณฑะปาเล" ในหุบเขาแห่งอชันตาตะวันออก ที่คนอินเดียแปลงเป็น "ธรรมะลิงเกศวร" แล้ว รายงานการศึกษา ต้นทางพระพุทธศาสนาในอินเดียสู่อู่ทอง ที่ลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวารี ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอินเดียสมัยอมราวดี และดินแดนทมิฬนาดู ที่ส่งราชนาวีมาถล่ม (ทวารวดี ? และ) ศรีวิชัยจนล่มสลาย เย็นมากของวันนั้น หลังพ้นเขตกลิงคะในลุ่มแม่น้ำโคทาวารีและชายฝั่งวิสาขปัฏนัมที่ต่อแดนแคว้นโอริสสา สมรภูมิสำคัญที่พระเจ้าอโศกลงมาปราบ ผู้คนล้มตายหลายแสน จนได้คิดจากบาปหนักที่ทรงกระทำ หันมาถือพุทธ เปลี่ยนแปลงจากจัณฑาลอโศกมาเป็นธรรมาโศก แล้วเผยแผ่ธรรมขนานใหญ่ดังที่เห็นร่องรอยสถูปเจดีย์วิหารวัดวาอารามมากมาย หลายองค์เชื่อกันว่าคือส่วนของ ๘๔,๐๐๐ สถูปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ที่พระองค์ให้ขุดออกมาแบ่งและสถาปนาให้ทั่วทั้งชมพูทวีป ที่น่าแปลกใจมาก ๆ ว่า ทำไมมีแต่บนยอดเขา และล้วนแต่ยิ่งใหญ่กว้างขวาง คำตอบเบื้องต้นคือ เพราะบนยอดเขาคนยังไม่ขึ้นมาบุกรุก จึงคงพอเหลือบ้างอย่างที่เห็น ส่วนในที่ราบนั้นนอกจากถูกรื้อค้นขุดหาของและเอาวัสดุไปใช้ซ้ำแล้ว ยังมีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและชุมชนซ้อนทับกันมาเป็นพันปี จึงไม่เห็นได้ง่ายนัก ที่สำคัญคือในยุคปลายพุทธกาลที่เริ่มมีการอยู่ประจำพรรษา สร้างอาราม มหาวิหาร พระราชามหาเศรษฐี พ่อค้า ผู้คน ฯ พากันทำบุญถวายนั้น หนังสือหลายเล่มบ่งชี้ว่า ค่อย ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในวงพระพุทธศาสนา จากศรัทธาที่เพิ่มพูน เกิดเป็นสังฆะขยายตัว สั่งสมสารพัด ที่สำคัญคือกลุ่มพ่อค้าที่ศรัทธามากมาผสมผสาน มหาวิหารขนาดใหญ่ที่เห็นต้องมีปัจจัยบำรุงเพียงพอ ดังที่หลายวิหารพบคลังพัสดุขนาดใหญ่จนหลายฝ่ายสันนิษฐานว่าอาจเป็นคลังสินค้าเพื่อการค้าขายของคณะสงฆ์และศรัทธาแห่งอารามนั้น ๆ ซึ่งชวนให้นึกถึงที่กำลังเป็นกันอยู่ที่เมืองไทยทุกวันนี้มาก ๆ สิ่งนี้อาจเป็นอีกร่องรอยแห่งการโรยราของพระพุทธศาสนา "ทางธรรมและวินัย" ของอินเดียเมื่อพันกว่าปีก่อนในท่ามกลางสิ่งเสมือนว่ารุ่งเรือง "ทางวัตถุ" ที่ไทยเราก็ดูเหมือนว่าจะเป็นอย่างนั้นยุคแล้วยุคเล่า รวมทั้งยุคสมัยนี้ที่เห็นเป็นกันอยู่โดยทั่วไป มหาวิหารแห่งนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาที่มีชัยภูมิสถานพิเศษมากกว่าโค้งเกือกม้าอย่างที่เขาว่ากัน เพราะเป็นปีกกากว้างมาก ตลอดแนวไหล่ใกล้ยอดทีคูหาวิหารที่แกะจำหลักอย่างหลากหลายแบบและสภาพ ทั้งเรียบ ๆ และวิจิตร ทำให้เหมือนโครงสร้างไม้ก็มี เป็นเพียงกุฏิคูหาวิหารที่พัก กระทั่งเป็นสถูปวิหารการบูชาประทักษิณ รวมทั้งที่สึกกร่อนผุพังตามกาลเวลา บนยอดเนิน มีลานทั้งมหาสถูป ทั้งมหาวิหาร ทั้งสถูปวิหาร รวมทั้งสถูปน้อยเต็มไปหมด เสาหินบางหลักที่ยังอยู่ พบมีจารึกด้วย เฉพาะองค์สถูปศิลาในวิหารอิฐองค์บนยอดสุดนั้น วิเศษสุด ร่มฉัตรศิลายังอยู่อย่างสมบูรณ์เหลือเชื่อ เช่นเดียวกับอีกองค์สถูปศิลาในคูหาวิหารที่แกะจากหินเขาทั้งก้อนเข้าไป แถมยังทำเป็นครีบคร่าวโครงหลังคาอย่างกะที่นิยมทำด้วยไม้ไว้ให้เห็นได้ด้วย