เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 30 March 2016
- Hits: 2237
ขึ้นเขาเข้าอารามพระพุทธ ณ สังฆาราม ที่กลายเป็นลึงคบรรพตของคนอินเดีย รายงานการศึกษา ต้นทางพระพุทธศาสนาในอินเดียสู่อู่ทอง (๗) ที่ลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวารี ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอินเดีย สมัยอมราวดี และดินแดนทมิฬนาดู ที่ส่งราชนาวีมาถล่ม (ทวารวดี ? และ) ศรีวิชัยจนล่มสลาย เปลี่ยนแผนเมื่อยังไม่ทันเริ่ม ตามกำหนดการวันนี้ เดิมจะไปถึง ๕ แห่ง แต่เมื่อเย็นวานนี้คุณราณี ที่ปรึกษาของการเดินทางรอบนี้เธอขอเปลี่ยนแบบเราไม่ต้องคิดอะไรเพราะเธอบอกว่าต้องเปลี่ยนก็เปลี่ยน จากเดิมจะไป Vempadu, Veeralametta, Nellipudi และ Vazrakutam ซึ่งหาข้อมูลที่ไหนไม่ได้เลย มาเป็น Sankaram, Kodavali และ Yerravaram ซึ่งน่าจะสำคัญกว่า เพราะมีรายชื่อในบัญชี (ตามแผนที่) อันดับที่ ๕ และ ๘ เฉพาะ Sankaram มีการระบุไว้ในเอกสารหนังสือแทบทุกฉบับแต่ไม่มีในรายการเดิม เรียกว่าเปลี่ยนเป็นดีกว่าเดิม เช่นเดียวกับอีกแห่งคือ Ghantasala ในบัญชีลำดับที่ ๑๑ ซึ่งสำคัญมากแต่ก็ไม่มีในรายการเดิม และคณะไทยเราอดไปแน่นอน ไม่สามารถปรับอะไรได้ด้วยจะเสียเส้นทาง วงหารือที่สนมหน้าบ้านคุณราณีเมื่อเย็นวันที่ ๒๓ กพ. และ แผนที่พุทธสถานสำคัญในอานธรประเทศ รวมแล้วตามกำหนดการเดิมระบุว่าจะแวะรายทาง มี ๑๙ แห่ง คือ ๒๓ กพ.-Thotlakonda, Bovikonda, Pavuralakonda, ๒๔ กพ.-Vempadu, Veeralametta, Nellipudi, Vazrakutam, ๒๕ กพ.-Guntupalli, Kantamanenivarigudem, Pedavegi, ๒๖ กพ.-Jaggayapeta, Gummadidurru, Alluru, Undavilli, และ ๒๗ กพ.-Chebrolu, Mallepadu, Bhattiprolu, Motupalle, Chinaganjam (คณะนานาชาติต่อในวันที่ ๒๘ กพ.- Chandavaram, Dupadu, Chejarla) ในจำนวนนี้มีที่ปรากฏในบัญชี (ตามแผนที่ข้างต้น) เพียง ๖ แห่งเท่านั้น (ตัวหนาและไม่นับอมราวดีกับนาคารชุณโกณฑะ) โดยไม่ทราบว่าต่อจากวันนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกไหม เท่าที่รู้แน่ ๆ คือไม่ได้ไป Ghantasala แน่นอน Sankaram สังฆาราม คือ พุทธอาราม Boudha-arama บนเขาของพระพุทธเจ้า เช้าวันนี้นับเป็นการเดินทางไกลของจริง ด้วยรถ Traveller ๑๑ ที่นั่งซึ่งคณะฝรั่งกับไทยไปด้วยกัน ๘ คน กับคณะของโรเบิร์ตอีกคัน จากประสบการณ์เมื่อวาน วันนี้พวกเราไม่มองหาอะไรนอกจากเนินเขา คุณราณีบอกว่าแต่ก่อนก็น่าจะมีพุทธสถานในที่ราบเช่นกัน