เพื่อแผ่นดินเกิด
- Details
- Written by Super User
- Category: เพื่อแผ่นดินเกิด
- Published: 06 July 2020
- Hits: 761
(bunchar.com เพื่อแผ่นดินเกิด 20200629_2)
ตานี้ ต้องกลับมาอ่านเล่มปีนังอีกครั้ง แบบถอดระหัสทีละบันทัด
ไม่น้อยกว่าที่ถอดเล่มสิงคโปร์ เพราะซ่อมหนนี้แล้วยาวเลย
วิธีคิด เขียน นำเสนอ เขาไม่เหมือนกัน
เล่มปีนังนี้ เขาเขียนเป็นคล้าย ๆ คู่มือการบูรณะ
ดูเหมือนว่าจะทำเพื่อประกอบการเป็นมรดกโลกของทั้งเกาะปีนัง
คร่าว ๆ ว่า การสร้างบ้านตึกในปีนังนั้น มี ๖ แบบหลัก ๆ ...
(๑) #EarlyPenangStyle 1790s - 1850s
เริ่มจากแบบสี่เหลี่ยมง่าย ๆ ใช้ไม้มาก คูหาเดียวกับลานใน
ตามอิทธิพลของแขกอินเดีย ขนาดกระชับ
ผนังก่ออิฐถือปูน รองรับคานไม้ใหญ่ที่ทำหลังคาและพื้นชั้นบน
พื้นล่างปูแผ่นอิฐ มีแกรนิตเป็นขอบ
(๒) #SouthernChineseEclecticStyle 1840s - 1910s
หลังสงรามฝิ่นครั้งแรก เกิดการอพยพใหญ่ของคนจีนมาทำงานให้ชาวยุโรป
อาคารเริ่มออกจีน สร้างต่อกันเป็น ๒ ช่วง มีช่องลมกับลานโล่ง
ขนาดสูงขึ้น สร้างต่อเรียงกันเป็นแถว มีเสาเหลี่ยมกับหัวเสา
ที่ไม่ใช่ร้าน ด้านหน้าชั้นล่างจะทำประตูกลาง
มีหน้าต่างสองข้างพร้อมช่องลม
(๓) #EarlyStraitsEclecticStyle 1890s - 1920s
เมื่ออังกฤษจัดระบบการปกครองช่องแคบภายใต้บริษัทอินเดียตะวันออก
ทั้งที่ปีนัง มะละกา และ สิงคโปร์
ก็มีการสร้างสรรค์พัฒนารูปแบบและวัสดุ
อาจมีเพิ่มชั้นสาม ปรับซุ้มหน้าและหน้าต่างชั้นบนออกฝรั่ง
ใส่หัวเสาอย่างฝรั่ง เอากระเบื้องอย่างฝรั่งมาปู
(๔) #LateStraitsEclecticStyle 1910s - 1930s
มีการปรับมากมายในเชิงรูปแบบและผังอาคาร
รวมทั้งการตกแต่งประดับ รวมทั้งการใช้กระเบื้องปูและประดับผนัง
ซึ่งอย่าลืมว่าการสร้างทั้งปีนังและสิงคโปร์ จนถึงบ้านเราวันนี้
ก็เอานี่เอานั่นจากนั้นจากนี้เท่าที่เจ้าของจะชอบ มาประกอบกันเข้า
เขาบอกชัดว่าอย่าได้หมายว่าจะให้ชัด ๆ ว่าแบบไหน สมัยไหนแน่ ๆ
เมื่อเทียบ #ตึกยาวบวรนครกับทางสิงคโปร์
ผมเห็นว่า เป็น Chinese มี Classical Inspired มาผสม
จนกำลังจะเริ่ม Baroque แต่ยังไม่ Baroque เท่าไหร่
สอดคล้องกันกับเรื่องระยะเวลาที่เริ่มสร้าง
เมื่อประมาณ ๒๔๔๐ หรือ 1897
พอมาเทียบกับทางปีนัง ที่เชื่อกันว่าเข้ามาที่เมืองนครมากกว่าสิงคโปร์
ผมก็เห็นว่า เป็น Southern Chinese กับ Early Straits Eclectic เป็นหลัก
มีพบรอยหรูหราฟู่ฟ่า Baroque และ Rococo อะไรเลย
ซึ่งก็สอดคล้องต้องกันกับระยะเวลา 1897
ทราบว่าวันนี้ที่ #อาศรมศิลป์ มีนัดสำคัญเพื่องานนี้
จึงขอส่งรายงานนี้มาเพื่อดำเนินการนะครับผม
ฝาก
Thip Srisakulchairak
และทุก ๆ คนทางนั้นด้วยนะครับพวกเรารอครับ
ยุพา บวรรัตนารักษ์
Ting Pongpanich
Prin Pongspanich
Banpot Pongpanich
Banyong Pongpanich
Banchuab Pongpanich
Khamjiang Panitdee
Pairot Singbun
Surachet Keawsakun
อ้อ พื้นอาคาร น่าจะเลือกปูหินแกรนิต
สอดคล้องกับการคว้ามาค้นนี้ครับ
๒๙ มิย.๖๓ ๐๗๓๐ น.
บ้านบวรรัตน์ ท่าวัง เมืองนคร