เชื่อว่าเมื่อสมัยนั้น คงไม่เป็นเพียงหินอย่างนี้ คงมีการประดับตกแต่งด้วยสีสันและนานาของเลอค่าเต็มไปหมด อย่างที่นิยมในมหาวิหารวัดไทยเวลานี้เป็นแน่แท้ ทั้ง ๒ สถูปนี้แหละที่คนอินเดียพากันแปลงว่าเป็น ธรรมลึงเกศวร คล้าย ๆ กับที่ทุกวันนี้คนไทยที่บอกว่าเป็นพุทธก็พากันนิยมบูชา พระเจ้าก็พากันเป็นไปกับเขาด้วยไม่น้อยแล้ว ขอฉายภาพให้ดูตามขั้นตอนการเดินขึ้นไปจากภาพที่ ๔ มีป้ายอธิบายของ ASI แล้วก็ภาพถ่ายดาวเทียมพอเห็นภูมิสถาน พอพ้นขั้นบันไดสูงชัน พบคูหาสถูปวิหารที่มีซุ้มหน้าแกะหินเขาจำลองงานไม้อินเดียโบราณ ภายในเป็นสถูปศิลาขนาดใหญ่ที่แกะจากหินเขาลูกเดียวกันนี้ มีทางประทักษิณรอบ บนฝ้าแกะหินเขาเป็นครีบอย่างงานไม้ ปากประตูเขาปิดเปิดเป็นเวลาเพื่อป้องกันความเสียหาย ทุกวันนี้คนอินเดียบูชาเป็นศิวลึงค์แล้ว ถัดขึ้นไปรายทางตามไหล่เขาเป็นวิหารพำนักอย่างสังฆาราม มีทั้งที่เป็นโถงกลางและห้องย่อย ชุดแรกนี้สภาพเดิมยังคงอยู่ดูรู้ว่าน่าจะไม่ธรรมดา ชอบใจแม้ร่องคูระบายน้ำออกมาจากถ้ำคูหา พ้นแนวคูหาสังฆารามขึ้นไปพบเป็นเนินยอดเขา มองลงไปเป็นหุบอ่าวอันแสนสงบสัปปายะ คล้าย ๆ กันอีกหลายที่ รวมทั้งที่เขาคิชฌกูฏ อชันตา เอลลอร่า อู่ทอง ภูพระบาท ภูปอภูค่าว ถ้ำพระ ที่เมืองไทย สมัยทวารวดีที่น่าจะสืบเนื่องกับแดนนี้ ฯลฯ ไม่มากก็น้อย คูหาวิหารบนเชิงเขาชุดซ้ายมือผุกร่อนมากแล้ว แต่มองอออกไปเป็นสันเขายาวออกไปที่อีกยอด เป็นปีกกามีมหาสถูปโดดเด่นอยู่ลิบ ๆ มีลานวิหารและทุ่งสถูปให้เดินผ่านไป เสาหินขนาดใหญ่ยังเหลืออยู่หลายหลัก ทิ้งรอยจารึกจำหลักไว้มากมาย ระบุได้ว่านี้คือราวรั้วของสถูปวิหารที่นี่ ไม้รู้กี้องค์กี่หลัก หากยังสมบูรณ์จะสัดเท่าไหร่ แถมลายจำหลักตามสถูปก็พอมีเหลือให้เห็น เช่นรูปหม้อน้ำมงคล แม้กระทั่งดอกประจำยามอย่างที่ไทยเรายังใช้กันอยู่ แถมมีบ่อน้ำอยู่ด้วย ที่สำคัญคือองค์มหาสถูปหลังที่มีวิหารครอบอยู่นั้น เป็นศิลาประกอบทั้งองค์ ร่วมฉัตรชั้นเดียวยังประดิษฐานอยู่อย่างสมบูรณ์ เมื่อก้มกราบเบญจางคประดิษฐ์น้อมรำลึกถึงคุณและสามัญญลักษณะโดยเฉพาะความเสื่อมไปเป็นธรรมดา แล้วหันกลับไปยังทิศที่เพิ่งผ่านมา กัณฑะปาเล แห่งนี้ที่ว่ากันว่าเป็นอชันตาแห่งอินเดียตะวันออกนั้น ผมรู้สึกว่าน่าจะยิ่งกว่า เพราะชุยภูมิสถานเป็นยิ่งกว่าเกือกม้า แต่เป็น ๒ ปีกกาที่มี "สะพานธรรมของทุ่มเจดีย์" เชื่อมเข้าด้วยกัน ตามไหล่ใกล้ยอดเขาแทบทุกทิศ เต็มไปได้คูหาวิหารที่ไม่มีทั้งทางและเวลาเดินสำรวจ (กรุณาติดตามภาพประกอบชุดต่อไปครับ)

 

 
รูปที่1
 
รูปที่2
 
รูปที่3
 
รูปที่4
 
รูปที่5
 
รูปที่6
 
รูปที่7
 
รูปที่8
 
รูปที่9
 
รูปที่10
 
รูปที่11
 
รูปที่12
 
รูปที่13
 
รูปที่14
 
รูปที่15
 
รูปที่16
 
รูปที่17
 
รูปที่18
 
รูปที่19
 
รูปที่20
 
รูปที่21
 
รูปที่22
 
รูปที่23
 
รูปที่24
 
รูปที่25
 
รูปที่26
 
รูปที่27
 
รูปที่28
 
รูปที่29
 
รูปที่30
 
รูปที่31
 
รูปที่32
 
รูปที่33
 
รูปที่34
 
รูปที่35
 
รูปที่36
 
รูปที่37
 
รูปที่38
 
รูปที่39
 
รูปที่40
 
รูปที่41
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//