เพียงแต่ตามเวลาที่ผ่านมานับพันปี ได้มีคนอินเดียเข้าตั้งถิ่นฐานทับซ้อนตลอดจนน่าจะมีการรื้อเอาวัสดุต่าง ๆ มาใช้ซ้ำจนหาพบได้ยาก ชวนให้นึกถึงที่อู่ทองและอีกหลายสถานที่ในเมืองไทยที่มีสภาพไม่ต่างกัน เพียงแต่ว่าเมืองไทยคนไม่มากเท่าที่อินเดียจึงยังมีเหลือสภาพไว้มากกว่า ดังเช่นที่อู่ทองซึ่งยังมีทั้งบนเขาและพื้นที่ราบ ส่วนจะพบรอยอะไรเปรียบเทียบกันได้หรือไม่ จะต้องดูกันต่อไป
เป้าสนใจของ อ.ดร.สฤษดิ์พงษ์ อยู่ที่หม้อดินมีสันของคนอินเดียที่ทุกวันนี้ยังทำใช้กันอยู่ ทำไม ? เป้าหมายอยู่ที่เขาข้างหน้า กับป้ายหน้า Sankaram สำหรับพุทธมหาวิหารที่ Sankaram แห่งนี้ วิกิพีเดีย และ Buddhist India Rediscovered บอกว่าเป็นเนินเขา ๒ ลูก ตั้งอยู่กลางทุ่งข้างหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมลำคลองสายใหญ่ที่อาจเป็นทั้งแหล่งน้ำการเกษตรและเส้นทางสัญจรโบราณ โดยชื่อนี้ที่อ่านได้ตรงตัวว่า สังฆาราม นั้น เขาว่าเพี้ยนมาจาก Boudha-Arama ของชาวพุทธ เช่นเดียวกับชื่อเขาลูกตะวันออกที่เรียกกันว่า Bojjanna-konda หรือ เนินเขาพจน ที่เขาก็ว่าเพี้ยนมาจาก Boudini konda หรือ Hill of the Buddha มีมหาสถูปแกะจากหินทั้งก้อนที่อาจจะใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบแล้วและเคยเห็น พร้อมลานประทักษิณและสถูปบริวาร กับคูหาวิหารน้อยใหญ่ แล้วยังมีมหาวิหารอยู่เคียงข้างบนยอดเนินจนหลายฝ่ายสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นต้นแบบของมหาสถูปที่บรมพุทโธบนเกาะชวาโน่น ส่วนลูกตะวันตกที่เต็มไปด้วยสถูปน้อยใหญ่ที่แกะจากหินจนแขกดูเป็นอย่างอื่นไม่เป็นนอกจาก "ลึงค์เทพ" ของเขา จึงเรียกว่า Lingalakonda หรือถ้าเป็นไทยเราก็อาจจะเรียกว่า ลึงคบรรพต เพียงแต่ทุกวันนี้ที่เรียกกันว่าลึงคบรรพตหรือสวยัมภูบรรพตอย่างที่วัดภูหรือเขาคาเมืองนคร มีการให้ความหมายซ้อนเข้าไปอีกว่าต้องเป็นหินธรรมชาติที่เหมือนลึงค์เท่านั้น หากมนุษย์แกะอย่างนี้ไม่นับ ที่นี้ Alexander Rea มาทำการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๐ พบหลักฐานต่าง ๆ มากมายนอกจากสถูปวิหารถ้ำต่าง ๆ แล้ว ยังมีเหรียญทองแดงราชวงศ์จาลุกยะตะวันออกกว่า ๗๐ อัน ตราและตราประทับ ดินประทับอักขระคาถาธาริณี เหรียญสาตวาหนะ เหรียญทองพระเจ้าสมุทรคุปต์ พระพุทธรูปและพระวัชรสัตว์ วิกิพีเดียว่าพบ numerous monolithic stupas, rock-cut caves, chaityas and monasteries forming one of the