logo_new.jpg
(bunchar.com รอยลูกปัด 20200901_2)
อ้ายหนานหน้อย เจ้าการเก็บและคนเขียนยันต์แห่งเมืองก๊ะคนนี้บอกว่า
ตอนที่พบหม้อเคลือบที่ใส่ลูกปัดชุดแรกนั้น
ข้างในหม้อมีผอบสำริดอยู่ใบหนึ่งพร้อมฝามีหัวจุก
บรรจุลูกปัดกับสิ่งของอีกชุดหนึ่งไว้ ได้ห่อผ้ายันต์แดงแยกไว้ต่างหาก
ซึ่งเมื่อเปิดออก พบที่แตกต่างอยู่ ๓ สิ่ง
คือมีลูกปัดแก้วสีเดียว เขียว เหลือง แดง ดำ น้ำเงิน ฯลฯ
กลุ่ม Indopacific กับที่เป็นหลอด
ซึ่งจากเนื้อ ผิวและสี น่าจะเป็นของสมัยหลังมาก น่าจะมาจากจีน ?
คล้าย ๆ กับที่เห็นชนเผ่าชาวเขาทางเหนือยังใช้กันอยู่
หรืออยู่ในร้านตามตลาด
แต่ที่น่าสนใจกว่าถึงขั้นวิเศษ คือ #หินก้อนดำรูปมนและมัน
" ... ใครนึกถึงอะไรกันบ้างครับ ? ... " ผมถาม
" ... ก้อนธาตุ ? ... " ท่านหนึ่งเอ่ยว่าทางนี้ นิยมอย่างนั้น
" ... #หินลองทอง ไหมนิ ? ... " อีกท่านอุทาน
" ... ใช่เลยครับ ... " ผมตอบ พร้อมกับชี้ให้ดูรอยขูดคราบทอง
" ... ไจ้ ๆ ทางโน้นเขาเล่าว่าร่อนเจอเกล็ดทองด้วย ... "
พ่อหลวงกับอ้ายหนานหน้อยหนับหนุน
" ... ในนี้ก็มีกำไลทองวงหนึ่ง แต่หายไปนานแล้ว ..."
สรุปว่า ชนกลุ่มที่ทิ้งลูกปัดชุดนี้ไว้ใต้ดินนั้น
มีการใช้ทองคำถึงขั้นรู้วิธีตรวจทองด้วยซิครับนี่
กลุ่มไหนผมไม่รู้ ฝากคนที่เชียงใหม่ไขกันต่อนะครับผม
ผมมีปัญญาประมาณนี้เท่านั้นครับผม
Walailak Songsiri
Sudara Suchaxaya
Arpapirat Vallibhotama
Pipad Krajaejun
Pairot Singbun
Suwaree Wongkongkaew
Anchalee Sripasang
Chatchawan Thongdeelert
Dumrong Leenanuruksa
Prakorn Wilai
Apinya Tun
Yoddanai Sukkasam
๑ สค.๖๓ ๐๗๓๗ น.
บ้านท่าวัง สะพานควาย กทม.
 
 
 
 
 
Joomla templates by a4joomla
rtp slot https://www.sidiap.org/rtp-live-slot//