most remarkable Buddhist establishments in Andhra Pradesh during the period of 4th to 9th Century CE เรียกว่าต่อพอดีจาก ๓ พุทธมหาวิหารบนเนินเขาริมฝั่งทะเลทั้งสามเมื่อวานนี้ โดยรวม เขาสรุปว่าพระพุทธศาสนามารุ่งเรืองอยู่ที่นี่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗ ถึง ๑๕ หรือ ๑๖ เรียกว่าต่อเนื่องจากทั้ง ๓ มหาวิหารที่แวะไปมาเมื่อวานนี้อีก ๑,๐๐๐ ปี มีทั้งหินยาน มหายาน และ วัชรยาน วิกิพีเดียบอกว่ามีหลักฐานแสดงว่ามีการจัด พิธีวิสาขะปูรณมี กันที่นี่ในสมัยโบราณด้วย ที่สำคัญและถ้าไม่ได้มาจะเสียท่ามากเพราะที่นี่มีทั้งความพิเศษแตกต่างรวมทั้งความใหญ่อย่างไม่เหมือนใครในหลายแง่มุม โดยเฉพาะสถูปแกะจากหินทั้งก้อนที่มีมากมายหลายขนาด องค์หนึ่งนั้นอาจจัดว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยรู้เห็นมา บางเอกสารระบุว่าอาจจะเป็นต้นแบบของบรมพุทโธที่เกาะชวาด้วย แถมยังมีคูหาวิหารแกะเข้าไปในเขาอีกหลายคูหา คูหาหนึ่งมีสถูปหินอยู่ข้างในพร้อมกับฉัตรหินด้วย ตอนนี้ องค์กรชื่อ The Indian National Trust for Arts and Cultural Heritage (INTACH) ของอินเดียกำลังดำเนินการเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับอีก ๓ แห่งบนยอดเขาริมทะเลที่ไปมาเมื่อวานนี้ คูหาวิหารประดิษฐานสถูปศิลา เขาพระพุทธเจ้าลูกตะวันออก เห็นโขดหินและรอยแกะสลักตะปุ่มตะป่ำเป็นถ้าและสถูป ขึ้นบันไดไปถึงถ้ำชั้นแรก มีซุ้มประตูพระพุทธเจ้าและทวารบาล มีถ้ำอีกชั้นอยู่ด้านบน คูหาวิหารในถ้ำชั้นแรก มีเสารอบและสถูปศิลาบนฐานสี่เหลี่ยม เหนือสถูปมีฉัตรหินติดอยู่บนเพดานถ้ำ ที่โคนของสองเสาหน้า มีรูปสลัก ยักษ์ เทวดา ทวารบาล หรือ โพธิสัตว์ ? ฐานสถูปเป็นชั้น ๆ รอบเรือนธาตุมีฐานยกอีกชั้น กั้นเป็นช่อง ๆ ด้านบนมีบัลลังค์สีเหลี่ยม และช่องว่างก่อนถึงฉัตรร่มบนเพดาน องค์สถูปศิลาในคูหาวิหารด้านทิศใต้ พระพุทธองค์ทรงรอเราอยู่ในวิหารคูหาชั้นบน ซุ้มพระพุทธรูปบนหน้าบันประตูถ้ำชั้นบน ที่เป็นปูนสีแดงอมชมพูนั้นคือรอยบูรณะปั้นใหม่โดยแขกอินเดีย ไม่ค่อยถูกต้องตามแบบแผนพุทธโบราณ ภาพสลักในโถงหน้าถ้ำชั้นบน ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องอะไร ? โถงหน้าถ้ำชั้นบน ภาพด้านในสุด คล้าย ๆตอนมหาปาฏิหาริย์ พระพุทธองค์ประทับอยู่บนดอกบัวชูก้านขึ้นมา ? ในคูหาวิหารชั้นบนลึกเข้าไปอีกชั้น บนลานประทักษิณ (ชั้นรอง) อ.เอียน ถนนทางเข้าและลึงคบรรพต จากยอดเขาพระ Boud-konda เห็นแนวแม่น้ำเป็นแถบต้นไม้ใหญ่ไหลมาจากเขาใหญ่ลูกไกลออกไป สถูปหินตามไหล่รอบลูกเขาอย่างนี้มีเต็มไปหมด ยังไม่พบรายงานการนับจำนวน เห็นลิงคบรรพตและเขาใหญ่ ในรูปมีโรเบิร์ตกับอทิตยา คนนำทางยืนอยู่ข้างผม บนลานประทักษิณ ฐานสถูปหินองค์ใหญ่สุดเท่าที่เหลือ (ด้านทิศใต้) มีแนวก่ออิฐอีกชั้น ล้อมรอบด้วยแถวสถูปหินและอิฐอย่างนี้ ที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นต้นแบบของมหาสถูปบรมพุทโธที่เกาะชวา ลานประทักษิณทิศตะวันตกเต็มไปด้วยสถูปหินที่สกัดเขาทั้งลูก มีความแคบและชันมาก ศิลาหลักใหญ่นี้น่าจะเป็นจารึก แต่ลบเลือนจนไม่เห็นอักขระอะไร ฐานประทักษิณทิศเหนือ มีแท่นอิฐก่ออยู่เป็นระยะ ๆ มหาสถูปหินที่ (น่าจะ) ใหญ่ที่สุด ทุ่งกว้างอย่างนี้ ไม่ต่างจากที่ราบภาคกลางประเทศไทยอย่างที่เห็นจากยอดเขาพระที่อู่ทอง องค์สถูปหินหากยังสมบูรณ์อยู่จะยิ่งใหญ่อย่างยิ่ง ประมาณไม่ได้ว่าสกัดหินออกไปเท่าไหร่
จากมหาวิหารทางทิศตะวันออก มหาวิหารทิศตะวันออก เป็นวิหารฐานก่อด้วยอิฐ ภายในมีวิหารน้อยรูปเกือกม้าองค์หนึ่ง รอบฐานด้านล่างลงไป เป็นคูหาวิหารแถวสำหรับพระภิกษุอยู่พำนัก ๓ ด้าน พุทธอาราม มหาวิหาร ถ่ายจากลานประทักษิณชั้นชนของมหาสถูป ฐานมหาสถูปหินบนลานประทักษิณชั้นบน โรเบิร์ตที่บันไดมหาวิหาร แผนผังมหาสถูปและวิหารแห่งสังฆาราม แอนนากับ อ.เอียน เก็บใบสะเดาเอาไปป้องกันแมงกินหนังสือและผ้าตามแบบโบราณ จากลานประทักษิณชั้นบนด้านตะวันตก ฐานและลานประทักษิณมหาสถูปหินทั้ง ๒ ชั้น ตามดูถ้ำพระพิฆเนศวร์ด้านหลังเขาพระ ล้วนการแกะสลักในพุทธศาสนามาแต่ก่อน ศศิลปะคล้าย ๆ สมัยคุปตะ ส่วนรูปแกะพระพิฆเนศวร์ที่หน้าถ้ำ สันนิษฐานว่าเพิ่งแกะในยุคหลังเมื่อฮินดูเข้ามาแทนที่ในบริเวณนี้ พระพุทธรูปในถ้ำพระพิฆเนศวร์ เสาหินน่าจะบอกยุคสมัย บันไดทางขึ้นมีแยกเป็นสามทาง เส้นกลางเข้าถ้ำสถูป เส้นขวาขึ้นมหาสถูปวิหาร เส้นซ้ายอ้อมไปหลังเขา บางรูปพระตามเพิงผาที่แกะสลักทำสถูปหินด้านหลังเขาพระ พุทธอาราม ขอจบสังฆาราม เฉพาะ Bojjanakonda ในฐานะ เขาพระ หรือ Bouda Arama ของที่นี่เพียงเท่านี้ก่อน ส่วนลึงคบรรพต หรือ Lingalakonda ค่อยต่ออีกตอน เห็นได้ชัดว่าหากไม่ได้มาจะเสียดายมาก ยังไม่เข้าใจเหมือนกันทำไมคุณราณีจึงไม่จัดให้มาที่นี่ตั้งแต่แรก และก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรทำให้เธอเปลี่ยนกระทันหันจนได้มา บัญชา พงษ์พานิช ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ กรุงเทพมหานคร